วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก มีเนื้อที่ 28 ไร่ 3 งานวัดนี้มีกำพง 2 ชั้น คือรอบบริเวณวัดชั้นนอกชั้นหนึ่ง และก่อกำแพงทำเป็นศาลาบาตรรอบองค์พระธาตุหริภุญชัยชั้นในอีกชั้นหนึ่ง

เมื่อเข้ามาในบริเวณหน้าวัดด้านนอกเบื้องหน้าซุ้มประตู ท่านจะได้เห็นสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งอยู่บนแท่นประดิษฐานยืนเต็มเสมอกันทั้งสี่เท้า สิงห์ทั้งคู่นี้ประดับด้วยเครื่องทรงและลวดลาย ยืนเป็นสง่าอ้าปาก สิงห์คู่นี้เดิมเป็นกำแพงวังชั้นนอกของพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อถวายเป็นสังฆารามแล้ว ได้รื้อซุ้มชั้นนอกปั้นสิงห์คู่ประดิษฐานไว้แทน เพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นพระอารามหลวงก่อนที่ท่านจะผ่านซุ้มประตูเข้าไปในบริเวณของพระบรมธาตุ ขอให้พิจารณาให้ถี่ถ้วนสักหน่อย ท่านจะได้เห็นว่าซุ้มประตูนี้เป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย เพราะลวดลายทางศิลปะแสดงว่าเป็นแบบสมัยศรีวิชัยประกอบทั้งซุ้มยอดเป็นชั้น ๆ ก็แสดงให้แลเห็นซุ้มประตูนี้เป็นศิลปะสมัยโบราณชั้นหนึ่งของวัด ไม่ควรที่ท่านจะผ่านเลยไปเสีย

 

   

Wat Phrathat Hariphunchai is a first-class royal temple located in the center of Lamphun Province, covering an area of 28 Rai or 40,000 square meters, At the arched entrance to the temple, standing four feet on a pedestal with their mouths open is a pair of impressive giant Singha (lion), The temple was formerly king Athitayaraj’s palace, After the palace became a temple as des-ignated by the King, the wall was replaced by these sculptured lions created in the ancient Sriwichai architectural style.

พิพิธพัณฑ์ พระเมืองแก้ว เดิมคือ ลำพูนพิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑสถานส่วนภูมิภาคแห่งแรกของภาคเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ จากแนวพระราชดำริ และพระราชนิยมของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในกิจการพิพิธภัณฑ์ รวมถึงพระราชประสงค์ในการใช้พิพิธภัณฑสถานให้เป็นแหล่งการศึกษาสำ หรับประชาชนโดย พระยาราชนุกูลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิตย์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพเป็นผู้ริเริ่มขึ้นตามพระราโชมายการสร้างความเป็นรัฐชาตินิยม มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองรักษาสมบัติวัฒนธรรมของชาติในมณฑลพายัพไม่ให้สูญหายโดยเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ และพระอมรเมธี (อมร อมรปญโญ) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยในขณะนั้นเป็นผู้รวบรวมดูแลโดยใช้พื้นที่อาคารระเบียงคตด้านทิศใต้พระธาตุหริภุญชัยดำเนินการรวบรวมสิ่งของจากทั่วมณฑลพายัพรับบริจาคโบราณวัตถุและงินบำรุงพิพิธภัณฑสถานโดยยึดถือตามระเบียบการตรวจพิพิธภัณฑสถานของหัวเมืองต่างๆ ซึ่งขณะนั้นมีอยู่เพียง 6 แห่ง ทั่วประเทศเท่านั้น

จนกระทั่งกรมศิลปากร ได้รับมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสดุเดิม อันเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัดลำพูน บนถนนอินทยงยศ ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญชัยทางทิศตะวันตก จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ขึ้นแล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๕๑๗ จากนั้นได้ขนย้ายโบราณวัตถุจากอาคารหลังเก่าในวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจัดแสดงร่วมกับโบราณวัตถุที่รวบรวมเพิ่มเติมจากที่ประชาชนบริจาค และโบราณวัตถุที่ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครและกรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย บนถนนอินทยงยศเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญชัย เปิดให้ประชาชนเข้าชมห้ชานบัดนั้นเป็นต้นมา

            

คลิ๊กเพื่อนำทาง