วัดพระธาตุดอยน้อย
ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุดอยน้อย
พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุดอย น้อยนี้ มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว สีดอกพิกุลแห้ง ปัฏฐานกลมเกลี้ยง ซึ่งได้อัญเชิญมาจากวัดพระธาตุศรีจอมทอง เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ โดยท่านครูบาศรีวิชัย ได้ขอกับท่านครูบามหาวรรณไว้เพราะในขณะนั้นวัดพระธาตุศรีจอมทอง มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่สององค์ด้วยกัน คือ เป็นของเดิมองค์หนึ่ง และเป็นของพุทธศาสนิกชนชาวพม่า นำมาประดิษฐานไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ อีกองค์หนึ่ง ต่อมาครูบาศรีวิชัย จึงให้พระปวน พรหมเสโน สามเณรแสน เรือนป้อม และสามเณรจู ไปรับพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ท่านครูบามหาวรรณ จึงถือโอกาสให้พระยาพิชัย (ขณะนั้นเป็นกำนัน) มอบพระบรมสารีริกธาตุให้กับพระเณรที่วัดดอยหล่อ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางคณะสงฆ์ ให้แยกวัดดอยหล่อ และวัดพระธาตุดอยน้อยเป็นคนละวัด อนึ่งเมื่อพระอธิการมูลได้ย้ายมาอยู่ที่วัดพระธาตุดอยน้อยนี้แล้ว ก็ได้พร้อมใจกันทั้งบรรพชิดและคฤหัสถ์ไปอาราธนาเอาพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดดอยหล่อขึ้นมาประดิษฐานที่วัดพระธาตุดอยน้อย โดยมีความเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง
สถานที่ตั้งและอาณาเขต
วัดพระธาตุดอยน้อย ตั้งอยู่บนเขาลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันออก ของถนนหมายเลข ๑๐๘ สายเชียงใหม่-ฮอด ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๔๔ ก.ม. เยื้องสำนักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจอมทอง จะมีทางแยกเข้าไปถึงยอดดอยห่างจากถนนใหญ่ ประมาณ ๑๕๐๐ เมตร บนยอดดอยนั้นก็เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า พระนางจามเทวีได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อครั้งที่เสด็จมาครองเมืองลำพูนตามคำเชิญของสุเทวฤษีประมาณ ปี พ.ศ. ๑๒๐๑ เมื่อนับมาถึงกระทั่งปัจจุบันนี้(พ.ศ. ๒๕๖๒) วัดพระธาตุดอยน้อยนี้ ก็สร้างมาแล้ว ๑๓๖๑ ปี วัดพระธาตุดอยน้อย มีพื้นที่ทั้งสิ้น ประมาณ ๑๓๔ ไร่ ๓ งาน ๗ ตารางวา ทิศตะวันตกและตะวันออก ยาวประมาณ ๑๓ เส้น ทิศเหนือและทิศใต้ ยาวประมาณ ๗ เส้นทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับที่นาทิศตะวันออก ติดกับลำน้ำแม่ปิง
ประวัติวัดพระธาตุดอยน้อย(โดยย่อ)
วัดพระธาตุดอยน้อย สร้างโดยพระนางจามเทวีเมื่อคราวเสด็จจากเมืองละโว้(ลพบุรี) เพื่อมาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) โดยเสด็จทางเรือตามลำแม่น้ำปิง พร้อมกับข้าราษฎร์บริพาร เมื่อวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเส็งพ.ศ ๑๒๐๑ ทรงสร้างพระเจดีย์บรรจพระสารีริกธาตุ และของมีค่าต่างๆที่นำมาจากเมืองละโวั พร้อมกันนี้ทรงสร้างโบสถ์, โขงพระ ( กรุพระ) การก่อสร้างแล้วเสร็จ วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ มะเส็ง พ.ศ ๑๒๐๑ ( ๑ เดือน ๖ วัน) และทำพิธีอบรมสมโภช ๓ วัน ๓ คืน จากนั้นพระนางจามเทวีก็เสร็จไปนครหริภุญชัย
ต่อมา พ.ศ. ๒๐๙๗ พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครเมืองเชียงใหม่ ค้นพบตำนานเจดีย์ของพระนางจามเทวีซึ่งขณะนั้นพระเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงมอบให้ขุนดาบเรือนพร้อมกับข้าราษฎร์บริพารมาบูรณะปฏิสังขรณ์ หลังจาก พ.ศ. ๒๓๐๐ วัดใด้สร้างไประยะหนึ่งด้วยเหตุภัยสงครามพม่า ราษฎรอพยพย้ายถิ่นฐาน จึงทำให้ขาดการดูแลรักษา ปีพ.ศ ๒๔๗๕ ครูขาอินทจักร, ครูขาพรหมา,ครูขาคัมภีระ ได้ร่วมกันบูรณะและยกฐานะขึ้นเป็นวัดจนถึงปัจจุบันนี้
วัดพระธาตุดอยน้อย มีปูชนียวัตถอันสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ โขงพระ วิหารสามมุข อุโบสก
ประวัติ บันไดนาค
บันไดนาควัดพระธาตุดอยน้อยนั้นได้วางศิลาฤกษ์สร้างในปี พ.ศ.๒๕๑๘ โดยพระอธิการบุญเลาปญญาทีโป แต่มีอุปสรรคในการก่อสร้างจึงได้หยุดการก่อสร้างไปจนถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ และได้ทำการสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๔