ข่าวประชาสัมพันธ์
เรียนเชิญร่วมบุญสร้างซุ้มประตูใหญ่วัดพรหมสุรินทร์
พิธีทอดกฐินสามัคคี วัดพรหมสุรินทร์ 29-9-64 คลิ๊กเพื่ออ่าน
โครงการพัฒนาปรับปรุงบริบทของวัดพรหมสุรินทร์
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระประธานในอุโบสถวัดพรหมสุรินทร์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๕ นิ้วสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ลักษณะแบบสมัยโบราณ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเรียบ รอบฐานมีจารึกอักษรขอม ๑ บรรทัด พระพักตร์เป็นสี่หลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุน พระรัศมีเป็นรูปดอกบัว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาว ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวปลายตัดตรง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน พระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่กึ่งกลางพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิมงคลพรหมสุรินทร์

ความเป็นมาของวัด
ประวัติความเป็นมาของวัดโดยละเอียด วัดพรหมสุรินทร์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวัดหนึ่งของเมืองสุรินทร์ สร้างประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ปี มาแล้ว ชื่อเดิม ชื่อวัดทักษิณณรงค์ คนแก่อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป ที่อยู่ในตัวเมืองหรือนอกเมืองไกลออกไป เมื่อพูดถึงวัดพรหมสุรินทร์ ก็ไม่ค่อยรู้จักพอบอกว่าวัดทักษิณณรงค์ก็ว่าอ๋อรู้จักดี เป็นวัดที่มีกำแพงเมืองเก่าอยู่ด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และสวยงามอยู่ในอุโบสถเป็นคำบอกเล่าของคนแก่โบราณ อนึ่ง ในระยะเวลาที่ท่านพระครูบวรวิชาญาณ ดำรงตำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์นั้นเป็นท่านได้พิจารณาเป็นว่าสถานที่ตั้งวัดยังคับแคบไม่สะดวกและไม่เพียงพอต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านถาวรวัตถุและด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณร จึงได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวซื้อที่ดินเพิ่มอีกจำนวน ๓ แปลง และเสียสละที่ดินส่วนตัวอีกจำนวน ๑ แปลง นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เสียสละและได้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนาอย่างมากมาย

อุโบสถวัดพรหมสุรินทร์
- วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๒ โดยพลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน วางศิลาฤกษ์อุโบสถ
- พ.ศ. ๒๕๑๗ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีประธานยกช้อฟ้าอุโบสถ
วันที่ ๒๒ พฤษศจิกายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๖.๑๕ น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เสด็จแทนพระองค์ทรงตัดหวายลูกนิมิต

ลำดับและประดับเจ้าอาวาส (ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน)
๑. พระวังแก ไม่ทราบฉายา พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๕๐
๒.พระเมียด ไม่ทราบฉายา พ.ศ. ๒๓๕๑ – ๒๓๗๑
๓. พระปาน ไม่ทราบฉายา พ.ศ. ๒๓๗๒ – ๒๓๘๗
๔. พระเศือน ไม่ทราบฉายา พ.ศ. ๒๓๘๘ – ๒๔๑๕
๕. พระสอน ไม่ทราบฉายา พ.ศ. ๒๔๑๖ – ๒๔๕๔
๕. หลวงพ่อผิว ไม่ทราบฉายา พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๖๐
๗. หลวงพ่อฤทธิ์ (พระครูวิมลศีลพรต สังฆวาหะ) พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๔๙๙

หลวงพ่อฤทธิ์ เห็นว่าสถานที่ตั้งวัดทักษิณณรงค์เป็นที่คับแคบ จึงคิดหาที่สร้างวัดใหม่ มีคหบดีท่านหนึ่งชื่อ ตางัม ยายสวน ซึ่งเป็นต้นตระกูล ชูโฉมงาม เป็นผู้มีจิตศรัทธาได้มอบถวายที่ดินหนึ่งแปลง ที่ตั้งวัดพรหมสุรินทร์ปัจจุบัน
๘. พระครูบวรวิขาญาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๒๕
๙. พระราชสุตาลังการ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ปัจจุบัน
พระราชสุตาลังการ (ฉัตต์ สจฺจวโร)
ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์และ เจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
พระราชสุตาลังการ ฉายา สจฺจวโร อายุ ๘๔ พรรษา ๖๔ วิทยฐานะ นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม ๔ ประโยค รัฐประศาสนศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วัดพรหมสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ๑. เจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
๒. ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
