วัดชัยมงคล

ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติวัดชัยมงคล (พอสังเขป)

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ ๓๐๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เดิมภูหงอกไก่ (พนมเซเมื่อน) เขตบ้านหนองอุดม ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานของหลวงพ่อพวง พระธุดงค์จากกัมพูชา ท่านได้มาพักจำพรรษาอยู่ที่นั้น มีญาติโยมทั้งบรรพชิตและฆราวาส ได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก เพราะหลวงพ่อพวงเป็นศิษย์หลวงปู่หงษ์ หลวงพ่อพวงท่านจำพรรษาอยู่ที่ภูหงอกไก่พร้อมลูกศิษย์

ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๑๙- ๒๕๒๐ เกิดเหตุไม่สงบตามเขตชายแดนภูเขา หลวงพ่อพวงท่านเป็นห่วงลูกศิษย์ในความไม่ปลอดภัย ทั้งภิกษุ สามเณร แม่ชี ท่านจึงได้ย้ายอพยพมาพักที่ วัดบ้านโดนเอาว์(บ้านคลองทรายในปัจจุบัน) ได้ย้ายครั้งที่ ๒ มาอยู่ในเขตสวนป่าไม้ของกรมการป่าไม้ด้านทิศตะวันตกในปัจจุบัน ข้างลำห้วยขะยู(ที่ชาวบ้านเรียกโจลลูด) และได้ย้ายครั้งที่ ๓ มาอยู่ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน มีญาติโยมชาวบ้านโดนเอาว์มาร่วมกันพัฒนา (เมื่อก่อนคือบ้านโดนเอาว์หมู่ ๔ หมู่เดียว) ปัจจุบันนี้แยกเป็น ๓ หมู่ หมู่ ๔-๑๐-๗ ได้ตั้งเป็นที่พักสงฆ์ พอหลวงพ่อพวง ท่านสึกไป ก็ยังมีลูกศิษย์ที่ปฎิบัติกรรมฐานอยู่ หลวงปู่เสียน โสปาโก หลวงตาไทย วรรณทวงค์(นุ่งขาวถึอศีล๘) และมีแม่ชีซโรน กาญจนะชาติ แม่ชีเขามา แม่ชีรอย แม่ชีกุศล เป็นต้น

วัดชัยมงคล มีการประพฤติปฏิบัติธรรมกรรมฐาน โดยมีพ่อจารย์พวง สายสมุทร ที่ท่านเคยเป็นครูบาอาจารย์หลวงปู่เสียน แต่พ่อจารย์พวงก็ยังไปมาหาสู่วัดชัยมงคล – บ้านทุ่งเลน ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เพราะมีลูกศิษย์ปฏิบัติกรรมฐานอยู่เช่นหลวงปู่เสียน โสปาโก

          ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ ท่านพระครูมงคลชัยสิทธิ์ (หลวงปู่เสียน โสปาโก) ได้มาอยู่จำพรรษา เรียกว่า วัดป่าโดนเอาว์ ที่ชาวบ้านเรียกกันตลอดมา ผู้ทำเรืองขอสร้างวัด คือคุณพ่อบุญช่วย ทนงค์ คุณพ่อบุญมี ขมหวาน

          ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ท่านพระครูมงคลชัยสิทธิ์ (หลวงปู่เสียน โสปาโก) ท่านได้ซื้อที่ดินเพิ่มจากนายจาค บ้านกะมอล จำนวน ๑๐ ไร่  ราคา ๒๖,๐๐๐ บาท ด้านทิศตะวันออก ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัดและสร้างอุโบสถ อีกทั้งยังมีคุณพ่อพรหมา วันเจริญ (ผู้ใหญ่บ้านขณะนั้น) ถวายที่ดินเพิ่มอีกทางทิศเหนือ มีคุณแม่สมุทร แย้มทรัพย์ ถวายเพิ่มทางทิศตะวันตก และคุณแม่มิ้น ทองแกะ ถวายเพิ่มอีกทางทิศตะวันออก

          ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ได้วางศิลาฤกษ์อุโบสถ

          ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ทำเรื่องขอสร้างวัด โดยคุณพ่อบุญช่วย ทนงค์ คุณพ่อบุญมี ขมหวาน พร้อมญาติโยมชาวบ้านโดนเอาว์ หมู่ที่ ๔-๑๐ จึงได้ชื่อวัดจากวัดป่าโดนเอาว์มาเป็นวัดชัยมงคลจนถึงปัจจุบันนี้

           วัดชัยมงคล ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๑๕ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

ภาพในอดีตวัดชัยมงคล

การบริหารและการปกครอง

๑.พระครูมงคลชัยสิทธิ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน

พระครูมงคลชัยสิทธิ เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล

พิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศและผ้าไตร ณ วัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติพระครูมงคลชัยสิทธิ

สมณศักดิ์ที่รับพระราชทาน

– ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘  ชั้นสมณศักดิ์  จร.ชท. ราชทินนาม พระมงคลชัยสิทธิ พัดยศ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ลำดับชั้นโท                  

ประวัติเดิมก่อนอุปสมบท

ชื่อ (เดิม)  เสียน นามสกุล (เดิม) นวนไชย  ชื่อเล่น  เสียน             

เกิด  ๑๖  ตุลาคม  ๒๔๖๖   เชื้อชาติ  ไทย  สัญชาติ  ไทย       

บิดา  นายอุด  นวนไชย   มารดา  นางสด  นวนไชย                          

ภูมิลำเนาเดิม

ที่อยู่เลขที่  ๑  หมู่ที่  ๓  ตำบลชำ  อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ           

การอุปสมบท

อุปสมบท  ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒  วัดศิริวราวาส                                  

  • พระอุปัชฌาย์  พระครูกันทรลักษณ์บรรหาร วัดศิริวราวาส   
  • พระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการบุญเรน
  • พระอนุสาวนาจารย์  เจ้าอธิการสมาน กทฺทโก

วิทยฐานะทางการศึกษา

  • ปีการศึกษา  ๒๕๕๓   สอบได้นักธรรมตรี   สำนักเรียนคณะจังหวัดศรีสะเกษ  วัดบ้านสมบูรณ์           
  • จบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านรุง ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  

ตำแหน่ง

๑๕  ธันวาคม  ๒๕๕๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล  ลำดับชั้นโท วัดชัยมงคล  ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ      

อาคารเสนาสนะ

  • อุโบสถ กว้าง  ๖  เมตร  ยาว ๑๖ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๓ หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ จำนวน ๓ หลัง
  • ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๔ เมตร  ยาว ๑๘ เมตร อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้

หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง  หอกลอง  จำนวน ๑ หลัง 

โรงครัว  จำนวน ๑ หลัง  เรือนเก็บพัสดุ จำนวน ๑ หลัง 

ปูชนียวัตถุ

               – พระประธานประจำอุโบสถ ปางสดุ้งมาร

ขนาดหน้าตัก กว้าง ๓๗ นิ้ว สูง  ๕๕  นิ้ว  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗

               – พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ

ขนาดหน้าตัก กว้าง  ๒๘ นิ้ว สูง  ๕๐  นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