ตำบลค้อน้อย อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

ทางเข้า

อุโบสถ

สำนักงานเจ้าอาวาส (กุฏิเจ้าอาวาส)

หอพักปฏิบัติธรรม

ศาลาการเปรียญ

ศาลาพักผ่อน

กุฏิสงฆ์

พระพุทธรูปลานธรรม

หอระฆัง

หอฉัน

เขตณาปนสถาน

ห้องสุขา

พระพุทธเมตาอังศีรัสสะโลกนาก

หอสวรรค์

พระพุทธรูป

ศาลาสำนักเจ้าแม่ระฆังทอง

ฤาษี

มณฑปพระครูโสภิตประภากร

ประวัติหลวงพ่อโสภิตประภากรโดยสังเขป

หลวงพ่อโสภิตประภากร นามเดิมชื่อผิน นามสกุลสายพันธ์ เกิดปีเถาะ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๐ ที่บ้านเลขที่ ๓ หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาชื่อนายบุญทันและมารดาชื่อนางลี สายพันธ์ มีพี่น้อง ๖ คน โดย

  • ๑. พระครูโสภิตประภากร
  • ๒. นายสิน สายพันธ์
  • ๓. นายถิน สายพันธ์
  • ๔. นายคำสิงห์ สายพันธ์
  • ๕. นางแจ่มจันทร์ บุญโสภา
  • ๖. นายสมิง สายพันธ์

การศึกษาและงานด้านการศึกษา

  • พ.ศ. ๒๔๘๔ สำเร็จการศึกชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านโพนงาม ต.หนองบ่อ ต.เมือง จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นครูปฏิยัติธรรม สำนักวัดดงบัง ต.หนองไฮ อ.สำโรง อ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักวัดศรีนวล ต.หนองไฮ จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นครูสอนปฏิยัติธรรม สำนักวัดศรีนวล ต.หนองไฮ จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นครูปฏิยัติธรรม สำนักวัดโนนสูงสุทธาวาส ต.ค้อน้อย อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นเจ้าสำนักวัดโนนสูงสุทธาวาส ต.ค้อน้อย อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นกรรมการศึกษาและอุปการะโรงเรียนสำโรงน้อย
  • พ.ศ. ๒๕๐๗ จัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นที่วัดโนนสูง

การอุปสมบท

อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๐ ปี เมื่อวันที่ ๑ เดือนสงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ วัดโพนงาม ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอุปัชฌาย์เคน คัมภีรปัญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์

ด้านการปกครอง

  • พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดโนนสูงสุทธาวาส ต.ค้อน้อย อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลค้อน้อย อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลค้อน้อย อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี

งานด้านสาธารณปการ

พระเดชหลวงปู่ได้ริเริ่มพัฒนาโดยเริ่มตั้งแต่ก่อตั้งวัดได้นำพาชาวบ้าน และญาติโยมที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านใกล้เคียง ในสมัยนั้นการก่อสร้างวัดอาจเป็นได้ด้วยความลำบากเพราะสถานที่ตั้งวัดอยู่ในที่ธุระกัยดารและมีชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ไม่มากนัก ในสมัยนั้นยังมีไม่กี่ครอบครัวแต่ในที่สุดก็สามารถก่อตั้งวัดได้และเจริญขึ้นตามลำดับ ด้วยความร่วมแรวร่วมใจของญาติโยมและการนำของหลวงปู่ และเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างที่หลวงปู่ได้นำพาญาติโยมสร้างขึ้นมีดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างศาลาการเปรียญ
  • พ.ศ.๒๕๑๙ สร้างศาลาหอฉัน
  • พ.ศ.๒๕๒๓สร้างอุโบสถ
  • พ.ศ. ๒๕๑๐ ก่อสร้างกำแพงวัด
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างซุ้มประตูเข้าวัด
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ ก่อสร้างหอระฆัง
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ สร้างถังเก็บน้ำฝน
  • พ.ศ.๒๕๓๔ สร้างโรงครัว
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ ก่อสร้างห้องน้ำ
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ ก่อสร้างถังเก็บน้ำ
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม
  • พ.ศ. ๒๕๑๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างกุฏิทั้งหมด ๑๐ หลัง ประจำวัดโนนสูงสุทธาวาส

และการงานด้านก่อสร้างเพื่อเป็นสาธาณะประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมิอาจพรรณนาได้ครบถ้วน

การบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์

ตลอดชีวิตได้ร่มผ้ากาสาวพัสดุ์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่นั้นได้บำเพ็ญประโยชน์นานับประการซึ่งมิอาจนับประการซึ่งพอที่จะรวบรวมได้ดังนี้

๑. ได้นำพาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้าน มีการทำป้ายบ้านล้อมรั้วบ้านและทำความสะอาดทั่วไป

๒. ได้นำพาเยาวชนซ่อมแซมถนนในหมู่บ้าน ตลอดจนเชื่อมถึงหมู่บ้านอื่น

๓. บริจาคทรัพย์ส่วนตัวตั้งกองทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา

๔.ได้นำพาชาวศ่อมแซมสะพานที่ชำรุดใช้การไม่ได้ ซึ่งเป็นสัญจรติดต่อสายสำคัญของตำบลค้อน้อยจนใช้การได้

๕. มีการพัฒนาวัด ทำป้าย ทำซุ้มประตูวัด ถนนภายในวัด รักษาความสะอาดวัดดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด ค่าใช้จ่ายของวัดและสวัสดิการแก่พระพิกษุสามเณรตามสมควร

๖. เป็นประธานจัดตั้งกองทุนสงเคราห์สงฆ์อาพาธ และมรณภาพ

พระครูโสภิตสุทธิคุณ อกิญฺจโน ( เจ้าอาวาสคนปัจจุบันและรองเจ้าคณะตำบล )