วัดสะอาง

ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาง เลขที่ ๑๘๑ หมู่ที่ ๑๒

ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


Wat Sa-Ang

Huai Nuea Subdistrict, Khukhan District,
Sisaket Province

  วัดสะอาง สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๕๖ ไร่ ๑ งาน ๑๙ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๔ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๕.๘๕ เมตร ยาว ๒๕.๘๐ เมตร

พระประธานประจำอุโบสถวัดสะอาง

วัดตั้งเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๖ โดยพระครูธรรมจินดามหามุณี (หลักคำอุต) ในที่ดิน ๔ ไร่ พระครูธรรมจินดามหามุณี (หลักคำอุด) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ พระครูธรรมจินดา มหามุณีได้ย้ายไปที่วัดกลางทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ทายกทายิกาพุทธศาสนิกชนจึงได้นิมนต์ พระอาจารย์อ้วนเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ท่านก็ได้ลาสิกขาบท จึงได้นิมนต์พระอาจารย์สอนเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ แต่ไม่นานท่านก็ได้ลาสิกขาบท ทำได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างอีกครั้ง ได้นิมนต์พระอาจารย์เมียดเป็นเจ้าอาวาสจนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระอาจารย์เมียดก็ได้ลาสิกขาบท จากนั้นทายกทายิกาพร้อมใจกันนิมนต์พระสมุห์สุทัย จนฺทรกิติโธเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์ได้แต่งตั้งให้เป็นพระสมุห์สุทัย จนฺทรกิติโธ จากนั้นได้ขอความร่วมมือจากทายกทายิกาพุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตศัทธาในสังกัดวัดได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างอุโบสถและสร้างพระพุทธรูปขึ้น เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจทางพุทธศาสนา ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เจ้าอธิการสุทัย จนฺทรกิติโธ ได้ลาสิกขาบท ทายกทายิกาพุทธศาสนิกชนจึงได้นิมนต์พระอาจารย์จันทร์ กลฺญาธมฺโม รักษาการแทนเจ้าอาวาสพอถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระอาจารย์จันทร์ กลฺญาธมฺโมได้ย้ายสำนักไปอยู่วัดอื่น ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างอีกครั้ง ทายกทายิกาได้ปรึกษาหารือ มติในที่ประชุมเห็นว่าพระอาจารย์ชุม เอกวุฑฺโฒเคยมาสำนักอยู่วัดสะอาง เป็นพระอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ พุทธสนิกชนจึงมอบให้นายบูรณะ วรรณวงค์พร้อมทายกทายิกาไปนิมนต์พระอาจารย์ชุม เอกวุฑฺโฒจากวัดไพรบึง ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ และทำหนังสือเสนอต่อเจ้าคณะตำบล เพื่อเสนอต่อเจ้าคณะอำเภอ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสและได้รับการแต่งตั้งได้เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาก็ได้เป็นพระใบฎีกาชุม เอกวุฑฺโฒ พ.ศ. ๒๕๐๘ พระอธิการใบฎีกาชุม เอกวุฑฺโฒได้ลาสิกขาบท ทายกทายิกาจึงได้นิมนต์ พระอาจารย์รีก ให้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอาจารย์รีกได้ลาสิกขาบท ทายกทายิกาจึงได้ไปนิมนต์พระอาจารย์ประยุทธจากวัดบ้านคอก ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง มาเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านได้ลาสิกขาบท จึงได้นิมนต์พระอาจารย์ศักดิ์รักษาการแทนเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ศักดิ์ท่านได้ลาสิกขาบท ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงว่างอีกได้นิมนต์พระอาจารย์สามารถ ภริปญฺโณจากวัดบ้านไทร ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๒ พระอธิการสามารถ ภริปญฺโณ ท่านได้ลาสิกขาบทจึงได้นิมนต์พระอาจารย์เฉลียว ขันติโกรักษาการแทนเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๓ พระอาจารย์เฉลียว ขันติโกท่านได้ลาสิกขาบท จึงได้นิมนต์พระอาจารย์สาคร รกฺขธมฺโมรักษาการแทนเจ้าอาวาส ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ พระอาจารย์สาคร รกฺขธมฺโมได้ลาสิกขาบท ทายกทายิกาจึงได้นิมนต์พระอาจารย์บุญจันทร์ ขนฺติโก จากวัดบ้านไทร ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึงมาเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้ลาสิกขาบท ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๐ วัดกำลังพัฒนาปรับปรุงหลายอย่าง ทายกทายิกาจึงได้นิมนต์พระอาจารย์สุภาพ กิตฺติโกเป็นเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พระอาจารย์สุภาพ กิตฺติโก ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไปสำนักอยู่วัดอื่น คณะกรรมการทายกทายิกาได้ประชุมปรึกษาหารือ มติในที่ประชุมได้เห็นว่าพระอาจารย์ไพบูรณ์ วชิรญาโณเป็นพระนักพัฒนา มีความรู้ ความสามารถ กรรมการทายกทายิกาพุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาสวัดต่อไปเพื่อการบริหารวัดจึงได้ทำการเสนอเรื่องไปยังเจ้าคณะตำบล เพื่อเสนอต่อเจ้าคณะอำเภอพิจารณาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

ปูชนียวัตถุ

๑. พระประธานประจำอุโบสถ ปางสดุ้งมาร ขนาดหน้าตัก กว้าง ๕๔ นิ้วสูง ๘๙ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒
๒. พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสดุ้งมาร ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๓๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐

พระประธานประจำอุโบสถ

อาคารเสนาสนะ

๑. อุโบสถ กว้าง ๑๕.๘๕ เมตร ยาว ๒๕.๘๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖
๓. กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ จำนวน ๒ หลัง
๔. ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๖๒
นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ ฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง โรงครัว จำนวน ๑ หลัง เรือนเก็บพัสดุ จำนวน ๑ หลัง

ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

รูปที่ ๑  พระครูธรรมจินดามหามุณี (หลักคำอุต) พ.ศ. ๒๓๙๖  ถึง ๒๔๒๘

รูปที่ ๒  พระอธิการอ้วน พ.ศ. ๒๔๒๘  ถึง ๒๔๓๘

รูปที่ ๓  พระอธิการสอน พ.ศ. ๒๔๓๘  ถึง ๒๔๔๐

รูปที่ ๔  พระอธิการเมียด พ.ศ. ๒๔๔๐  ถึง ๒๔๗๓

รูปที่ ๕  พระสมุห์ทัย พ.ศ. ๒๔๗๓  ถึง ๒๔๙๙

รูปที่ ๖  พระใบฏีกาชุม เอกวุฑฺโฒ พ.ศ. ๒๔๙๙  ถึง ๒๕๐๘

รูปที่ ๗  พระรีก พ.ศ. ๒๕๐๘  ถึง ๒๕๐๙

รูปที่ ๘  พระอธิการประยุทธ พ.ศ. ๒๕๐๙ ถึง ๒๕๑๕

รูปที่ ๙  พระศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๑๕  ถึง ๒๕๑๖

รูปที่ ๑๐ พระอธิการสมมารถ ภูริปญฺโณ พ.ศ. ๒๕๑๖  ถึง ๒๕๒๒

รูปที่ ๑๑ พระเฉลียว ขนฺติโก พ.ศ. ๒๕๒๒  ถึง ๒๕๒๓

รูปที่ ๑๒ พระอธิการสาคร ขนฺธมฺโม พ.ศ. ๒๕๒๓  ถึง ๒๕๒๔

รูปที่ ๑๓ พระอธิการบุญจันทร์ ขนฺติโก พ.ศ. ๒๕๒๔  ถึง ๒๕๓๐

รูปที่ ๑๔ พระอธิการสุภาพ กิตฺติโก พ.ศ. ๒๕๓๐  ถึง ๒๕๓๖

รูปที่ ๑๕ พระอธิการไพบูลย์ วชิรญาโณ พ.ศ. ๒๕๓๖  ถึง ๒๕๔๐

รูปที่ ๑๖ พระอธิการกลม อนุตฺตโร พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๔๒
รูปที่ ๑๗ พระอธิการเกื้อกูล ชุติธมฺโม พ.ศ. ๒๕๔๒  ถึง ๒๕๖๑

รูปที่ ๑๘  พระสมุห์พิทักษ์ กิตฺติภทฺโท พ.ศ. ๒๕๖๑  ถึงปัจจุบัน

  พระสมุห์พิทักษ์ กิตฺติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดสะอาง

อาณาเขต

ทิศเหนือ จดที่ราชพัสดุ
ทิศใต้ จดถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออก จดถนนสาธารณะ
ทิศตะวันตก จดคลองส่งน้ำสาธารณะ