วัดบ้านตาหมื่น
ตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Ban Ta Muen Temple
Pho Wong Subdistrict, Khun Han District, Sisaket Province


ความเป็นมา
วัดบ้านตาหมื่น ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๕ บ้านตาหมื่น ตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เริ่มสร้างวัดเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๒๒ โดยนายสาลี ส้มหวาน ผู้ใหญ่บ้านตาหมื่นในขณะนั้น มีจิตศรัทธาต้องการถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดไว้ในบวรพระพุทธศาสนา พร้อมด้วยชาวบ้านได้กราบอาราธนานิมนต์พระเดชพระคุณ พระครูกมลพัฒนาทร เจ้าอาวาสกระมัลในขณะนั้น มาเป็นผู้รับมอบที่ดินสร้างวัดจากชาวบ้าน วัดบ้านตาหมื่นได้เริ่มสร้างเสนาสนะ กุฎิที่พักสงฆ์ ศาลาการเปรียญ โดยการนำของพระครูกมลพัฒนาทร ชาวบ้านตาหมื่น ตลอดถึงผู้มีจิตศรัทธา ทำให้วัดบ้านตาหมื่นมีเสนาสนะและถาวรวัตถุพอสมควร ในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดอย่างถูกต้องตามประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชื่อว่า “วัดบ้านตาหมื่น”
การทําบุญสร้างกุศล
ชาวบ้านตาหมื่น เป็นคนชอบสร้างบุญสร้างกุศล ไม่แพ้หมู่บ้านอื่น ดังจะเห็นได้จากการเสียสละกำลังทรัพย์ กําลังกายและกําลังความคิด ช่วยสร้างวัดกระมัล ซึ่งเป็นวัดที่ชาวบ้านตาหมื่นนับถือเสมือนเป็นวัดเดียวกันหรือเป็นวัดตาหมื่นจริงๆคือปี พ.ศ.๒๕๐๕ บ้านตาหมื่นได้ออกทรัพย์ช่วยสร้างกุฏิเป็นเงิน ๒,๗๘๙.๗๕ บาท
ปีพ.ศ.๒๕๐๙ บ้านตาหมื่นได้ออกทรัพย์ สร้างศาลาการเปรียญเป็นเงิน ๒,๖๕๒.๕๐ บาท
ปีพ.ศ.๒๕๑๕ บ้านตาหมื่นได้ออกทรัพย์ สร้างอุโบสถ

การสร้างวัด
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ ชาวบ้านตาหมื่นได้มีมติภายในหมู่บ้าน ว่าจะสร้างวัด และจะนิมนต์พระภิกษุ-สามเณร จากวัดกระมัล มาจำพรรษาเพื่อสะดวกในการทําบุญ บำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางศาสนา จึงไปกราบเรียนกับท่านพระครูกมลพัฒนาทร เจ้าอาวาสวัดกระมัลท่านพระครูฯ ท่านไม่ขัดศรัทธา ท่านให้กําลังใจทุกอย่าง จึงได้นิมนต์ท่านพระครูกมลพัฒนาทร มาเป็นประธาน ในการดำเนินงานกับทั้งให้ท่านหาฤกษ์ยามให้ ท่านเริ่มเข้ามาสอบถามชาวบ้านตาหมื่นว่าการสร้างวัดมีใครสนับสนุนและมีใครคัดค้านบ้านเมื่อท่านสอบแล้วชาวบ้านตาหมื่นทุกคนมีความยินดีที่จะสร้างวัด ท่านจึงกำหนดวันเริ่มปราบสถานที่คนจากหนดวันเริ่มปราบสถานที่ที่จะก่อสร้าง


