วัดอ้อมแก้วสามัคคีธรรม

ตำบลศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์

ประวัติวัดอ้อมแก้วสามัคคีธรรม

๓๐๐  หมู่ที่ ๓  ตำบลศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์

วัดอ้อมแก้วสามัคคีธรรมตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๐  หมู่ที่ ๓  ตำบลศรีสุข  อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ชาวบ้านอ้อมแก้วโดยการนำของ นายผุย  ขวัญทอง  นายน้อย  สวัสดี  นายมา  บุญเชิด  นายจ่อย  บุญเชิด  นายเลื่อน  สาลี  ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านอ้อมแก้วเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้จับจองที่ดินจำนวน ๘  ไร่  ๓  งาน ๙๙ วา  ไว้สำหรับดำเนินการสร้างวัดซึ่งมีเขต

ทิศเหนือ        จรดที่ดินนายทองล้ำ  สาลี

ทิศใต้             จรดที่ดินนายสงวน  ศรีดี

ทิศตะวันออก  จรดที่ดินนายเลื่อน  สาลี

ทิศตะวันตก    จรดถนนสาธารณะ

เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในตำแหน่งที่ดินเลขที่ ๑  ระวาง ส.ป.ก. ที่หรือกลุ่มที่ ๓๐๕๔  โดยได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างวัดอ้อมแก้วสามัคคีธรรม เมื่อวันที่ ๒๕  เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๔๗  ต่อมานายบัน  บุญเชิด กำนันตำบลศรีสุข (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดและขอตั้งวัด   จนได้รับอนุญาตให้สร้างวัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ในวันที่ ๓๐  เดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีประกาศตั้งวัด ณ วันที่  ๕  เดือนมิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมีนามว่า “วัดอ้อมแก้วสามัคคีธรรม” โดยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดนั้นพระภิกษุสงฆ์ – สามเณร อุบาสก – อุบาสิกา ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำนุบำรุงกิจการของวัดมาโดยตลอด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑. ด้านการปกครอง

ประวัติทำเนียบเจ้าอาวาส

  • หลวงพ่อทา (ไม่ทราบฉายา) ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๑๑ – ๒๕๑๔

(นิมนต์มาจาก ต.หนองบัว  อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์)

  • หลวงพ่อดี (ไม่ทราบฉายา)          ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๗

(นิมนต์มาจากบ้านสำโรง ต.ขวาวใหญ่  อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์)

  • หลวงพ่อเหมาะ (ไม่ทราบฉายา) ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๒๐

(นิมนต์มาจากบ้านดอนหมาใน  ต.ขวาวใหญ่  อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์)

  • หลวงพ่อแก้ว (ไม่ทราบฉายา) ตำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๔

(นิมนต์มาจากบ้านหนองเรือ  ต.ศรีสุข  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์)

  • หลวงพ่อโร (ไม่ทราบฉายา) ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๗

(นิมนต์มาจาก ต.ตรมไพร  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์)

  • พระทับทิม ปคุโณ  ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๑

(นิมนต์มาจากบ้านยางเตี้ย ต.ระแงง  อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์)

  • พระวิโรจน์ (ไม่ทราบฉายา)  ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๔

(นิมนต์มาจากบ้านไพรษร  ต.ขวาวใหญ่  อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์)

  • พระสุวรรณ (ไม่ทราบฉายา) ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙

(นิมนต์มาจาก ต.สนม  อ.สนม  จ.สุรินทร์)

  • พระสำราญ (ไม่ทราบฉายา) ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

(นิมนต์มาจากภาคใต้ ไม่ทราบจังหวัด)

  • พระแก้ด จารุธมฺโม ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

(นิมนต์มาจากวัดใหม่แสนอุดม  ต.ศรีสุข  อ.ศรีณรงค์  จ.สุรินทร์)

  • พระนพรัตน์ ธีรปญฺโญ ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๕๔
  • พระอธิการนัฐพล เตชพโล ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. ๒๕๕๕ – ปัจจุบัน

