วัดคำบอน
ตั้งอยู่บ้านคําบอน เลขที่ ๓/๓ หมู่ที่ ๑๐ (ปัจจุบันตั้งอยู่บ้านโคกสะอาด) หมู่ที่ ๙
ตําบลดูน อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Wat Kham Bon
Doon Subdistrict, Kanthararom District,
Sisaket Province
วัดคำบอน ตั้งอยู่บ้านคําบอน เลขที่ ๓/๓ หมู่ที่ ๑๐ (ปัจจุบันตั้งอยู่บ้านโคกสะอาด) หมู่ที่ ๙ ตําบลดูน อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ประวัติวัด (โดยสังเขป)
วัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยมีพระปลัดแสง วัดบ้านคุณและนายเข็มช่างเพ็ชร เป็นผู้นําในการสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
อาคารเสนาสนะ
- อุโบสถ กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๔ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๙ เมตร ยาว ๓๘ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖
- กุฏิสงฆ์ จํานวน ๓ หลัง เป็นอาคารไม้ ๑ หลัง และตึก ๒ หลัง สร้างด้วยคอนกรีต
- ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕
- ศาลาบําเพ็ญกุศล กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จํานวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐
นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้
ฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง และโรงครัว จำนวน ๑ หลัง
- พระพุทธรูปโบราณ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สูง ๕๐ นิ้ว สร้างด้วยทองเหลือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐
- พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย(พระพุทธชินราช) ขนาดหน้าตัก กว้าง ๖๐ นิ้ว สูง ๑๐๘ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒
- พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางประทานพร ขนาดหน้าตัก กว้าง ๑๐๔ นิ้ว สูง ๒๗๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘
ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
๑. พระปลัดแสง กิตฺติญาโณ ผู้ริเริ่มสร้างวัดก่อน พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๗
๒. พระครูพิทักษ์กันทรารมย์ (พระมหาค้ำ เขมาภิรโต) พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๕
๓. เจ้าอธิการรัตน์ ถาวโร พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๗
๔. พระครูกันทรารมณ์โกวิท (สิ้ว โกวิโท) พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐
๕. พระสมุพันธ์ ธมฺมรโต พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๐๕
๖. หลวงปู่ลี รักษาการแทนเจ้าอาวาส
๗. พระครูวงค์ รักษาการแทนเจ้าอาวาส
๘. พระปลัดบุญจันทร์ จารุวณฺโณ (สมจริง) พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๒๓
๙. พระครูสุวรรณขันติคุณ (อุดร ขนฺติโก) พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๖
๑๐. พระปลัดทอง อุตฺตมญาโณ พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๘
๑๑. พระอธิการชัยวัฒน์ โรจโน พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐
๑๒. พระมหาเจษฎา จนฺทาโภ พ.ศ. ๒๕๕๐-ปัจจุบัน
อาณาเขต
- ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๖๗ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๒๓๔๐
- ทิศเหนือ ประมาณ ๓ เส้น ๘ วา จดทางสาธารณประโยชน์
- ทิศใต้ ประมาณ ๓ เส้น ๘ วา จดทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก ประมาณ ๒ เส้น ๓ วา จดที่ดินนายเชิดชัย กุลศิโรจน์รัตน์และนายประจักษ์ สู่สุข
- ทิศตะวันตก ประมาณ ๒ เส้น ๓ วา จดทางสาธารณประโยชน์
- มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗
- มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
- มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ห้องเรียน)
- มีศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์