วันปราบสถานที่
เริ่มทําการปราบวันพุธที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๒ ถึงวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๒ จึงเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะทำการปลูกสร้างได้
วันปลูกสร้าง
วันปลูกสร้างเริ่มแต่ วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ตรงกับวันขึ้น ๗ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม แล้วเสร็จวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒
การปลูกสร้างครั้งแรกได้เอาศาลาประชาคม ประจําหมู่บ้านโดยความยินยอมของชาวบ้านศาลาหลังนี้ เดิมขนาดกว้าง ๙เมตร ยาว ๙เมตร พื้นปูกะดาน ฝากะดาน หลังคามุงสังกะสี เมื่อนำมาสร้างเป็นที่อาศัยของพระภิกษุ สามเณรได้ขยายออกอีกเป็นกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร พื้นปูกะดาน ฝากะดาน หลังคามุงสังกะสี กั้นห้องเรียนร้อย สิ้นค่าก่อสร้าง เป็นเงิน ๑๕,๗๔๕ บาท ได้ปลูกสร้างส้วมจํานวนหนึ่งห้องสิ้นเงิน ๑,๒๓๘.๕๐ บาท ในเงินจำนวนที่ก่อสร้าง แยกออกเป็นสองทางคือทางบ้านตาหมื่นได้เสียสละเพื่อการก่อสร้างเป็นเงิน ๑๒,๑๘๔.๒๕ บาท ได้จากหนุ่มสาว เฒ่าแก่บ้านปรือนํามาสมทบเป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท ได้จากหนุ่มสาว เฒ่าแก่บ้านกระมัลนํามาสมทบ เป็นเงิน ๒,๖๐๐ บาท

ที่ทําการปลูกสร้าง ได้จากผู้มีจิตศรัทธาอุทิศที่ดินเป็นสมบัติของวัดและชาวบ้านได้สละเงินร่วมกันซื้อที่ดินจากนายสุพี พรหมโลกา ครูใหญ่บ้านตาหมื่นเป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท รายชื่อผู้มีจิตศรัทธาอุทิศที่ดินเพื่อถวายเป็นสมบัติของวัดตาหมื่นดังนี้
1.นายเอือก สุดใจ ถวายที่ดินขนาดกว้าง ๑๘วา ยาว ๒๒วา คิดเป็นเนื้อที่ ๓๙๖ ตารางวา คิดเป็นเงิน ๓,๙๖๐ บาท
2.นายสาลี ส้มหวาน ถวายที่ดินขนาดกว้าง ๖วา ยาว ๔๕วา คิดเป็นเนื้อที่ ๒๗๐ ตารางวา คิดเป็นเงินเป็นเงิน ๒,๗๐๐ บาท
3. นามมิน จอมคำ ถวายที่ดินขนาดกว้าง ๒วา ยาว ๙วา คิดเป็นเนื้อที่ ๑๘ ตารางวา คิดเป็นเงิน ๑๘๐ บาท
4.นายบน สุดใจ ถวายที่ดินขนาดกว้าง ๒วา ยาว ๑๔วา คิดเป็นเนื้อที่ ๒๘ ตารางวา คิดเป็นเงิน ๒๘๐ บาท
5.นางสมุน ครีด้วง ถวายที่ดินขนาดกว้าง ๖วา ยาว ๗วา คิดเป็นเนื้อที่ ๔๒ ตารางวาคิดเป็นเงิน ๔๒๐ บาท
6.นายวรรณ ไพรป่า ถวายที่ดินขนาดกว้าง ๒วา ๑๒วา คิดเป็นเนื้อที่ ๒๔ ตารางวา คิดเป็นเงิน ๒๔๐ บาท

หลังจากพรรษาและสอบนักธรรม ได้ชักชวนชาวบ้านตาหมื่นพร้อมพระภิกษุสามเณร จัดหาหลักไม้แก่นปักรั้ววัดเป็นเขตแดนวัดกับบ้านซึ่งได้มอบหมายให้ พระสมัน โฆสโต ผู้รักษาการแทนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงดำเนินการ จึงได้หลักไม้แก่นจำนวน 678 ท่อนปักเขตเป็นรั้วรอบขอบชิด ทั้ง4ด้านและได้รับความอุปถัมภ์จาก ยุทธ ใจจง บ้านโพธิ์ นำรถมาขนหลักให้2เที่ยว และรถนายทิพ เหรียญทอง บ้านกระมัล มาบริการช่วยขนหลักอีก ทั้ง2คน ที่นำรถมาบริการขนหลักให้วัดนี้ โดยมิได้คิดมูลค่าหรือค่ารถแต่อย่างใด จึงเป็นที่มายกย่องสรรเสริญ และเป็นอย่างผู้ที่มีรถทั้งหลาย ทางวัดและทางบ้าน จึงขอขอบคุณท่านทั้ง2 ไว้ ณ ประวัติการก่อสร้างวัดบ้านตาหมื่น เป็นพระคุณอย่างยิ่ง การปักรั้ววัดใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเศษ เริ่มวันที่ 7 มกราคม ถึงวันที่12 มีนาคม พ.ศ.2523 เมื่อทำการปักรั้ววัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปได้เรียกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีนาย เสาร์ บังคม เป็นผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านตาหมื่นทุกคน มาปรึกษาหารือ เพื่อจะจัดสร้างกุฏิถาวร เป็นที่พักของภิกษุสามเณร ในที่ประชุมเห็นพ้องกัน พร้อมที่จะจัดสร้างกุฏิขึ้น จึงได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษาหารือและช่วยคำนวนเครื่องอุปกรณ์ จากอาจารฤทธิ์ สีเขียว อดีตครูใหญ่โรงดรียนบ้านโพธิ์กระมัล ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เลขาฯวัดกระมัลและเป็นที่ปรึกษาหารือของข้าพเจ้าด้วย ซึ่งอาจารย์ฤทธิ์ สีเขียว ก็รับภาระออกกำลังคิด กำลังปัญญา คำนวนอุปกรณ์ต่างๆให้ครบชุด

กุฏิขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร มีหัวมุมยื่นไปทางด้านทิศตะวันออก การปลูกสร้างครั้งแรกได้ชงักไว้ เพราะขาดอุปกรณ์และเงิน ประจวบกับวันใกล้วันเข้าพรรษา ในการปลูกสร้างครั้งแรก ได้รับความอุปถัมภ์จากนายบุตร ไชยชาติกับพวกนำเครื่องปั่นไฟและกบไฟฟ้า ช่วยไสไม้ร่วมกับเครื่องมาจากวัดกระมัล อีกประการหนึ่งที่ต้องทำให้ชงักนั้น เพราะข้าพเจ้าได้รับนิมนต์จากชาวบ้านปรือให้ไปช่วยที่ศาลาประชาคม ก็รับภาระช่วยออกแบบพร้อมทั้งเสียสละกำลังกายกำลังทรัพย์ จนศาลาประชาคมสำเร็จเรียบร้อย และทำพิธีขึ้นฉลองพร้อม จึงให้ชื่อศาลาประชาคมนี้ว่า ศาลาสุขสันติ์ สิ้นเงินในการก่อสร้างศาลาประชาคมทั้งสิ้น ๗๒,๔๘๕.๗๕ บาท ขนาดศาลากว้าง ๗เมตร ยาว ๑๕เมตร

ต่อเติมกุฏิที่สองหลังจากสอบนักธรรมประจำปีการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้จัดการหาอุปกรณ์ไม้ต่างๆ เช่น ไม้กระดาน ฝา เส้น และกระเบื้องแผ่นเรียบ มาทำการสร้างต่อไป ด้วยได้นิมนต์พระสวิง ธมฺมทีโมและสามเณรประวิทย์ พันธุ์ศรี วัดกระมัล มาเป็นแรงช่วยไสไม้ต่างๆร่วมกับพระเณรในวัดบ้านตาหมื่นที่มีอยู่จำนวน ๕ รูป จนกุฏิหลังนี้สำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ตามแบบแปลน ที่เขียนไว้ทุกส่วนเฉพาะชั้นบนสิ้นเงินการก่อสร้างชั้นบนทั้งหมด ๑๒๐,๙๕๔ บาท วันที่ ๙-๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ได้ประชุมชาวบ้านตาหมื่น จัดทำพิธีขึ้นและฉลอง ได้อาราธนานิมินต์เถระมาร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อเป็นศิริมงคล โดยมีพระครูวิจิตรธัมมวาที เจ้าคณะอำเภอขุนหาญ เป็นประธานในการทำพิธีขึ้น ในการขึ้นกุฏิครั้งนี้ ญาติโยมบ้านตาหมื่น ได้ซื้อภาพพุทธประวัติและภาพพระสุวรรณพร้อมภาพพระบรมฉายาลักษ์มาประดับวัดด้วย เพื่อเป็นสมบัติของวัดต่อไป

