Wat Ban Khayung

Huai Ta Mon Subdistrict, Phu Sing District,
Sisaket Province

ความเป็นมา

วัดบ้านขะยูง เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๙ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดมหานิกาย เริ่มสร้างปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชทานวิสุงคามสีมา กำหนดเขต กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๓๔ เมตร

หลวงพ่อพุทธประทานพร

วัดบ้านขะยูง เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๙ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดมหานิกาย เริ่มสร้างปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชทานวิสุงคามสีมา กำหนดเขต กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๓๔ เมตร

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับบ้านโกแดง
  • ทิศตะวันออก ติดกับบ้านทำนบ
  • ทิศตะวันตก ติดกับบ้านสะเดาน้อย
  • ทิศใต้ ติดกับบ้านห้วย

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่สรวง
วัดบ้านขะยูง

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่สรวง วัดบ้านขะยูง ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกวัดหนึ่งที่น่าสนใจมาก ครั้นหลวงปู่สรวงท่านยังไม่ละสังขารในอดีตท่านเคยมาพำนักพักอาศัยบ่อยครั้ง แม้กระทั่งในหมู่บ้านขะยูงท่านเข้ามาพักอาศัยในหมู่บ้านจนชาวบ้านนับถือว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

ชาวบ้านในชุมชนยังได้สิ่งของต่าง ๆ ที่หลวงปู่สรวงท่านให้ไว้ เช่น หีบไม้เก่า อุปกรณ์คล้ายมีดเก่าโบราณ รวมทั้งร่องรอยเรื่องราวตำนานและข้อมูลหลวงปู่สรวง ที่รวบรวมมาแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นลายมือที่ท่านเขียน เครื่องอัฐบริขาร จีวร บาตรเก่า ตุ๊กตาจระเข้ รอยเผาไฟและข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ


ที่สำคัญทางวัดได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่สรวง เพื่อเผยแผ่สื่อประดิษฐ์ ปริศนาธรรม ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสมาศึกษา จึงเป็นอีกวัดหนึ่งที่น่าเข้าไปศึกษาตามรอยธรรม ตำนานหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน

ความสำคัญของ ศาลาไม้หลวงปู่สรวง
ศาลาไม้หลวงปู่สรวง เป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงประวัติหลวงปู่สรวงให้สานุศิษย์หลวงปู่สรวงที่มีอยู่จำนวนมากในปัจจุบันได้เดินทางท่องเที่ยว เพื่อศึกษาตามรอยเส้นทางธรรมของหลวงปู่สรวง ซึ่งวัดบ้านขะยูงถือว่าเป็นวัดในตำนานหลวงปู่สรวงที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวประวัติหลวงปู่สรวงโดยตรง ณ วัดบ้านขะยูง เดิมทีเป็นศาลาไม้เพื่อใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมหรือจัดกิจกรรมในทางพระพุทธศาสนาของวัดและพุทธศาสนิกชนบ้านขะยูง แต่หลวงปู่สรวงมักมาพักอยู่เป็นประจำ ทางวัดจึงให้ถือว่าเป็นกุฏิเดิมของหลวงปู่สรวง เดิมทีมีลักษณะเป็นศาลาชั้นครึ่งทำด้วยไม้ทั้งหลัง ต่อมาทางวัดได้บูรณะขึ้นเพราะทรุดโทรมมาก ประกอบกับทางวัดมีศาลาไม้หลังเดียวที่ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ หรือใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด โดยทางวัดได้บูรณะตัวอาคารขึ้นเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างได้ก่อผนังปูน เทพื้น ต่อเติมห้องเพิ่มออกด้านข้างทั้งสองฝั่งเพื่อใช้ประโยชน์

พระครูไพโรจน์อินทสาร เจ้าอาวาสวัดบ้านขะยูง

ขั้นตอนของการท่องเที่ยววิถีธรรม ตามรอยธรรม ตำนานหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดินของพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่สรวง วัดบ้านขะยูง

