เครดิตภาพ และข้อมูลจาก : แอ่วดีReview

ท่องเที่ยววิถีล้านนา “ตามรอยครูบาศรีวิชัย” เมืองลำพูน

ตามรอยนักบุญแห่งล้านนา ปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญต่อจังหวัดลำพูน ความศรัทธาไม่เคยจางหาย กับเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ร่วมค้นหารากเหง้าทางวัฒนธรรมที่งดงาม แหล่งอารยธรรม ยุคแรกของอาณาจักรล้านนา เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนืออายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี

ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระที่สร้างคุณูปการมากมายไว้ในใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนาและแผ่นดินล้านนา ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่เกจิรุ่นหลังเดินตามรอยพระศาสนา จนเป็นแบบอย่างของพระนักพัฒนาในเวลาต่อมา ท่านเกิดเมื่อวันอังคารขึ้น ๑๑ ค่ำปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๐ เวลาพลบค่ำ เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้ไปอยู่วัดบ้านปาง เพื่อศึกษาเล่าเรียนและได้บวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัติยะ หรือ ครูบาแข้งแขะ

จนเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสม สมฺโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “สิริวิชโย ภิกขุ” แต่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า “พระศรีวิชัย”

ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาโดยแท้ ได้พัฒนาก่อสร้างปฏิสังขรณ์ศาสนสถานมากมาย เมื่อครั้งที่ท่านจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดลำพูนและดินแดนล้านนา อีกทั้งเป็นที่เคารพรักของพุทธศาสนิกชนทั่วสารทิศ

จังหวัดลำพูน โดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน บูรณาการร่วมกับองค์กรภาครัฐ และเอกชน ได้พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวตามรอยวิถีครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดลำพูน เปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ตามรอยวิถีครูบาเจ้าศรีวิชัย”

ตลอดเส้นทางท่องเที่ยว ได้เรียนรู้แหล่งอารยธรรม สัมผัสวิถีชีวิตความป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ตลอดจนธรรมชาติที่สวยงาม และการต้อนรับด้วยมิตรไมตรีจากผู้คนในชุมชนตลอดเส้นทางการท่องเที่ยว สร้างความประทับใจให้อย่างมิรู้ลืม

 

    วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นสถานที่ที่ครูบาศรีวิชัยได้อุปสมบท ทั้งตอนเป็นสามเณรและพระภิกษุ และยังเป็นสถานที่ที่ครูบาใช้แวะพักทุกครั้งเมื่อได้เดินทาง จากลี้เข้าตัวเมืองลำพูน และที่พิเศษกว่านั้นที่อื่นนั้นก็ คือ ที่นี่มีอัฐิครูบาศรีวิชัย ที่ไม่ได้เก็บรักษาไว้ในเจดีย์เหมือนที่อื่นๆ โดยในทุกๆปีจะมีการนำอัฐิครูบาออกมาทำพิธีสรงน้ำอัฐิ

สำหรับวัดบ้านโฮ่งหลวง จะเแบ่งสถานที่ออกเป็น ๒ แห่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากมากราบไหว้ อุโบสถเก่าแก่จะตั้งอยู่ด้านนอกติดถนน คนละฝั่งกับวัด วัดจะเข้าไปในซอยเล็กน้อย สำหรับอุโบสถผู้หญิงไม่อนุญาตให้เข้าด้านใน แต่สามารถเดินชมบริเวณรอบนอกได้

พิกัด : วัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน


                   

วัดบ้านปาง เป็นสถานที่ซาตกาล ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยใช้ชีวิตวัยเยาว์ สถานที่ที่ครูบาได้สร้างเสนาสนะมากว่า ๒๐ หลัง และยังเป็นสถานที่ที่ครูบามรณะ มีอัฐิครูบา นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ ที่มีข้าวของเครื่องใช้ของครูบาศรีวิชัยอีกด้วย

พิกัด : วัดบ้านปาง ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน


          วัดดอยก้อม เป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัย ได้สร้างและบุกเบิกใหม่ทั้งหลัง เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ ครูบาขะแค่บูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซ่ม แต่วัดดอยก้อมจะเริ่มตั้งแต่การวางรากฐาน ก่อสร้างเสนาสนะทุกหลังในวัดนี้ มีจารึกครูบาศรีวิชัย มีรูปปั้นครูบารุ่นเก่าอยู่