ประวัติหาที่ขุดสระหลังจากทำพิธีขึ้นกุฏิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าได้เรียกบุคคลต่อไปนี้มาปรึกษาหารือเพื่อหาที่ขุดสระคือ
- นายสาย ใจอยู่ กรรมการวัด
- นายชอน สมแพง นายกวัด
- นายบูรณ์ สุดใจ กรรมการวัด
- นายถม ลอยเตี้ย กรรมการวัด
- นายชวน ไพรป่า ผู้ดูแลวัด
- นายเพชร ด้วงตา ผู้ดูแลวัด
- นายจร ทางวงษ์ นายกวัด
- นายสุรัตน์ สอาด กรรมการหมู่บ้าน
- นายชม ลอยเตี้ย กรรมการหมู่บ้าน
ทั้ง๑๐ท่านได้ปรึกษาหารือกันอยู่หลายวัน จึงมีมติพ้องกัน ได้เชิญท่านอดีตผู้ใหญ่บ้าน คือนายสาลี สมหวาน ซึ่งที่นาติดกับวัดมาปรึกษาขอซื้อที่นาขุดสระ ครั้งแรกเจ้าของที่เสนอราคาให้ ๗,๐๐๐บาท คณะกรรมการทั้ง ๑๐ท่าน ขอให้เจ้าของที่ผ่อนผัน ให้ทางวัดบ้าง ในที่สุดนายสาลี สมหวานเจ้าของที่ลดเหลือเพียง ๕,๕๐๐ บาท คณะกรรมการมีมติยินดียอมซื้อที่ขุดสระตามโครงการ ก.ส.ช. กว้าง ๒๐เมตร ยาว ๕๐เมตร รวมทั้งด้านนอกด้วย สระแห่งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านและเยาวชนรวมกันทั้งบ้านตาหมื่นน้อย ๔๕คิว (เฉพาะครอบครัวเขมร) ส่วนครอบครัวลาวบางครอบครัว เป็นวันว่าในปี พ.ศ.๒๕๒๔ นี้ ทางวัดและชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านมีการเคลื่อนไหวได้ประโยชน์สองอย่าง คือ กุฏิ ๑ หลัง สระ ๑ แห่ง รวมมูลค่าทั้งหมดที่เสียไปในนี้ เป็นเงิน ๑๒๖,๔๕๔ บาท

พระภิกษุสามเณรทั้งวัด ซึ่งมีพระชาญ กิตติ เป็นหัวหน้าสงฆ์พร้อมด้วยประชาชนบ้านตาหมื่นได้ร่วมกันจัดสร้างหอระฆัง ๑หลัง ๒ชั้น ในการสร้างหอระฆังหลังนี้ ใช้แรงพระ-เณร ทาเสาร์-เลื่อยไม้จนสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี สิ้นเงินการก่อสร้าง ๑๗,๗๙๘.๗๕บาท ได้จัดทำพิธีฉลองตามจารีตประเพณี
เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ตรงกับวันแรม ๘ค่ำ เดือน๔
วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๘ ได้เริ่มทำการก่อสร้างห้องส้วม ห้องน้ำจำนวน ๕ ห้อง
ทางด้านทิศตะวันตกติดกับกุฏิหลังใหญ่ ในการก่อสร้างนี้โดยมี พระยวน ธมฺมทิญโญ เป็นหัวหน้าสงฆ์ประจำสำนักสงฆ์พร้อมด้วยชาวบ้านรวมกันจัดหาตัวไม้และอื่นๆเท่าที่จำเป็นในการก่อสร้าง ในเวลาในการสร้าง ๑๒วัน คิดเป็นเงิน ๑๒,๙๐๐บาท
เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม๑๐ค่ำ เดือน๕ เวลา ๑๗.๔๐น. ปีฉลูโดนลมพายุอย่างหนักพัดเอาศาลาการเปรียญไปทั้งหลัง ยังเหลือแต่เฉลียงด้านตะวันตก-ตะวันออกได้ทำการซ่อมแซมบูรณะให้คงสภาพเดิมพอใช้ได้ เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ประชาชนบำเพ็ญกุศลและประกอบศาสนะพิธีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในการซ่อมแซมครั้งนี้ ได้เสริมไม้จันทัพอีก๖ตัวและสังกะสีทั้งหลัง คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๖,๑๔๐บาท เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘
เมรุ ศาลาธรรมสังเวช ห้องสุขา