โบราณวัตถุมีความสำคัญ

ผู้ที่มีจิตรศรัทธา ได้นำมาถวาย ณ วัดวารีวัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘

รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน

รูปที่ ๑ ชื่อ พระอธิการตุม เตชวโร ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๙(วัดเตอัมพวัน)

รูปที่ ๒ ชื่อ หลวงพ่อชิด โชติธมฺโม พ.ศ. ๒๕๓๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ (วัดเตอัมพวัน)

รูปที่ ๓ ชื่อ พระครูโสภิตกิตยารักษ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ.๒๕๖๒(วัดวารีวัน)

รูปที่ ๔ ชื่อ พระครูโสภิตกิตยารักษ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึงปัจจุบัน

เกียรติประวัติวัด

เกียรติประวัติเจ้าอาวาส(โดยสังเขป)ของแต่ละรูป

รูปที่๑ พระอธิการตุม เตชวโร ได้สร้างศาลาการเปรียญหนึ่งหลัง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖

รูปที่ ๒ –

รูปที่ ๓ พระครูโสภิตกิตยารักษ์ ได้สร้างพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙

ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ

เป็นพื้นที่ชุมชนและอยู่ห่างหมู่บ้านประมาณ ๒๐๐ เมตร

ประวัติความเป็นมา

ตามที่กรมป่าไม้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ออกหนังสืออนุญาต ให้เช่าทำประโยชน์หรืออาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เล่มที่ ๒๐๐ ฉบับที่ ๑๕ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยให้กรมการศาสนา เช่นทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งมน – ป่าบักได – และป่าตาเบา แปลงที่ ๒ ท้องที่ตำบลจีกแดก อำเภอ กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เนื้อที่ ๘ – ๓- ๙๕ ไร่ เพื่อสร้างวัดเตอัมพวัน(บ้านวารี) อาศัยตามข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (๒๕๐๗) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ได้ให้เปลี่ยนชื่อวัดให้คล้องจองกับหมู่บ้าน เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศแต่งตั้งวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดวารี” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงปัจจุบัน

อาคารเสนาสนะต่างๆ(อธิบายลักษณะของอาคารและภาพประกอบด้วย)

อุโบสถ

ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