จุดแรก จะต้องได้รับผ้าขาวคล้องคอไม่ใช่ผ้าพันคอ เป็นผ้าเพื่อความสำรวมทางกายใช้ปกปิดไหล่ คลุมอวัยวะต่าง ๆ ที่อาจจะดูไม่สุภาพเรียบร้อยให้เรียบร้อยขึ้นตลอดทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน หลังจากนั้นรับขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ทางวัดได้จัดเตรียมให้ฟรีพอได้ทั้งผ้าและเครื่องบูชาแล้ว เดินไปสู่กระท่อมหลวงปู่สรวงผู้เป็นศูนย์กลางศรัทธาของวัดบ้านขะยูง เพื่อสักการะถวายขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ด้วยคำกล่าวภาษาบาลี


 จุดที่สอง จากนั้นจึงขึ้นเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่สรวง ณ ศาลาไม้หลังเก่าที่หลวงปู่สรวงเคยอยู่อาศัยในสมัยที่ยังมีชีวิต กิจกรรมการท่องเที่ยวจะต้องมีการเรียนรู้ไปตลอดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างสติปัญญาแก่สาธุวิหารีนักท่องเที่ยวทั้งหลาย กิจกรรมต่าง ๆ เป็นวัฒนธรรมบวกจริยธรรม ที่ควบคู่อยู่กับการแนะนำการท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับการเรียนรู้ตลอดการท่องเที่ยวที่เน้นการศึกษาหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เป็นสำคัญ

จุดที่สาม เมื่อขึ้นสู่ศาลาไม้ เดินเวียนขวาเพื่อเที่ยวชม มีวัฒนธรรมการจุดเทียนปริศนาธรรม โพลวพลือ (ทางสว่าง) หรือเรียกได้ว่าเป็น เทียนชัย โดยผู้เป็นประธานหรือตัวแทนหรือผู้หลักผู้ใหญ่ก็ได้ เป็นผู้จุดเพื่อส่องสว่างนิมิตหมายทางปัญญา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

จุดที่สี่ จุดเทียนเสร็จจึงเดินเที่ยวชมศึกษาทั้งปฏิปทา แนวคิด คำสอนของหลวงปู่สรวงที่ท่านเขียนเอาไว้ทั้งที่พระพาหาหลวงพ่อพุทธประทานพรว่า กำหนึดเจีย แปลว่า คิดดีพูดดี ทำดี หรือที่เขียน ไว้ข้างผนังว่า ออยเตียนเมียนบาน แปลว่า ให้ทานรวยได้ เป็นต้น
แล้วร่วมกันกราบไหว้ถ่ายภาพ กับอิริยาบถวิถีชีวิต โพลวพลือ (ทางสว่าง) ของหลวงปู่สรวงที่จัดแสดงเพื่อสื่อปฏิปทาของท่านได้อย่างใกล้ชิด เช่น จุดที่หลวงปู่นั่งผิงไฟ จุดบากเสาผูกเปล จุดถ่ายภาพกับสานุศิษย์ลายมือหลวงปู่ที่รวบรวมมาแต่ละพื้นที่ แล้วเวียนขวาไปจบ ณ จุดแรกที่จุดเทียน หลังการเขียนสมุดเยี่ยมชมและเขียนใบโพธิ์ขอพร อธิษฐานธรรมติดชายจีวรห้อยลงรอบเทียนชัยแล้วให้ตัวแทนดับเทียนชัยด้วยใบโพธิ์ เพราะเทียนชัยมีปริศนาธรรม เหตุผลตามคำอธิบายว่า สิ่งทั้งปวงมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ประดุจเทียนชัย ผู้ให้เห็นแจ้งชัยก็เข้าถึงความดับกิเลสสนิทไม่มีส่วนเหลือได้ ดับเทียนชัย หมายถึง ดับกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน ทุกกิจกรรมจะมีการเรียนรู้และอธิบายสร้างความเข้าใจให้ทุกอย่างรอบตัวเป็นสื่อประดิษฐ์ปริศนาธรรมทั้งหมด

จุดที่ห้า เมื่อลงจากศาลาไม้หลวงปู่สรวงแล้วได้ร่วมกันไขปริศนาธรรมของหลวงปู่สรวงที่จำลองไว้ ร่วมกันแลกเปลี่ยนถอดรหัสปริศนาธรรมเล็กน้อยเพื่อลับสติปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการคิด ชื่อว่า จินตมยปัญญา “เริ่มด้วยความสงบ จบด้วยความฉลาด”