ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

หลวงพ่อลาภัคโคโอฬารลาภ อายุกว่า 100 ปี

ประวัติวัดกวยวนาราม

สืบเนื่องจากท่านพระอาจารย์ ดร.สมุทร ถาวรธมฺโม/ทาทอง หรือ พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม เมื่อครั้งยังเป็นสามเณรน้อยอายุ 12 ปี ได้บวชอยู่ที่วัดวานรนิวาสราษฎร์สามัคคี บ้านอาวอก มีพระอธิการนิรันดร์ กนฺตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส สมัยนั้น (ได้เดินทางไปบวชที่วัดโพธาราม เมื่อปี 2518 มีพระครูสังขบุรารักษ์ (ประณต) เป็นพระอุปัชฌาย์)

จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่วัด มูลจินดาราม จ.ปทุมธานี ในช่วงปี พ.ศ. 2522 โดยมีพระอาจารย์โกสุม ติกขวีโร แต้มทอง ที่จําพรรษาอยู่ที่นั้น (ต่อมาท่านย้ายกลับมาอยู่วัดโพธาราม ได้เลื่อนเป็นพระครูพิทักษ์สังฆกิจ เจ้าคณะอําเภอสังขะ) และสอบได้นักธรรมชั้นโทและชั้นเอกขณะเป็นสามเณร

จากนั้นหลวงตา สมพงษ์ สิริสมปนโน วัดมูลจินดาราม ได้นําไปฝากไว้กับพระมหามิ่ง ภูริทตฺโต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กรุงเทพมหานคร (ต่อได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระอมรเมธาจารย์ ป.ธ.9) คณะสลัก 3 เมื่อปี 2525 แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสัมพันธวงศึกษา ศึกษาต่อที่มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ สําเร็จการศึกษาระดับพุทธศาสตรบัณฑิตและพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ได้บรรพชาอุปสมบทที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ มีเจ้าคุณพระพิมลธรม (อาจ อาสภมหาเถร)อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9)

(ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระธรรมธีรราชมหามุนี) พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมวาจาจารย์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย มคธ ประเทศอินเดีย พร้อมกันนั้นได้ช่วยงานเป็นพระธรรมทูตที่วัดไทยพุทธคยา สําเร็จการศึกษาแล้วกลับมาทํางานที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าหน้าที่และเป็นอาจารย์ประจําภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ และเป็นผู้บริหารในส่วนของกอง ทะเบียนและวัดผล สํานักทะเบียนและวัดผลและวิทยาลัยพระธรรมทูตและปฏิบัติศาสนกิจทั้งภายในและต่างประเทศตลอดมา

ในช่วงของการปฏิบัติศาสนกิจที่กรุงเทพมหานคร ก็ได้นําคณะอุบาสกอุบาสิกาและเยาวชนมาสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของวัดวานรนิวาส ราษฎร์สามัคคีเรื่อยมา เช่น ร่วมสร้างศาลาบําเพ็ญกุศล กุฏิรับรองสงฆ์ ห้องน้ํา ศาลาอเนกประสงค์ เมรุ และอุโบสถ ตลอดระยะเวลา 20 กว่า ปีต่อเนื่อง จากนั้นได้มีโครงการหาสถานที่ปฏิบัติธรรม เห็นว่าป่าชุมชนของหมู่บ้านเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือใน การดําเนินการ โดยมีนายพลกฤต มะโนรส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ขณะนั้น ได้ขอใช้พื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ (ป่าช้าเก่า) เมื่อปี 2556 ในนาม วัดวานรนิวาสราษฎร์สามัคคี มีความประสงค์ขอใช้พื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมสําหรับคณะสงฆ์และประชาชนในเขตตําบลขอนแตก อําเภอสังขะและทั่วไป ให้เป็นที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและทําบุญตามประเพณี พร้อมนั้นให้ทางคณะสงฆ์ยังช่วยดูแลรักษาป่าชุมชนให้เป็นป่าที่คงสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ได้

จากนั้น พระครูวินัยธรสมุทร ได้นําชาวบ้านอาวอก หมู่ 7 บ้านหนองสิม บ้านป่าไลย์ บ้านน้ําซางแก้ว มาพัฒนาบริเวณป่าชุมชนแห่งนี้ ด้วยการจัดปลูกป่าทุกปี ร่วมกันสร้างทางสัญจรรอบป่า พร้อมล้อมรั้วรอบบริเวณป่า จํานวน 77 ไร่ ได้ร่วมจัดสร้างศาลาปฏิบัติธรรม สร้างกุฏิ ห้องน้ํา แท็งค์น้ํา สามารถปฏิบัติธรรมได้สะดวก โดยมีพระสงฆ์ปฏิบัติธรรมอยู่จําพรรษาคือพระอาจารย์เศียร จนฺทธมฺโม พระอาจารย์วรัญญู จารุธมฺโม และพระปลัดประเสริฐ ปภาโส เป็นหัวหน้าสงฆ์ดูแลนําอุบาสกอุบาสิกาประพฤติปฏิบัติธรรม ทําบุญตักบาตรทุกวันธัมมัสสวนะ ทําบุญ ตามประเพณี ทําบุญทอดผ้าป่าทอดกฐินด้วยดีตลอดมา

กุฏิรับรอง
กุฏิสงฆ์
กุฏิสงฆ์
หอฉัน
ศาลปู่ตา
ห้องสุขา

จากนั้นทางคณะกรรมการมีนายวอน สีสัน พร้อมด้วยชาวบ้านได้จัดซื้อที่ดินข้างเคียงด้านทิศตะวันออกของป่าช้า จํานวน 11 ไร่ เพื่อ ดําเนินการจัดสร้างวัดตามโครงการ พร้อมจัดหาเจ้าภาพซื้อที่ดินครบเรียบร้อย โดยในปี พ.ศ. 2557 นายวอน สีสัน ได้เสนอขออนุญาตสร้าง วัดต่อสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมทั้งได้ประกาศอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2559 ถึง 26 เมษายน 2564 (5 ปี) และจากนั้นนายวอน สีสัน ได้ขออนุญาตตั้งวัด 29 พฤศจิกายน 2564 และทางสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศตั้งวัดในพระพุทธ ศาสนา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 เป็นนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างวัดให้เป็นรมณียสถานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติศาสนกิจ พื้นที่บริเวณนี้มีชาติพันธุ์ชาวกวยหรือชาวส่วย อาศัยอยู่จํานวนมาก เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษชาวกวยที่สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นอเนกประการ จึงสร้างวัดนี้ขึ้น” และให้เป็นพุทธบูชาเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม การศึกษา การเผยแผ่ และเป็นอุทยานการเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติพันธุ์ชาวกวยต่อไป

ประวัติพระครูพระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม

พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม

พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม มีนามเดิมว่า สมุทร ทาทอง

เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 บ้านสวาท(ชุมชนชาวกวย) ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

การศึกษา – สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

– ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)

– พ.ศ. 2531 ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) สาขาวิชาสังคมศึกษา (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย – พ.ศ. 2539 ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย – พ.ศ. 2545 Ph.D. (Phil.) สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์

– ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดกวยวนาราม บ้านอาวอก ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

งานในสถาบันการศึกษา

  • อาจารย์ประจำภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รักษาการผู้อำนวยการกองทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2555)
  • รักษาการผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2559)
  • รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563)
  • รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2565)
  • ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รางวัลเกียรติคุณ

  • ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทรัชตเกียรติคุณจากคณะกรรมาธิกาศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2554)
  • ได้รับรางวัลธรรมาภิบาล “สิงห์ทอง” สาขาผู้เผยแผ่ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ดีเด่นแห่งปี จากพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ อดีต องคมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (29 มกราคม พ.ศ. 2560)

ทำบุญตักบาตร ประจำวันธรรมสวนะ ตลอดทั้งปี

กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี

กิจกรรมสวดมนต์ถวาย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี (องค์ภา)

กิจกรรม การศึกษาสงเคราะห์ แจกทุนการศึกษา

กิจกรรม สังคมสงเคราะห์ แจกข้าวสาร 1,000 ถุง

กิจกรรม วันสำคัญทางศาสนา

กิจกรรม วันเข้าพรรษา

กิจกรรม วันออกพรรษา