ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

พระประธานประจำอุโบสถ
อุโบสถ
พระประธานประจำศาลาการเปรียญ
หลวงปู่อู่ทอง

ประวัติวัดสร้างถ่อใน

วัดสร้างถ่อใน ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตําบลสร้างถ่อน้อย อําเภอหัวตะพาน จังหวัดอํานาจเจริญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ประมาณ 3 เส้น จดทางสาธารณะ

ทิศใต้ ประมาณ 3 เส้น จดทางสาธารณะ

ทิศตะวันออก ประมาณ 2 เส้น 5 วา จดทางสาธารณะ

ทิศตะวันตก ประมาณ 2 เส้น 5 วา จดทางสาธารณะ

วัดสร้างถ่อใน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2396 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2524

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย

อุโบสถ กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525

ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 50 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514

กุฏิสงฆ์ จํานวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ 

วิหารหลวงปู่อู่ทอง
(คู่บ้านคู่เมือง)
โฮงหนังสือใบลาน

ประวัติโดยย่อของวัตถุมงคล (โฮงหนังสือ)

ในแควันแดนอีสานทั้ง 15 จังหวัด สมัยโบราณ ถ้าบุคคลใดต้องการความรู้จะต้องเดินทางไปศึกษาตามสำนักที่มีชื่อเสียงที่อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการศึกษามูลกัจจายน์อย่างแพร่หลาย ซึ่งการเรียนมูลกิจจายน์นั้นเป็นการเรียนที่ค่อนข้างยาก สำนักที่มีชื่อมากสมัยนั้น คือสำนักบ้านใผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลักและบ้านสร้างถ่อ จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานใหญ่ ๆ ดังกล่าวมีครูอาจารย์ผู้สอนดังนี้

1. พระอาจารย์เอี่ยม วัดเวฬุวัน บ้านใผ่ใหญ่ สอนวิชามูลกัจจายน์

2. พระอาจารย์ชม เป็นคนใจเย็น ลูกศิษย์ชอบมาก

3. พระอาจารย์ชาลี เป็นคนดุ แต่แปลหนังสือพิสดาร

4. พระอาจารย์อ้วน สอนไวยากรณ์ แปลคัมภีร์พระปาฏิโมกข์ เป็นพื้น

5. พระอาจารย์สิงห์ ปญญาคโม ศิษย์เอกของอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่แหวน สุจินโน เมื่อท่านมีอายุครบบวช ท่านได้อุปสมบทในสีมาวัดสร้างถ่อนั้นเองโดยมีท่านอาจารย์แว่นเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แหวน สุจินใน มีฐานะเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย จากการเล่าของหลวงปู่ว่า การเรียนในสมัยนั้นไม่มีห้องเรียนเหมือนสมัยปัจจุบัน อาจารย์ที่สอนไม่ได้อยู่ในที่แห่งเดียว แต่จะแยกกันอยู่คนละที่ เมื่อถึงเวลาเรียนจะต้องแบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์ถึงที่อยู่นั้น แบกไปแบกมาอยู่เช่นนี้จนกว่าจะเรียนจบ ที่ว่าแบกหนังสือนั้นแบกกันจริง ๆ เพราะในสมัยก่อนหนังที่พิมที่พิมพ์เป็นเล่มยังไม่มี หนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอนใช้คัมภีร์ใบลาน ผู้เรียนต้องเคารพหนังสือ เพราะหนังสือเป็นพระธรรมจะดูถูกไม่ได้ถือเป็นบาป เวลาว่างจากการเรียนหนังสือผู้เรียนจะต้องเข้าบำหาใบลานมาไว้สำหรับทำคำภีร์ คือไปหาใบลานมา เลือกเอาใบที่ได้อายุหนึ่งปี ถ้าเอาใบแก่เกินไปใบจะเปราะแตกง่าย หามาได้แล้วก็เอามากรีดรีดใบและก้านออก ตากน้ำค้างไว้ 3 คืน พอหมาดแล้วจึงค่อยใช้ด้ายหรือเชือกร้อยทำเป็นผูก ๆ

ปรากฎเป็นหลักฐานตั้งอยู่ที่วัดบ้านสร้างก่อ ปัจจุบันพิสูจน์ได้ของอัศรรรย์ พิศวงษ์มากเพราะใครเอาไปทำอะไร ทำไม่เหมาะต้องมีอันเป็นไป เช่น ปาดท้อง หรือเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นโดยกะทันหัน

พระครูโสภณธรรมนิเทศน์ (คำใบ แสงตา) จึงได้มีความเห็นว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นของโบราณ จึงนำมาจัดทำเป็นวัตถุมงคล เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้และเป็นการรำลึกถึงคุณบรรพบุรุษเกจิอาจารย์ก่อน ๆ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังทรงจำเป็นการหวนรำลึกและตอบแทนความกตัญญูกตเวทีและอีกประการหนึ่ง บ้านสร้างถ่อเป็นบ้านนักปราชญ์มาตั้งแต่เก่าก่อน

อนึ่ง พระครูโสภณธรรรมนิเทศน์ (คำใบ แสงตา) ท่านเป็นพระลูกบ้านสร้างถ่อ โดยกำเนิดท่านจึงได้ฟื้นฟูขึ้นมา เพื่อเป็นวัตถุมงคลเป็นที่กราบไหว้บูชา เรียกว่า โฮงหนังสือ คือ เครื่องมือสำหรับอัดใบลาน ชื่อเป็นคัมภีร์ใบลานที่หลวงปู่แหวน สุจินโน ได้ใช้เป็นคัมภีร์สำหรับการศึกษาของหลวงปู่ท่านนั้นเอง

หมายเหตุ ถ้าผู้ใดมีวัตถุมงคลในส่วนนี้จะปลอดภัยในตัวเอง

พระอธิการ แพทย์ โชติโก (มธ.เอก) เจ้าอาวาสวัดสร้างถ่อใน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส

รูปที่ 1 พระแก้ว พ.ศ. 2406 – 2411

รูปที่ 2 พระพันธ์ พ.ศ. 2411 – 2414 

รูปที่ 3 พระมี พ.ศ. 2414 – 2428

รูปที่ 4 พระลุย พ.ศ. 2428 – 2439

รูปที่ 5 พระโหล พ.ศ. 2439 – 2451

รูปที่ 6 พระต้น พ.ศ. 2451 – 2462

รูปที่ 7 พระเขียน พ.ศ. 2462 – 2504

รูปที่ 8 พระมหาคัมภีร์ ปุญญาวโร พ.ศ. 2504 – 2508

รูปที่ 9 พระพรหมา วิมโล พ.ศ. 2509 – 2532

รูปที่ 10 พระเฉลียว สคารโว พ.ศ. 2534 – 2549

รูปที่ 11 พระอธิการทวีผล ฐานะสัมปันโน (ป.ธ.๓) พ.ศ. 2549 – 2558 

รูปที่ 12 พระอธิการณัฐพงษ์ โชติโก (นธ.เอก) พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา

ศาลาการเปรียญ
ศาลาหอฉัน
หอระฆัง