วัดกะกำ

เลขที่ ๔๔ หมู่ที่ ๔

ตำบลตะเคียน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


Wat Ka Kam

Takian Subdistrict, Khukhan District,
Sisaket Province

  วัดกะกำ (เดิมชื่อว่าวัดบรมธาตุกะกำ) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ตั้งอยู่เลขที่ ๘๖ วัดกะกำ หมู่ที่ ๔ ตำบลตะเคียน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้เปลี่ยนเลขที่ของวัดเมื่อวันที่ ๒๓ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเลขที่ ๔๔ หมู่ที่ ๔
วัดกะกำ ตำบลจะกง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สร้างทางทิศเหนือของบ้านกะกำ ในปัจจุบันมีพื้นที่ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ (น.ส.๔ จ.) โฉนดที่ดิน เลขที่ ๑๐๘๖๑ เล่มที่ ๑๐๙ หน้าที่ ๖๑ เลขที่ดิน ๘๔ ตำบลตะเคียน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๖ ไร่ ๒ งาน ๓๘ ตาราวา วัดบรมธาตุ บ้านกะกำ(สำนักสงฆ์) ซึ่งออก ณ วันที่ ๓ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ตั้งวัดปัจจุบัน ได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อใดไม่ทราบ


พระประธานประจำอุโบสถวัดกะกำ

วัดกะกำได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ผูกพัทธสีมา พ.ศ. ๒๔๙๔ มีฐานะเป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

หลวงพ่อหอม เหมโก อดีตเจ้าอาวาสวัดกะกำ

        กะกำเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ภาษาส่วยหรือกวยเรียกว่า ละกำ กัลป์ละกำหรือคัลกัม ชาวบ้านพูดเพี้ยนจึงตั้งชื่อวัดตามต้นไม้ว่าวัดกะกำมาจนทุกวันนี้ มีประชาชนให้ความอุปถัมภ์ ๑๔ หมู่บ้าน คือ บ้านกะกำ บ้านหว้า บ้านเค็ง บ้านสวนกะสังข์บ้านไผ่ บ้านอังกุล บ้านอาหวด บ้านสร้างใหญ่ บ้านหนองอาทิเม็ก บ้านโนนสว่าง บ้านบก บ้านจองกอ บ้านไผ่ตากด บ้านหนองบัว แต่ปัจจุบันหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดและที่พักสงฆ์ขึ้นเอง วัดกะกำจึงเหลือหมู่บ้านที่ให้ความอุปถัมภ์เพียง ๕ หมู่บ้าน คือ บ้านกะกำ บ้านหว้า บ้านสวนกะสังข์ บ้านไผ่ บ้านกะกำโคกสว่าง วัดกะกำเกือบร้างมีสามเณรอยู่องค์เดียวจึงได้ไปนิมนต์หลวงพ่อหอม  เหมโกจากวัดบ้านจันลมมาจำพรรษาที่วัดกะกำ ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัย ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดระยะเวลาที่ท่านพำนักอยู่ที่วัดกะกำแห่งนี้ ท่านได้เรียนรู้หนังสือขอม(เขมร) จนท่านเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ปีฉลู เดือนยี่ วันศุกร์ ท่านได้แกะสลักไม้สร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์จนถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๘๑ เดือนมิถุนายน ตรงกับวัน ๑๔ วัน ๓ จึงสำเร็จ โดยช่างด้วง อายุวงษ์เป็นผู้แกะสลัก ได้ทำบุญฉลอง ต่อมาท่านก็ได้ระดมชาวบ้านดำเนินการก่อสร้างถนนหนทางจากบ้านหว้ามาโรงเรียนวัดกะกำ ได้นำพาชาวบ้านพัฒนาวัด ซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดให้ใช้สอยได้และปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ก่อสร้างรั้วเสาไม้แก่นรอบบริเวณวัดกะกำ ต่อมาได้ริเริ่มทำการก่อสร้างอุโบสถแบบชั่วคราว โดยได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อพระครูบริหารสุขบทมาเป็นช่างปั้นปูนองค์พระพุทธรูป พระประธานในปัจจุบันนี้ยังอยู่ที่อุโบสถหลังเก่าเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของพระภิกษุ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๘

พระพุทธรูปไม้ในอุโบสถหลังเก่า

  • ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้ก่อสร้างกุฏิ ๑ หลัง ขนาดความกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร แล้วเสร็จและทำบุญฉลองในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
  • ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ขอกำลังพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านกะกำรื้อถอนอุโบสถหลังเก่า แล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่
  • ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ก่อสร้างกุฏิหลังปัจจุบันนี้ ขนาดความกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศลจนถึงทุกวันนี้
  • สร้างเจดีย์ทั้งสอง เมื่อวันที่ ๙ เดือนกรกภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓
  • สร้างซุ้มประตูใหญ่ทางเข้าวัดทางด้านทิศตะวันออก สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙
  • ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ สร้างกำแพงรั้วคอนกรีตรอบบริเวนวัดกะกำ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙
  • สร้างซุ้มประตูเล็กทางเข้าด้านทิศตะวันตก สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
  • ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ สร้างห้องน้ำทางด้านทิศตะวันตกของวัด วันที่ ๔ เดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐

เจดีย์

ลำดับเจ้าอาวาส

๑. หลวงพ่อเลา
๒. หลวงพ่อเนา วิสีญาโณ
๓. หลวงพ่อแพง
๔. พระอธิการหอม เหมโก เจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๕๒๖
๕. พระภี รักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗
๖. พระอธิการสุรัตน์ อคฺควโร เจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๙
๗. พระพิมพ์ โพธิสาโร รักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๐
๘. พระวิชัย กนฺตวีโร พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๓
๙. พระเยือน ติรคุโณ รักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๖
๑๐. พระอธิการมี ปภาโส เจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๔
๑๑. เจ้าอธิการพงษ์ศักดิ์ ฉนฺทวิริโย เจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๔๔- ปัจจุบัน

อาณาเขต

ทิศเหนือ จดกับที่ดินของนางสัน กระโพธิ์
ทิศใต้ จดกับถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออก จดกับที่ดินของนางพลอย พิมพ์ผุย
ทิศตะวันตก จดกับที่ดินของนางนม อินธิยาย