ตําบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

พระพุทธรูป ๓ องค์

พระพุทธรูปเก่าแก่ประจำวัดบ้านดู่

มณพปพระพุทธรูป ๓ องค์

  ประวัติบ้านดู่

    บ้านดู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ต.ขุนหาญ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้จัดตั้งวัดขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๓๘ และได้รับการโปรดเกล้าพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๗

ความหมายชื่อหมู่บ้านซึ่งมีต้นประดู่มากมายมีประวัติของชื่อหมู่บ้านดังนี้

บ้านดู่ก่อตั้งมาประมาณ ๒๐๐ ปี ความเป็นมาของบ้านดู่นั้น เดิมทีชาวบ้านมาอาศัยอยู่ ตอนเเรก ๆ ไม่เป็นหมู่บ้านเเต่ต่อมามีบุคคลมาอาศัยเพิ่มมากขึ้นจึงได้ตกลงกันตั้งหมู่บ้านขึ้นเรียกว่า บ้านดู่ เนื่องจากสภาพในพื้นที่นั้นมีต้นประดู่ขนาดใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ จึงได้ตกลงกันตั้งชื่อหมู่บ้านเรียกว่าบ้านดู่ จนถึงปัจจุบัน

ดังนั้นวัดจึงจัดตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหมู่บ้านเหมือนกันเรียกว่า วัดบ้านดู่ โดยมีอันญาบุญจันทร์เป็นผู้ตั้งหมู่บ้าน อันญาบุญจันทร์นี้ได้อพยพมาจากประเทศลาว เเละได้เห็นสภาพภูมิประเทศของบริเวณนี้เหมาะสำหรับการก่อตั้งหมู่บ้านประกอบกับพื้นที่มีต้นประดู่มากมายท่านอันญาบุญจันทร์จึงได้ร่วมมือกับเพื่อนคือเฒ่าหารโดยมีอันญาบุญจันทร์เป็นผู้นำคนเเรก

  • โรงเรียนบ้านดู่ ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓
ซุ้มประตูวัด
อุโบสถ
ศาลาการเปรียญ
ศาลาการเปรียญหลังเก่า

วัดบ้านดู่มีเนื้อที่วัด ๒๐ ไร่  ๒ งาน  ๓๗  ตารางวา

อาณาเขตพื้นที่ของวัด

?ทิศเหนือ – จรดกับที่ นายดวน  อาจภักดี

?ทิศใต้ – จรดกับที่ นายวัน   ภายอุ้ม

?ทิศตะวันออก – จรดกับ โรงเรียนบ้านดู่

?ทิศตะวันตก – จรดกับที่ นายพงษ์   ศิลาชัย

พระครูสถิตธรรมาภิมณฑ์ คำทูล  ฐานธมฺโม (พวงมะลิ)

ดำรงค์ตำเเหน่ง เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เเละเป็นพระอุปัชฌาย์

เป็นเจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์ เจ้าคณะตำบลขุนหาญ

การบริหารงานคณะสงฆ์

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดบ้านดู่ (อดีตจนถึงนับปัจจุบัน)

๑. พระบุญทัน    อุปนนฺโท (หลวงพ่อบุญทัน)

๒. พระเเย้ม    กิตติสทฺโท

๓. พระหวา    ฐานิโย

๔. พระสมยศ    อธิปุญโญ

๕. พระมิตร   ธมฺมทินฺโน

๖. พระสวรณ์    ปณฺฑิโต

๗. พระหย่อน    ผาสุโก

๘. พระอธิการพล    เตชธมฺโม

๙. พระครูสถิตธรรมาภิมณฑ์ (คำทูล  ฐานธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดบ้านดู่ รูปปัจจุบัน

อาคารเสนาสนะ

  • อุโบสถ
  • หอระฆัง
  • ศาลาการเปรียญหลังเก่า
  • ที่เก็บของ
  • โรงเก็บไม้
  • กุฏิสงฆ์
  • ศาลาการเปรียญ
  • กุฏิประชาสามัคคี
  • กุฏิเจ้าอาวาส
  • ศาลาธรรมสังเวช
  • เมรุ
  • ศาลาอเนกประสงค์
  • โรงครัว/หอฉัน
  • ห้องสุขา
โรงครัว/หอฉัน
กุฏิเจ้าอาวาส
ด้านข้างศาลาการเปรียญ
กุฏิเจ้าอาวาส
กุฏิประชาสามัคคี
กุฏิสงฆ์
หอระฆัง
ศาลาธรรมสังเวช
เมรุ
กุฏิสงฆ์
ซุ้มประตูวัด
ริมสระน้ำภายในวัด