ตำบลค้อน้อย อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี



ประวัติวัดคำสว่าง
กาลครั้งหนึ่งนามมาแล้ว…..ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๒ มีพ่อใหญ่คนหนึ่งนามท่านว่า นายคูณ คํานาโฮม ได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของสถานที่บ้านคําสว่าง(ปัจจุบัน) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านมีแหล่งน้ำสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียกว่าหนองกินเพล เพราะผู้คนสัญจรไปมาก็พักผ่อนกินข้าวกันที่นั่นเป็นส่วนใหญ่ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีบ่อน้ําขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกกันว่า “บ่อน้ําคํา” เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗ ชาวบ้านได้ขุดเพิ่มเติมเพื่อให้มีน้ําพอกินพอใช้เป็นที่มาของชื่อ บ้านคําสว่าง ชาวบ้านได้เลือกตั้งนายสวน ขุนโทนิล เป็นผู้ใหญ่บ้าน ๓ ปี ก็ลาออก เนื่องจากมีปัญหาครอบครัว คนที่๒ นายด้วง ทาดาวงษา ก็ได้ลาออก เพราะย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อําเภอน้ํายืน ต่อมาได้เลือกตั้งคนที่ ๓ คือ นายชู มณีสังข์ อยู่ครบวาระ คนที่ ๔ นายเทียม วารี คนที่ ๕ นายสมนึก มณีสังข์ และคนที่ ๖ นายเทียม วารี ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
ประวัติพระครูโสภิตสุวรรณากร ( บุญชู ธมฺมิโก น.ธ.เอก )
เจ้าอาวาสวัดคำสว่างรูปปัจุบัน
สถานะเดิม
ชื่อ บุญชู ชื่นใจ เกิดวันที่ ๑๘ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ปีมะเมีย บ้านเลขที่ ๗๒ หมู่ ๙ ตําบลโคกก่อง อําเภอสําโรง จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท วันที่ ๑๙ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยมีพระครูโสภิตประภากร วัดโนนสูงสุทธาวาส ตําบลค้อน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเก๋ง กมโล (ปัจจุบันเป็นพระครูกมลธรรมโชติ เจ้าคณะตําบลค้อน้อย) วัดโนนหล่อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระจูม กุสโล วัดโนนสูง สุทธาวาส (ปัจจุบันเป็นพระครูโกลวิหารคุณ รองเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม(ป่าน้อย) อําเภอเมืองอุบลราชธานี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๕๑๙ สําเร็จวิชาสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านสระสมิง ตําบลสระสมิง อําเภอวารินชําราบ
จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๐ สอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสํานักศาสนศึกษาวัดโนนสูง
งานการปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดคําสว่าง
ตําบลค้อน้อย อําเภอสําโรง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคําสว่าง ตําบลค้อน้อย อําเภอสําโรง จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ที่ พระครูโสภิตสุวรรณากร(จร.ชท.)
จํานวนพระภิกษุสามเณรจําพรรษา
พ.ศ.๒๕๕๐ มีพระภิกษุจําพรรษา ๕ รูป สามเณร ๓ รูป รวม ๘ รูป
พ.ศ.๒๕๕๑ มีพระภิกษุจําพรรษา ๖ รูป สามเณร ๒ รูป รวม ๘ รูป
พ.ศ.๒๕๕๒ มีพระภิกษุจําพรรษา ๕ รูป สามเณร ๔ รูป รวม ๙ รูป
ได้มีการทําวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น “มีตลอดปี”
งานการเผยแผ่
๑.ได้มีการจัดพิธีในวันสําคัญ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันธัมมัสสวนะอื่นๆ
๒.อบรมพระภิกษุสามเณร เกี่ยวกับพระธรรมวินัย เรื่องการ สวดมนต์ เพื่อให้ถูกต้องตามเสียง ทีฆะ รัสสะ และศาสนพิธี ๒ ครั้ง ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย
๓.อบรมการนั่งสมาธิภาวนา หลังจากทําวัตรเช้า-เย็น ทุกครั้ง
๔.อบรมอุบาสก-อุบาสิกา เป็นประจําทุกวันธัมมัสสวนะ มีการ
แสดงพระธรรมเทศนาหรือบรรยายธรรมทุกครั้ง
๕. ได้อบรมนักเรียนตามโรงเรียนที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเป็น พิเศษ เช่น วันไหว้ครู วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ เป็นต้น
๖. จัดการอบรมค่ายพุทธบุตรสําหรับเยาวชนตลอดจนคนเฒ่า
คนแก่อย่างน้อย ๓ วัน
๗. จัดการอบรมสามเณรภาคฤดูร้อนอย่างน้อย ๒๐ วัน ปีเว้นปี
๘. ส่งพระวิทยากรจิตอาสาในวัด อบรมศีลธรรมนักเรียนนอกสถานที่เป็นประจํา