วัดกฤษณา
ตั้งอยู่ที่บ้านกฤษณา เลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๒
ตำบลกฤษณา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Wat Kritsana
Kritsana Subdistrict, Khukhan District,
Sisaket Province
วัดกฤษณาตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ โดยหลวงพ่อเสนเป็นหัวหน้าฝ่ายสงฆ์ พร้อมทั้งชาวบ้านกฤษณา บ้านพรมแสงเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้าง บนเนื้อที่ของชาวบ้าน ไม่ทราบแน่ชัด มีจิตศรัทธาได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด โดยคณะกรรมการวัดในช่วงนั้นได้มอบหมายให้ผู้นำชุมชนในสมัยนั้นเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖
ต่อมาได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดขึ้น โดยได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๖ และต่อมาได้ตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า “วัดกฤษณา” สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
เดิมวัดกฤษณาอยู่บริเวณโนนตาลข้างหนองกฤษณามีเนื้อที่ ๑ เส้น (๔๐ เมตร) ยาว ๒ เส้น (๘๐ เมตร) ใช้ชื่อ วัดกฤษณา ตำบลจะกง อำเภอห้วยเหนือในขณะนั้น ต่อมาชาวบ้านเล็งเห็นว่าสถานที่ตั้งวัดเดิมนั้นคับแคบและมักเกิดน้ำท่วมในฤดูฝนจึงย้ายไปตั้งที่บริเวณดอนปู่ตาแต่ยังไม่พ้นวิกฤติน้ำท่วมจึงย้ายวัดเป็นครั้งที่สามมาอยู่ในที่สูงกว่า คือ วัดกฤษณา ตำบลจะกง (ปัจจุบันตำบลกฤษณา)
วัดแห่งนี้มีพระสงฆ์สามเณรอยู่จำพรรษาในทุกปีเป็นจำนวนมาก ในยุคสมัยพระครูโสภิตธรรมขันธ์(เอี้ยง ผคฺคุโณ) ในขณะดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกฤษณา ทำให้พระสงฆ์สามเณรที่บวชเข้ามาแล้วได้ไปศึกษายังวัดต่าง ๆ และสำนักเรียนบาลี จนจบเปรียญธรรมหลายรูป หลวงพ่อให้ความสำคัญเอาใจใส่ในการศึกษาของพระเณรและการพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องและได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์ ต่อมาพระครูโสภิตธรรมขันธ์(เอี้ยง ผคฺคุโณ) เล็งเห็นให้ความสำคัญกับการศึกษาจึงมีดำริขึ้นจัดตั้งโรงเรียนขุขันราษฎร์บำรุง เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาแห่งแรกของอำเภอขุขันธ์จนปัจจุบัน
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๘๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖ เมตร
เหรียญพระครูโสภิตธรรมขันธ์(หลวงปู่เอี้ยง ผคฺคุโณ) รุ่นพิเศษ ๑
- อุโบสถ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗๐ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- กุฏิสงฆ์ จำนวน ๘ หลัง เป็น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๑ หลัง อาคารไม้ จำนวน ๖ หลัง
นอกจากนี้มีอาคารฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง
ปูชนียวัตถุ
- พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๖๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
- พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๕๙ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐
ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ลำดับที่ ๑ พระเสน ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๒ พระครูโสภิตธรรมขันธ์ ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๓ พระบุตร ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๔ พระวัตร ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๕ พระบัว ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๖ พระชมพู ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๗ พระบุญ ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๘ พระเนียม ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๙ พระลา ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๐ พระเกิด ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๑ พระมี ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๒ พระวัน ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๓ พระคำสวน ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๔ พระอุปครุฑ ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๕ พระจันทร์ ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๖ พระเทียม ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๗ พระสุข อาภสุสโร ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๘ พระครูทัด ธัมโกศล ไม่ทราบพ.ศ.
ลำดับที่ ๑๙ พระอธิการสี สุจิตฺโต รูปปัจจุบัน
อาณาเขต
ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๗ ไร่
ทิศเหนือ จดทางสาธารณะ
ทิศใต้ จดทางสาธารณะ
ทิศตะวันออก จดทางสาธารณะ
ทิศตะวันตก จดทางสาธารณะ