ความเป็นมา
วัดไพรพัฒนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพระครูโกศลสิกขกิจ หรือหลวงพ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด มีพระสงฆ์สามเณรในสังกัด ๒๐ รูป และวัดไพรพัฒนายังขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานบรรจุไว้ ณ มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา และเป็นสถานที่ตั้งสรีระสังขารของหลวงปู่สรวง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชนทั่วไป ได้มาเคารพกราบไหว้ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั่วไป
ประวัติหลวงปู่สรวง
หลวงปูุสรวงเป็นคนพูดน้อย และไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครทราบประวัติและอายุที่แท้จริงของท่านได้ มีเพียงคำบอกเล่าปากต่อปากที่ยังคงเป็นปริศนา บ้างก็ว่าท่านเป็นคนจังหวัดศรีสะเกษ บ้างก็ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากประเทศกัมพูชา มาจำพรรษาที่ประเทศไทยหลายแห่ง จึงไม่มีใครที่จะทราบเรื่องราวประวัติที่แน่นอน ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกขานท่านว่า “ลูกเอ็อวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบสที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำตามป่าเขา) หลวงปู่สรวงเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ สมถะ มีอุเบกขาสูงสุด ตลอดระยะเวลา หลวงปูุสรวงจะจำวัด ณ สำนักสงฆ์แห่งหมู่บ้านไพรบึงน้อย (วัดไพรพัฒนาในปัจจุบัน) และอยู่ตามกระท่อมนาเล็ก ๆ มีกระดานไม้ปูแค่พอนอนได้ทุกแห่งที่หลวงปูุจำ วัดจะมีเสาไม้สูงปักอยู่ มีเชือกขาวขึงระหว่างกระท่อม เสาไม้หรือต้นไม้ข้างเคียงมีว่าวขนาดใหญ่ที่บุด้วยจีวรหรือกระดาษแขวนไว้เป็นสัญลักษณ์ ที่ขาดไม่ได้คือจะต้องให้ลูกศิษย์ก่อกองไฟไว้เสมอ บางครั้งลูกศิษย์เอาของถวายท่านก็จะโยนเข้ากองไฟ ฉะนั้น ถ้าเห็นว่ากระท่อมใดมีสิ่งของดังกล่าว ก็หมายถึงว่าเป็นที่ที่หลวงปูุเคยจำวัดหรือเคยอยู่มาก่อน
อาคารเสนาสนะ
- ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ดำเนินการก่อสร้าง อุโบสถ จำนวน ๑ หลัง ลักษณะ ทรงไทยทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๓ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้างเป็นเงินจำนวน ๕,๐๖๐,๐๐๐ บาท ( ห้าล้านหกหมื่นบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๔๔ ดำเนินการก่อสร้าง ศาลาใหญ่จำนวน ๑ หลัง ลักษณะทรงไทยทำด้วยไม้พันชาติเนื้อแข็ง กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๒ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นเงินจำนวน ๖,๐๐๕,๐๐๐ บาท ( หกล้านห้าพันบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๓๖ ดำเนินการก่อสร้าง กุฏิ จำนวน ๑ หลัง ลักษณะ ทรงไทยทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งล้านสองแสนบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ดำเนินการก่อสร้าง กุฏิ จำนวน ๑ หลัง ลักษณะ ทรงไทยทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๖๓,๐๐๐ บาท ( หกหมื่นสามพันบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ดำเนินการก่อสร้าง ห้องน้ำ – สุขา จำนวน ๒๐ ที่ ลักษณะ ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๖๔๐,๕๐๐ บาท ( หกแสนสี่หมื่นห้าร้อยบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ดำเนินการ ก่อสร้าง กุฏิ จำนวน ๑ ที่ ลักษณะทำด้วยไม้ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๗ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๕๓,๐๐๐ บาท ( ห้าหมื่นสามพันบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ดำเนินการก่อสร้าง ซุ้มประตู จำนวน ๑ ที่ ลักษณะ ทำด้วยไม้ตะเคียน – ไม้ประดู่ กว้าง ๑๒ เมตร สูง ๘ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๑,๓๐๐,๕๐๐ บาท ( หนึ่งล้านสามแสนห้าร้อยบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๗ ดำเนินการก่อสร้าง กุฏิ จำนวน ๑ ที่ ลักษณะทรงประยุกต์ทำด้วยไม้ตะเคียน – ไม้ประดู่ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๔ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๕๐๐,๐๐๐ บาท ( สิบหกล้านห้าแสนบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๗ ดำเนินการ ก่อสร้าง กุฏิ จำนวน ๑ ที่ ลักษณะ ทรงไทยทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๘๐๐,๕๐๐ ( แปดแสนห้าร้อยบาท )
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ บูรณะปฏิสังขรณ์ ศาลาหอฉัน จำนวน ๑ หลัง ทำด้วยไม้ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๘ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๑,๖๓๕,๐๐๐ บาท ( หนึ่งล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันบาท
- ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ บูรณะปฏิสังขรณ์ ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน ๑ หลัง ลักษณะ ทรงไทยทำด้วยไม้กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว จนสามารถใช้การได้แล้ว ราคาค่าก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาท )