วัดหนองเข็ง

ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเข็ง เลขที่ ๗๙ หมู่ที่ ๗

ตำบลกฤษณา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


Wat Nong Keng

Kritsana Subdistrict, Khukhan District,
Sisaket Province

วัดหนองเข็ง
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยหลวงพ่อทองจันทร์ จนฺทโชโต เป็นหัวหน้าฝ่ายสงฆ์ พร้อมทั้งชาวบ้านหนองเข็งเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้าง บนเนื้อที่ของนางน้อย บำรุง มีจิตศรัทธาได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด

คณะกรรมการวัดในช่วงนั้นได้มอบหมายให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ต่อมานางน้อย บำรุง ได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดขึ้น โดยได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๑๔ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และต่อมาได้ตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า “วัดหนองเข็ง”

วัดหนองเข็งเดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ในเขตชุมชน ซึ้งประกอบด้วย ม.๗ ม.๑๐ ม.๑๒ ใช้ในการบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นป่าช้าประจำหมู่บ้าน ในขณะนั้นตั้งอยู่ในเขตที่นาของนางน้อย บำรุง ต่อมาชาวบ้านพร้อมผู้นำชุมชนได้ประชุมปรึกษาหารือในการจะสร้างวัด จนมีชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันบริจาคที่ดิน ดั้งนี้
๑. พ่อโฮม ศรีบุเรือง บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ ไร่
๒. พ่อหลุม ศรีบุยเรือง บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ ไร่
๓. คุณแม่สุริง ศรีบุญเรือง บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ ไร่
๔. พ่อคำ-แม่ใหม่ ศรีบุญเรือง บริจาคที่ดิน จำนวน ๑ ไร่
๕. พ่อเมา บัวจันทร์ บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ ไร่
ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

อาคารเสนาสนะ

  • ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน ๗ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๗ หลัง
  • ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓ อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
    นอกจากนี้มีอาคารฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง

พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๕๙ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗

พระประธานประจำศาลาการเปรียญ

ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
๑. พระอธิการทองจันทร์ จนฺทโชโต พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓
๒. พระอธิการอุทัย กิตฺติสาโร พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๖๓
๓. พระอธิการสมลัด กิตฺติภทฺโท พ.ศ. ๒๕๖๕ – ปัจจุจัน

พระอธิการสมลัด กิตฺติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดหนองเข็ง

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑

อาณาเขต

ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๘๔ ตารางวา
ทิศเหนือ จดนายสมลัด บำรุง
ทิศใต้ จดนายสมบัติ บำรุง
ทิศตะวันออก จดนายสมบัติ บำรุง
ทิศตะวันตก จดนายสมลัด บำรุง