วัดกระโพธิ์ช่างหม้อ

เลขที่ ๑๕๓ หมู่ที่ ๖ บ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ

ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


Wat Kra Pho Chang Mo

Dong Kammet Subdistrict, Khukhan District,
Sisaket Province

วัดกระโพธิ์ช่างหม้อ เดิมตั้งอยู่ ณ ทางทิศเหนือแม่น้ำร่องกระโพธิ์ ตำบลตะเคียน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ย้ายวัดเข้ามายังหมู่บ้าน เนื่องจากระยะทางห่างไกลจากหมู่บ้าน ๑.๕ กิโลเมตร ซึ่งไม่สะดวกต่อการคมนาคมของขาวบ้านและพระภิกษุ สามเณร โดยย้ายมาตั้งใหม่ยังหมู่บ้าน ณ เลขที่ ๑๕๓ หมู่ที่ ๖ บ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ได้รับอนุญาตสร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๖ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้รับอนุญาตตั้งวัด เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งมีนายสุทด ขุมเงิน เป็นผู้ขออนุญาตสร้างวัดและอนุญาตตั้งวัดตามลำดับ โดยตั้งชื่อตามชื่อหมู่บ้าน มีเจ้าอธิการชาญ อนาลโย เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกที่แต่งตั้งเป็นทางการตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน

วัดกระโพธิ์ช่างหม้อ ได้ก่อสร้างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และมีกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตลอดทั้งปี

ลำดับเจ้าอาวาส

๑. พระแก้ว ภิปราย หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาสิกขา)
๒. พระเจริญ กระโพธิ์ หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาสิกขา)
๓. พระศักดิ์ หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาลิกขา)
๔. พระทัน หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ย้ายวัด)
๕. พระลี สิริจันโท หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาสิกขา)
๖. พระสายเหลือง ไชยทิพย์ หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาสิกชา)
๗. พระสมควร ธัมมโชโต หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ย้ายวัด)
๘. พระจิม กันตสีโล หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาสิกขา)
๙. พระพูน ใจดี หัวหน้าที่พักสงฆ์ (ลาสิกขา)
๑๐. เจ้าอธิการชาญ โคณบาล พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน

เจ้าอธิการชาญ โคณบาล เจ้าอาวาสวัดกระโพธิ์ช่างหม้อ

อาณาเขต

วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๓ งาน

  • ทิศเหนือ จรดที่ของนางพลัน กระโพธิ์
  • ทิศตะวันออก จรดที่ของนายสมคิด โคณบาล
  • ทิศใต้ จรดถนนสาธารณะของหมู่บ้าน
  • ทิศตะวันตก จรดที่ของนางเมอะ หนหอม

ประวัติบ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ

บ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ แต่เดิมเรียกชื่อว่า “ภูมิกระโพธิ์” ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษากวย ถือได้ว่าเป็นชุมชนเก่าแก่ เพราะมีฐานเจดีย์หรือปรางค์กูให้คันคว้า แต่ปัจจุบันถูกทำลายหมดแล้ว น่าจะเป็นฐานเจดีย์สมัยขอม
ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านสมัยนั้นมีต้นตะล้อจำนวนมาก ภาษากวยเรียกชื่อว่ากะโพ ที่ชื่อว่า “บ้านกระโพธิ์ซ่างหม้อ” คงแผลงมาจากกะโพตามภาษากวย ส่วนช่างหม้อต่อท้ายนั้น เพราะว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เมื่อเสร็จจากการทำนาแล้ว งานอดิเรกที่ชาวบ้านถนัดในสมัยนั้นคือ ปั้นหม้อดิน มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพัฒนาชุมชนมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน