วัดศาลาเย็น เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นครั้งแรกบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือป่าช้าตากแดด ในปัจจุบัน หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า โช๊ะโชย โช๊ะ แปลว่าโคก – หรือเนิน โชย แปลว่า ต้นประดู่ ก่อนจะมาสร้างวัดก็มีการตั้งหมู่บ้านขึ้นทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านตากแดดในปัจจุบัน ที่ชาวบ้านยังเรียก ติดปากว่า โช๊ะตี โช๊ะ แปลว่า หมู่บ้าน ตึ แปลว่า เก่า (หมู่บ้านเก่า) ในระหว่างการสร้างวัด มีขบวนช้างเดินทางไปคล้องช้างป่าที่ประเทศกัมพูชาได้หยุดพักไปพูดคุยกับชาวบ้านที่กำลังสร้างวัด ควาญช้างพูดกับ ชาวบ้านว่าสร้างวัดใกล้จะเสร็จมีพระมาจำพรรษาแล้วหรือยัง ชาวบ้านตอบว่า “ยัง” ควาญช้างจึงแนะนำให้ ชาวบ้านไปนิมนต์พระที่วัดบ้านตากลาง เนื่องจากมีพระอยู่ที่วัดหลายรูป เมื่อสร้างวัดเสร็จชาวบ้านจึงไปนิมนต์ พระที่วัดบ้านกลาง มาตามคำแนะนำของควาญช้าง เมื่อไปถึงบ้านตากลางก็เย็นมากแล้ว จึงเข้าวัดไปกราบนมัสการเจ้าอาวาส บอกถึงวัตถุประสงค์ของการมา เมื่อพูดคุยเข้าใจเจ้าอาวาสก็อนุญาตให้พระมาจำพรรษา ในวันรุ่งขึ้นทางวัดจึงจัดหาขบวนช้างเป็นพาหนะให้พระเดินทางมาที่บ้านตากแดด เมื่อพระฉันภัตตาหารเช้าเสร็จก็ออกเดินทางเรื่อยมา เมื่อถึงวัดบ้านตากแดดเป็นใกล้เที่ยง วันนั้นอากาศร้อนมาก เพราะเป็นช่วงเดือน ๕ เมื่อมาถึงวัดตากแดด พระรูปนั้นก็มองดูวัด มองไปรอบบริเวณวัดก็ตกใจ เพราะไม่มีต้นไม้เหลืออยู่เลย เห็นแต่วัดหลังเล็กไม่มีที่พัก พระรูปนั้นพูดกับชาวบ้านว่า “ให้อาตมามาตากแดด อาตมาจะให้ชื่อวัดนี้ว่า “วัดตากแดด” ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดบ้านตากแดด” ตามคำพูดของพระรูปนั้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากนั้นวัดบ้านตากแดดก็มีพัฒนาและเจริญมาตามลำดับ แต่ที่ต้องย้ายวัดมาสร้างที่แห่งใหม่ เนื่องจากโรคระบาดเป็นเหตุให้ชาวบ้านและพระในวัดล้มป่วยและตายเป็นจำนวนมาก เพราะในอดีตยังไม่มียารักษาโรค ดังนั้นเมื่อเกิดโรคระบาดก็ทิ้งถิ่นฐานไปหาที่ตั้งใหม่โดย กลุ่มที่ ๑ ย้ายไปตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ทางทิศตะวันตกมีหนองน้ำ ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “โกลงอาหราย” “โกลง” แปลว่า “หนองน้ำ” เหมือนแอ่งกระทะ “อาหราย” แปลว่า
“ต้นหวาย” คือรอบหนองน้ำมีต้นหวายจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหวาย” ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นหมู่บ้านอาไรมาถึงทุกปัจจุบัน กลุ่มที่ ๒ ย้ายมาตั้งหมู่บ้านทางทิศตะวันออก บริเวณคุ้มกลางเหนือและคุ้มกลางใต้ในปัจจุบัน จากนั้นมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ โดยมี หลวงปู่สา ซึ่งเป็นทวดของพระครู ประสุตธรรมธาดาเป็นเจ้าอาวาส รูปที่ ๒
