วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

ตามตำนานเล่ากันว่า เมื่อครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดงไม้ตาลแล้วขึ้นประทับบนจอมดอยแห่งหนึ่ง มีพญาเมืองเถิน พ่อฤษีและหมอพราน อีก 8 คนหาบเนื้อสดเดินมาพบเข้าไม่มีอะไรจะถวายจึงเอาเนื้อมาถวาย พระพุทธองค์ก็ไม่ฉันพวกพรานจึงเอาเนื้อไปกองรวมกันไว้ พวกละว้าที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงไปต้มข้าวมาถวาย สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงรับมาฉันและให้ศีลให้พรพวกละว้า พระพุทธองค์จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้และทรงรับสั่งว่า “ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนก็เหมือนอยู่ใกล้ ถ้าไม่ปฏิบัติก็เหมือนอยู่ใกล” จากนั้นจึงทรงประทานนามที่นั่นว่า “ห้วยต้มข้าว” ต่อมาเรียกเพี้ยนมาเป็น“ห้วยต้ม” ซึ่งเป็นชื่อวัดพระพุทธบาทห้วยต้มในปัจจุบันนั่นเอง

     

           วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นวัดที่มีความสวยงาม มีพระธาตุเจดีย์ที่รายล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กอีก 16 องค์ มีศาลาหลังใหญ่ ยังเป็นที่ตั้งศพของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา บรรจุในโลงแก้วให้ศรัทธาประชาชนได้กราบไหว้อีกด้วย
ใกล้กับพระพุทธบาทห้วยต้มจะมี พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เจดีย์สีทองอร่าม ซึ่งมองเห็นโดดเด่นแต่ไกล จำลองมาจากพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากองประเทศพม่า จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

 

ครูบาเจ้าหลวงปู่ครูบาวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ประวัติครูบาเจ้าหลวงปู่ครูบาวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
                เมื่อท่านอยู่ที่วัดห้วยต้มได้ไม่นาน ค่าพูดของผู้เฒ่าคนนี้ก็เป็นความจริง เพราะชาวเขาจากที่ต่างๆที่ท่านได้อบรมสั่งสอนมา ได้อพยพย้ายถิ่นฐานติดตามมาอยู่กับท่านเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อมาขอพึ่งใบบุญและปฏิบัติธรรมะกับท่านในระยะแรกๆ นั้น ท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องน่ามีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่า จะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมดดาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วยดัมนี้มีความเป็นอยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยดัมที่จะต้องน่า มีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่า ทางราชการได้ส่งหน่วยงานต่างๆเข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือ และให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิดที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา

สมณศักดิ์
๔ เมษายน ๒๕๑๔ เป็นพระครูใบฎีกาชัยยะวงศาพัฒนา
๕ เมษายน ๒๕๓๐ เป็นพระครูพัฒนากิจจานุรักษ์
๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท
เกียรติคุณ
๑๕ มีนาคม ๒๕๑๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอลี้ โดยเจ้าคณะจังหวัดล่าพูน
๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับรางวัล ” ครูบาศรีวิชัย” ในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีผลงานการส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา กิจการสาธารณะ มีความวิริยะ เสียสละเพื่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดี มีปฏิปทาเดินตามรอยเยี่ยง ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย
๓ เมษายน ๒๕๓๙ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะ ” คนดีศรีทุ่งหัวช้าง ” จาก อ.ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในฐานะเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปินดีเด่น จังหวัดล่าพูน สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม จากคณะ
กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับรางวัล เสมาธรรมจักร ในฐานะ ” บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน “ประวัติการจำพรรษาลำดับการจำพรรษาเมื่อเป็นพระภิกษุ
พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๔๗๕ (อายุ ๒๐ ปี ) วัดห้วยแม่บางแปง เขตพม่า (อุปสมบทที่วัดป่าน้ำ เมื่อเดือน ๕ เหนือ โดยมีครูบาเจ้าพรหมจักร เป็นพระอุปัชฌาย์)
พรรษาที่ ๒-๔ พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๗๘ (อายุ ๒๑-๒๓ ปี) วัดจอมหมอก ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
พรรษาที่ ๕ พ.ศ.๒๔๗๙ (อายุ ๒๔ ปี) วัดห้วยเปียง อ.แม่ระมาด จ.ตาก
พรรษาที่ ๖ พ.ศ.๒๔๘๐ (อายุ ๒๕ ปี ) วัดไม้ตะเคียน อ.แม่ระมาด จ.ตาก
พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๒ (อายุ ๒๖-๒๗ ) วัดห้อยเปียง (นุ่งขาวห่มขาว )
พรรษาที่ ๙ พ.ศ.๒๔๘๓ (อายุ ๒๔ ปี) วัดห้วยหละ ด.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

       

             

ภาพมุมสูง

ภาพมุมสูง

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ : วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ที่ตั้ง : หมู่ 8 ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน 51110 นิกาย : มหานิกาย
ชนิด : วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประเภทวัด : วัดราษฎร์
วัน – เวลาเปิด : เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05:00 – 18:00 น. ช่องทางการติดต่อ เบอร์โทรติดต่อ : 093 049 9233

คลิกเพื่อนำทาง