(นิมนต์มาจากวัดใหม่แสนอุดม  ต.ศรีสุข  อ.ศรีณรงค์  จ.สุรินทร์)

๒. ด้านการสาธารณูปการ

พ.ศ. ๒๕๑๑ก่อสร้างกุฏิไม้ขนาด๓ห้องนอน (ชำรุดเสียหายไปแล้ว)

พ.ศ. ๒๕๑๙ก่อสร้างศาลาไม้๒ชั้นขนาด๒๘ห้อง (ชำรุดเสียหายไปแล้ว)

พ.ศ. ๒๕๒๕ก่อสร้างกุฏิไม้๒ชั้นขนาด๕  (เกิดเพลิงไหม้เสียหายทั้งหลังปี พ.ศ.๒๕๔๕)

พ.ศ. ๒๕๒๖ก่อสร้างกุฏิ๒ชั้นชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนชั้นบนเป็นไม้  ซึ่งได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕

พ.ศ. ๒๕๒๗ก่อสร้างซุ้มประตูวัด

พ.ศ. ๒๕๔๔ก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์

พ.ศ. ๒๕๔๕ก่อสร้างกุฏิชั่วคราวจำนวน๔หลัง (ทดแทนหลังเก่าที่เกิดเพลิงไหม้) เดิมตั้งอยู่

ทางด้านทิศตะวันตกแต่ได้ทำการโยกย้ายไปทางทิศเหนือในปีพ.ศ. ๒๕๕๕  เพื่อ

ใช้พื้นที่ในการสร้างกุฏิเจ้าอาวาส

พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อสร้างโรงครัว

พ.ศ. ๒๕๔๘ ก่อสร้างเมรุ

พ.ศ. ๒๕๕๐ก่อสร้างศาลาพักศพ

พ.ศ. ๒๕๕๐ก่อสร้างศาลาพักศพ (ศาลาทับทิมทอง)

พ.ศ. ๒๕๕๑ ก่อสร้างหอระฆัง

พ.ศ. ๒๕๕๒ก่อสร้างกุฏิปูน๒ชั้นขนาด๖ห้อง

พ.ศ.๒๕๕๕  บูรณะกุฏิไม้หลังใหญ่  (กุฏิเจ้าอาวาสเดิม)     

พ.ศ. ๒๕๕๖ก่อสร้างกุฏิเจ้าอาวาสหลังใหม่

พ.ศ.๒๕๕๘สร้างกำแพงด้านหน้าทดแทนกำแพงเก่าที่ชำรุดช่วงที่๑ (ทิศใต้ซุ้มประตู) 

พ.ศ. ๒๕๕๘ก่อสร้างห้องน้ำใกล้กุฏิเจ้าอาวาส

พ.ศ.๒๕๕๘  นางทองม้วน  สาลีและครอบครัวถวายที่ดินเพิ่มจำนวน ๓  ไร่ 

พ.ศ.๒๕๕๘สร้างศาลาแม่ตะเคียน

พ.ศ.๒๕๕๙  ขุดสระในที่ดินใหม่  ถมสระเก่าที่ตื้นเขิน  ปลูกต้นไม้สร้างสวนป่าปฏิบัติธรรม

พ.ศ.๒๕๕๙  สร้างกำแพงด้านหน้าช่วงที่ ๒ (ด้านทิศเหนือซุ้มประตู)

๓. ด้านการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๕๕นักธรรมชั้นตรีส่งสอบ      รูป สอบได้      รูป

ธรรมศึกษาชั้นตรีส่งสอบ  ๓๘   คน สอบได้      คน

ธรรมศึกษาชั้นโทส่งสอบ  ๓๗   คน สอบได้  ๒๔  คน 

๔. ด้านการเผยแผ่

วัดอ้อมแก้วโดยคณะสงฆ์  กรรมการหมู่บ้าน  กรรมการวัด  ผู้นำชุมชน  ชาวบ้านอ้อมแก้วตลอดทั้งพุทธศาสนิกชน  ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานช่วยพระศาสนาด้านการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอดนับตั้งแต่ก่อนก่อตั้งวัด  และเมื่อก่อตั้งวัดแล้วได้ใช้วัดเป็นสถานที่ทำงานด้านเผยแผ่อย่างต่อเนื่อง  เช่น