หลวงปู่สา ท่านเป็นผู้นำชาวบ้านในการสร้างวัด เมื่อสร้างวัดเสร็จชาวบ้านได้นิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสจากนั้นวัดบ้านตากแดดก็เจริญรุ่งเรือง ก่อนที่หลวงปู่สาท่าลาสิกขาบทได้ปลูกต้นโพธิ์เป็นอนุสรณ์ ๒ ต้น ต้นโพธิ์คู่นั้นก็เจริญเติบโตมาตามลำดับ จนเป็นต้นโพธิ์คู่บ้านตากแดดมาถึงปัจจุบัน เมื่อท่านลาสิขาบทชาวบ้านจึงไปนิมนต์พระอาจารย์แก้ว วัดบ้านสวาย ตำบลแตล มาเป็นเจ้าอาวาส พระอาจารย์แก้ว ท่านเห็นว่าบริเวณต้นโพธิ์ที่ดินคับแคบ จึงหาที่สร้างวัดขึ้นใหม่ ต่อมามีชาวบ้านบริจาคที่ดินบริเวณวัดศาลาเย็นในปัจจุบัน จึงย้ายวัดมาสร้างที่แห่งใหม่ ในขณะที่กำลังสร้างวัดยังไม่เสร็จพระอาจารย์แก้วก็ลาสิกขาบท ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอาจารย์จิตซึ่งเป็นตาของพระครูประสุตธรรมธาดา เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๕
ระหว่างที่ท่านพระอาจารย์จิตเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้สร้างวัดต่อเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสร้างวัดเสร็จ ก็สร้างศาลาการเปรียญต่อ เมื่อท่านลาสิกาบทชาวบ้านจึงนิมนต์พระอาจารย์เพิ๊ดเป็นเจ้าอาวาส เมื่ออาจารย์เพิ๊ด ลาสิขาบทชาวบ้านให้นิมนต์พระอาจารย์ดาวมาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อพระอาจารย์ดาวลาสิกาบทชาวบ้านไปนิมนต์พระอาจารย์เภาว์ (เปา) จากบ้านกันตรงมาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อพระอาจารย์เภาว์ลาสิกาบทชาวบ้านนิมนต์พระอาจารย์แสง ซึ่งเป็นชาวกัมพูชามาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อประอาจารย์แสงกลับประเทศกัมพูชา ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอาจารย์ปัด ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของพระครูประสุตธรรมธาดา เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐
เมื่อพระอาจารย์ปัดเป็นเจ้าอาวาสท่านเห็นว่าสถานที่สร้างวัดในปัจจุบันมีบริเวณคับแคบ อยู่ติดกับหมู่บ้านและมีทางเกวียนล้อมรอบ ไม่สามารถขยายได้จึงหาสถานที่สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้อยู่ทางทิศตะวันออกของวัดศาลาเย็น เมื่อได้สถานที่จึงย้ายวัดมาสร้างบนที่ดินดีงกล่าว ในปัจจุบันชาวบ้านเรียกติดปากว่า
“วัดร้าง” จากนั้นพระอาจารย์ปัดได้นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้นใหม่ ในขณะที่สร้างวัดยังไม่เสร็จพระอาจารย์ก็ลาสิกขาบท ชาวบ้านจึงนิมนต์พระอาจารย์สา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของพระครูประสุตธรรมธาดาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๒
เมื่อท่านอาจารย์สาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้สร้าววัดต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาท่านได้สร้างศาลาการเปรียญและอุโบสถในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ จนสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พร้อมทั้งมีการเฉลิมฉลองในปีเดียวกัน ในช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสท่านเห็นว่าชื่อวัดบ้านตากแดดฟังดูแล้วมันร้อน จึงเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดศาลาเย็น” มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อท่านลาสิกาบทชาวบ้านได้นิมนต์พระอาจารย์ปัด พระอาจารย์คูณ พระอาจารย์สมเกียรติ หลวงพ่อพัน หลวงพ่อชอมเป็นเจ้าอาวาสตามลำดับ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ชาวบ้าน จึงได้นิมนต์พระครูประสุตธรรมธาดามาเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน