ประวัติวัดประทุมเมฆ

๓.ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งวัด

วัดประทุมเมฆ แต่ก่อนเป็นที่ราบลุ่มทุ่งนามีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น โดยเฉพาะต้นมะขามใหญ่ขึ้นสลับกับไม้ยืนต้นนาๆ พันธุ์ มีสระน้ำใหญ่คู่กัน เป็น แหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของคนในชุมชนทิศตะวัตกของวัดในสมัยนั้น วัดประทุมเมฆตั้งอยู่ยอกกำแพงเมืองชั้นนอก มีลำคลองที่ขุดขึ้นเป็นกำแพงเมืองชั้นนอกตัดผ่านหน้าวัด ดังนั่นชุมชนทิศตะวันตกของวัดสร้างสะพานไม้ข้ามคลองที่น้ำไหลตลอดทั้งปีมาวัดและหาบน้ำจากสระน้ำทั้งคู่ของวัดไปใช้ ในการสร้างวัดชาวบ้านในชุมชนทิศตะวันตกก็ร่วมด้วยช่วยกันสร้างศาลาหลังเล็ก ๆ สลักด้วยไม้ เพื่อประกอบกิจทางศาสนาใกล้ๆต้นโพธิ์ใหญ่ในปัจจุบันด้วยความสามารถของเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้สร้างโบสถ์ไม้ทั้งหลังขึ้น เพื่อประดิษฐ์สถานพระประธานในอุโบสถและทำสังฆกรรมของหมู่สงฆ์ในวัด

วัดประทุมเมฆ ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๔ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดทุมเมฆ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร การบริหารการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม มีด้วยกันทั้ง ๑๐ รูป

๔.รายนามเจ้าอาวาส นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและช่วงปีที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พร้อมทั้งประวัติของท่านเจ้าอาวาส

การบริหารและการปกครอง โดยมีเจ้าอาวาสปกครองตามลำดับ ดังนี้

  1. พระต้น พุทธศักราช ๒๔๓๒ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๖๐
  2. พระคำ  พุทธศักราช ๒๔๖๐ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๖๖
  3. พระเจียว พุทธศักราช ๒๔๖๖ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๖๗
  4. พระเมียะ พุทธศักราช ๒๔๖๗ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓
  5. พระพวน  พุทธศักราช ๒๔๘๓ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๘๖
  6. พระทิม  พุทธศักราช ๒๔๘๖ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙
  7. พระล้อม พุทธศักราช ๒๔๘๙ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
  8. พระครูพัชรคุณาธาร (หลวงพ่อเพชร สุปญฺโญ) พุทธศักราช ๒๔๒๙ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑
  9. พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) พุทธศักราช ๒๔๓๒ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๖๐
  10. พระครูปทุมสังฆการ (สุพรรณ ฐิตปญฺโญ) ดร. พุทธศักราช ๒๕๔๐-ปัจจุบัน

ความสำคัญของวัดประทุมเมฆ

ด้านการศึกษา วัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ความรู้ แม้ในปัจจุบัน พระสงฆ์ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน

ด้านสังคม วัดเป็นศุนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมนุม เพื่อทำบุญฟังธรรมเทศนาตลอดจนการพบปะสังสรรค์ พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน

ด้านศิลปกรรม วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปะประเภทต่างๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้นศิลปกรรมอกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่างๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

เจ้าของประวัติ …พระครูปทุมสังฆการ ดร. (สุพรรณ ฐิตปญฺโญ)….. วันที่ให้ถ้อยคำ. ๑๑…/..๗…/…๒๕๖๓…