๑. กิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ได้แก่  วันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชา  วันอาสาฬหบูชา  วันอัฏฐมีบูชา  โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังภาพประกอบต่อไปนี้

– จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร

– กิจกรรมแสดงพระธรรมเทศนาและฟังธรรม

– กิจกรรมปฏิบัติธรรม, เจริญจิตภาวนา

– กิจกรรมเวียนเทียน

๒. กิจกรรมในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ

๒.๑  วันธรรมสวนะ  พุทธศาสนิกชนชาวบ้านอ้อมแก้วและหมู่บ้านใกล้เคียงพร้อมใจกันประชุมที่ศาลาการเปรียญในช่วงเช้า  เพื่อสวดมนต์ทำวัตรเช้า – เย็น  ทำบุญตักบาตร  ฟังธรรม และถือศีลภาวนาตลอดทั้งกิจกรรมลงอุโบสถทบทวนพระปาติโมกข์

๒.๒  วันเข้าพรรษา  ปัจจุบันนี้ประเพณีเข้าพรรษาเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่สำคัญ  ก่อนเทศกาลเข้าพรรษาบิดามารดาหรือผู้ปกครองก็จะประกอบพิธีอุปสมบทให้แก่บุตรหลานตนที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์  โดยถือว่า  ถ้าได้เข้าบวชเรียนในพระพุทธศาสนาและอยู่จำพรรษาจะได้รับอานิสงส์สูงสุด  มีกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับวันเข้าพรรษาที่ชาวบ้านอ้อมแก้วธำรงรักษาไว้   คือ กิจกรรมแห่เทียนพรรษา  กิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน   กิจกรรมทำบุญตักบาตร  กิจกรรมงดเสพสุรา   งดเล่นการพนัน  หรือกิจกรรมรับประทานแต่อาหารมังสวิรัติ  เป็นต้น  ดงภาพประกอบที่ชาวบ้านร่วมจัดกรรมกรรมดังกล่าว

(๑)  กิจกรรมอุปสมบท

(๒)  กิจกรรมแห่เทียนพรรษา

(๓) กิจกรรมถวายเทียนพรรษาและถวายผ้าอาบน้ำฝน

(๔) กิจกรรมทำบุญตักบาตร 

(๕) กิจกรรมงดเสพสุรา   

๒.๓วันออกพรรษาและวันเทโวโรหนะ  วันออกพรรษาเป็นวันสิ้นสุดระยะการอยู่จำพรรษา  มีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ชาวบ้านอ้อมแก้วร่วมกันประพฤติปฏิบัติไม่ขาดคือกิจกรรมจุดเทียน ธูปบูชา และกิจกรรมตักบาตรเทโวโรหนะ  

(๑) กิจกรรมเวียนเทียนและจุดเทียนธูปบูชา

(๒) กิจกรรมตักบาตรเทโวโรหนะ ๅ

๓. กิจกรรมเผยแผ่อื่นๆ  วัดอ้อมแก้วสามัคคีธรรมและชาวบ้านอ้อมแก้วได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาพระศาสนาโดยการใช้กิจกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างสังคมให้มีความสงบสุข  มีคุณธรรม สามารถนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม  เช่นกิจกรรมบางส่วนดังต่อไปนี้

๓.๑การบวชสามเณรและศีลจาริณีภาคฤดูร้อน

๓.๒การจัดงานบุญร่วมมิตร

๓.๓การสอนตามสถานศึกษาในโครงการพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา

๓.๔งานธรรมฑูต

๓.๕การแสดงธรรมในโอกาสต่างๆ

๓.๖อบรมคุณธรรมจริยธรรมครู – นักเรียน

๓.๗อื่นๆ  เช่น

– สอนธรรมศึกษา

– ประชุมด้านการศึกษา

คลิกเพื่อนำทาง