พิกัด : วัดดอยก้อม อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน


วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นวัดที่มีวิหารจัตุรมุขครอบรอยพระบาท ตกแต่งด้วยกระจกสีสันสันสวยงามเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ของครูบาศรีวิชัยได้เป็นอย่างดี

สำหรับวัดพระพุทธบาทตากผ้า ถือเป็นวัดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาในการเดินชมพอสมคววร จะแบ่งสถานที่ออกเป็น ๒ โซน คือ โซนด้านล่างวัดที่มีรอยพระพุทธบาท กับด้านบนดอย ที่มีจุดชมวิวให้ชมอย่างสวยงาม

พิกัด : วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน


  วัดต้นโชค เป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัย แวะพักเสมอเพื่อเสวนากับสหธรรมิกรูปสำคัญ มีกุฏิครูบา และยังมีคัมภีร์ใบลานประวัตอครูบา มีผลงานที่สร้างโดยครูบา ด้านหน้าของวัดมีต้นโชคขนากใหญ่อายุกว่าร้อยปี อันเป็นสัญลักษณ์ของวัดตั้งอยู่ด้วย

พิกัด : วัดต้นโชค ตำบลเหมือนจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน


             

    สะพานศรีวิชัยอนุสรณ์  ถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างชิ้นสุดท้ายที่ครูบาศรีวิชัย ได้สร้างค้างไว้ยังไม่เสร็จ เพื่อใช้เชื่อมต่อสัญจจรเส้นทางระหว่างลำพูนไปยังเมืองเชียงใหม่

สำหรับสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์แห่งนี้ นอกจากจะเป็นสะพานไว้เชื่อมต่อเส้นทางสัญจรแล้ว ยังอนุสาวรีย์ของครูบาศรีวิชัยให้แวะกราบไหว้ มีเส้นทางสำหรับเดินเล่นชมวิวทิวทัศน์ยามเช้าหรือยามเย็น ขนานไปกับลำน้ำ และใต้สะะพานยังมีตอม่อโบราณเชื่อกันว่าสร้างขึ้นเมื่อครั้งครูบาได้เริ่มสะพานแห่งนี้

พิกัด : สะพานศรีวิชัยอนุสรณ์  อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน


   วัดเจมเทวี เป็นสถานที่ที่ครูบาอาพาธ และเป็นสถานที่ที่ครูบาได้สร้างวิหาร อุโบสถเป็นวัดสุดท้าย ภายในวัดมีจำรึกของครูบาศรีวิชัยอีกด้วย

วัดจามเทวี หรือ วัดกู่กุด ถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองลำพูน เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญและยังมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตามที่ได้พบหลักฐานจากศิลาจารึก

เชื่อว่าพระราชโอรสทั้ง ๒ ของพระนางจามเทวี ซึ่งก็ คือ พระเจ้ามหันตยศ และ พระเจ้าอันตยศ ทรงโปรดสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเพื่อถวาานพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้าางเจดีย์ขึ้น เจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า “สุวรรณจังโกฎิ” เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปปางประทาน พระอยู่เป็นชั้นๆ ด้านละ ๑๕ องค์ รวมทั้งหมด ๖๐ องค์

นอกจากนี้ภายในวัดด้านหลังยังมีพืพืธภัณฑ์ขนาดย่อมบอกเล่าเรื่องราวของครูบาศรีวิชัย ไว้ได้อย่างละเอียดอีกด้วย

พิกัด : วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน


วัดดอยติ เป็นสถานที่ที่ครูบาศรีวิชัย ได้สร้างบันไดนาค วิหาร อุโบสถ มีอัฐิครูบา ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ครูบาศรีวิชัยและด้านนอกปากทางขึ้นวัดมีอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ใครขับผ่านเข้ามายังเมืองลำพูน จะสังเกตเห็นได้โดยง่ายเพราะเปรียบเสมือนประตู่ทางเข้าจังหวัดลำพูน

พิกัด : วัดดอยติ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน