วัดส้มป่อยใหญ่

ตั้งอยู่ที่บ้านส้มป่อยใหญ่ เลขที่ ๑๙๓ หมู่ที่ ๑

ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ


Wat Som poi Yai

Som poi Subdistrict, Rasi Salai District,
Sisaket Province

วัดส้มป่อยใหญ่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

———————————————

หลวงพ่อพิกุลทอง

วัดส้มป่อยใหญ่ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓


ประวัติบ้านส้มป่อย
บ้านส้มป่อย เกิดในระหว่างสงครามไทย-พม่า สมัยเดียวกับที่ท้าวสุรนารี คุณหญิงโม ณ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๖๙ ประมาณ ๑๗๖ ปี ล่วงมาแล้ว เริ่มจากสมัยพระวอพระตา เป็นเจ้าเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งเมืองเวียงจันทร์มีเมืองขึ้นมาก จังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในเมืองนั้น เมืองศรีสะเกษในสมัยก่อนเป็นเมืองขุขันธ์ ปัจจุบันเมืองขุขันธ์เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษเจ้าเมืองขุขันธ์ในสมัยนั้นชื่อว่า “พระยาไกร” ซึ่งเป็นผู้ที่มีความกระด้างกระเดื่องต่อเมืองเวียงจันทร์ โดยไม่ยอมเสียส่วยให้ใคร เจ้าเมืองเวียงจันทร์จึงได้ยกทัพมาที่ค่ายส้มป่อย มีหนองกระเตี้ยและหนองคลีลี่ ค่ายที่จัดตั้งมานี้มีทั้งหมด 3 ค่าย คือ ค่ายจาละแม อยู่ที่จังหวัดอุบลราซธานี, ค่ายส้มป่อย อยู่ที่จังหวัดศระเกษ และค่ายทุ่งสัมฤทธิ์ อยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ด้วยความกระด้างกระเดื่องของพระยาไกร และเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก จึงถูกเจ้าเมืองเวียงจันทร์ส่งมาประหารที่ค่ายส้มป่อย ซึ่งจะทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้พระยาไกรสิ้นฤทธิ์โดยให้ทหารสร้างค่าย ๗ ชั้น และสร้างอ่างอาบน้ำ สำหรับไว้สรงน้ำพระยาไกร โดยในอ่างน้ำนี้ได้เอาของที่ทำให้เสื่อมฤทธิ์แช่ไว้ โดยเอาผ้าติดประจำเดือนของผู้หญิงแช่ไว้ในอ่าง เพื่อที่จะให้พระยาไกรอาบ แต่พอพร ยุไกรได้มาเห็น ก็เกิดการสังหรณ์ใจ และมีความประหลาดใจไม่ย่อมลงอาบน้ำในอ่าง จึงได้กระโดดข้ามค่ายที่จะสร้างไว้ ๗ ชั้นนั้น และถูกทหารล้อมจับได้อยู่ที่แม่น้ำ จากนั้นได้นำช้าง ๓ เชือกมาขันคอพระยาไกรติดกับต้นกระโดน พระยาไกรนั้นได้จามจนเชือกที่ผูกกับช้างขาด จึงนำพระยาไกรไปถ่วงน้ำโดยใช้หินผูกถ่วงไว้ที่วังใหญ่ แต่หินนั้นได้พาพระยาไกรมาขึ้นฝั่งอีกที่ ร่องคลีลี่ ปัจจุบันหินก้อนนั้นได้ตั้งอยู่ที่หมู่ ๗ บ้านเปือย

จากนั้นได้สร้างส้วมขึ้นมา จนพระยาไกรได้ไปเข้าส้วมโดนหลาวหรือแหลมในห้องส้วมตำเข้าทางรูทวาร แต่พระยาไกรยังไม่ตาย ท่านบอกขอกลับไปตายที่บ้านเกิด คือ เมืองขุขันธ์ เมื่อสำเร็จการศึกพระยาไกรที่ค่ายส้มป่อย กองทัพนั้นได้เลื่อนทัพไปที่ทุ่งสัมฤทธิ์ คืออีกค่ายหนึ่ง จึงได้ปล่อยให้ค่ายนั้นว่างไว้ จากนั้นได้มีชาวเวียงจันทร์ได้ย้ายรกรากเข้ามาอยู่ที่ค่ายส้มป่อย และเรียกกันว่าบ้านส้มปอย ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งคำว่าส้มป่อยคงมาจากค่ายที่ตั้งอยู่บริเวณต้นส้มป่อย หรืออาจมาจากพระยาไกรที่ถูกปล่อยที่ค่ายแห่งนี้ จึงเพี้ยนมาเป็น ส้มป่อยก็เป็นได้ เมื่อมีชาวบ้านเข้ามาอยู่มากขึ้น จึงได้สร้างวัด ผู้ที่สร้างวัดคนแรก หลวงบุญศรี ต่อมา หลวงพ่อถูกปล้นแล้วถูกฆ่าตาย

ในปัจจุบันบ้านส้มป่อยมีประชากรมากขึ้น มีขนาดหมู่บ้านใหญ่ขึ้น ซึ่งยากแก่การปกครอง จึงได้แยกหมู่บ้านออกเป็น ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๑, หมู่ ๑๑, หมู่ ๑๗เมื่อก่อนนั้นวัดส้มป่อยใหญ่ ชื่อวัดส้มป่อย เมื่อประชากรมากขึ้น ได้แยกเป็นหมู่บ้านต่าง ๆ โดยหมู่ที่ ๑ มีชื่อเรียกของชาวบ้านในตำบลส้มป่อยว่า บ้านส้มป่อยใหญ่ และวัดส้มป่อยใหญ่

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๖ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร

พระครูสุเมธศีลคุณ เจ้าอาวาสวัดส้มป่อยใหญ่

  • วันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดส้มป่อยใหญ่
  • วันที่ ๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ตำบลส้มป่อย
  • วันที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท ที่ พระครูสุเมธศีลคุณ
  • วันที่ ๑๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
  • วันที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รับพระบัญชาเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก ที่ พระครูสุเมธศีลคุณ
  • วันที่ ๕ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ รับตราตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอราษีไศล

พระครูสุเมธศีลคุณ เจ้าอาวาสวัดส้มป่อยใหญ่,รองเจ้าคณะอำเภอราษีไศล

อาคารเสนาสนะ

  • อุโบสถ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน ๕ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้จำนวน ๒ หลัง

อุโบสถ

หอระฆัง

ศาลาหอฉันบุญคุณพ่อแม่

กุฏิสงฆ์

อาคารพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด

ปูชนียวัตถุ

  • พระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๒ เมตร
  • พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕

พระประธานประจำอุโบสถ

พระประธานประจำศาลาการเปรียญ

——————————————————————————————————–

กิจกรรม “นุ่งผ้าไท นั่งสาด ใส่บาตร ริมมูล” ณ ลานธรรม

วิวทิวทัศน์แม่น้ำมูล (วัดส้มป่อยใหญ่)

น้ำใสมองเห็นฝูงปลาแหวกว่ายอยู่ในลำน้ำมูล ให้ทุกท่านที่ไปเยือนได้ชมความน่ารักและความสวยงามของธรรมชาติ ณ วัดส้มป่อยใหญ่แห่งนี้

คลิกเพื่อนำทาง