บ้านฉันเพล ตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน จากการสอบถามนายชาม จารัตน์ อายุ ๘๕ ปี กล่าวว่า เดิมในหมู่บ้านมีต้นจัน มีรากโผล่ออกมาเวียนรอบต้น จึงเรียกชื่อบ้านว่า “บ้านจันเวียน” แต่การสอบถามนายมาด จารัตน์ อายุ ๘๙ ปี บอกว่ามีตำนานเล่าสู่กันฟังมาชั่วหลายอายุคน ว่ามีชาวบ้านกวยบ้านจอมพระ พบพระพุทธรูป มีลักษณะสวยงาม จึงเรียกผู้คนมาล้อมจับแต่จับไม่ได้ ชาวบ้านจึ้งเรียกชื่อบริเวณที่ชาวบ้านล้อมจับพระว่า “จอมเปรี๊ยะ” หรือ “จอมพระ” ชาวบ้านพร้อมพระสงฆ์จำนวนหนึ่งได้ออกติดตามพระพุทธรูปองค์นั้นไปทางทิศตะวันออก ไปถึงบ้านสำโรง พระพุทธรูปได้อภินิหาร ยืนขึ้นได้มองเห็นบริเวณดังกล่าวชาวบ้านเรียก “บ้านสำโรงเปรี๊ยะโชร” หรือ สำโรงพระยืน แต่ก็ยังจับพระไม่ได้ จึงเดินทางต่อไปจนถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งพบแรดกำลังเล่นโคลนและน้ำอยู่ มองเห็น

DCIM100MEDIADJI_0327.JPG

แค่หัว เรียกชื่อบ้านว่า “บ้านหัวแรด” เดินไปถึงหมู่บ้านชั่งปี่ มองเห็นพระพุทธรูปอยู่ไม่ไกล จึงเร่งฝีเท้าติดตาม มาถึงบริเวณแห่งหนึ่งปรากฏว่าหาพระไม่เจอ จึงเรียกบริเวณนั้นว่า “โคกอาปวน” หรือ “โคกอาโพน” แปลว่า โคกที่พระซ่อนตัวอยู่ หลังจากนั้นได้เดินทางติดตามมาถึงบริเวณบ้านฉันเพลในปัจจุบัน ถึงเวลาพระเพลพอดี ชาวบ้านจึงจัดเตรียมอาหาร เพื่อถวายพระที่ติดตามมาฉันเพล จึงเรียกชื่อบ้านเก่า “บ้านฉันเพล” หลังจากฉันอาหารเพลเสร็จแล้วจึงออกเดินทางติดตามไปหาที่ ปราสาททอง พบชาวบ้านและหญิงสาวที่มีผิวพรรณสวยงามเรียกชื่อบ้านว่า “บ้านแซร็ยลออ” (บ้านสาวสวย) หรือบ้านแสรออ ในปัจจุบัน และเดินทางติดตามต่อไปจนถึงเวาโพล้เพล้ ดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า เรียกว่า บ้านแร และเดินทางติดตามต่อไปอีก จนถึงเวลาค่ำ พระพุทธรูป ได้แสดง อภินิหาร กลายร่างเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ชาวบ้านที่ออกติดตามมองเห็นดังนั้นจึงตะโกนบอกกันว่า ประปืด พระปืด หลายถึง พระองค์ใหญ่ และไม่กล้าออกติดตามอีกต่อไป พระองค์นั้นจึง ประดิษฐานที่อยู่ที่ปราสาทแก้ว บ้านพระปืดจนถึงวันนี้ จากการให้ข้อมูลของบุคคลทั้งสอง ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาของชื่อบ้านฉันเพลอีกทางหนึ่ง

วัดบ้านฉันเพล ตั้งอบู่บ้านฉันเพล หมู่ที่ ๑ ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๙๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๙๓๕๙ อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ ๒ วา เส้น ๑๙ วา ๑ ศอก จอทางหลวง ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น ๕ วา จดที่ดินนางสวิง ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๔ วา จดทางเกวียน ทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น ๑๗ วา จดที่ดินนายผุยและนายคำพุทธ และได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม โดยมีเจ้าภาพได้ถวายที่ดินเพื่อเป็นศาสนสมบัติ เพิ่มเติม คือ ๑. ลูกหลานแม่โกร จารัตน์ ลูกหลานแม่สวิง-พ่อสิงห์ สุขสงวน ลูกหลานแม่สมรส-พ่อตึด พูนชัย และลูกหลานแม่สุอุ่ม จารัตน์ บริจาคที่ดินสร้างเมรุ ๒. ลูกหลานพ่อบุญเลี้ยง-แม่เดียน กองทอง ซื้อที่ดินถวายวัดทางทิศเหนือติดทางหลวง ๓. ลูกหลานแม่เพอะ-พ่อยวน ชมชื่นดี ซื้อที่ดินถวายวัดบ้านฉันเพลด้ายทิศใต้เมรุ

มีเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดตามลำดับเท่าที่ทราบ คือ

  1. พระฮัม
  2. พระละมุย
  3. พระเทียบ
  4. พระบุญเที่ยง
  5. พระจอน
  6. พระเวียง
  7. พระบน
  8. พระอธิการลีน มหาวีโร พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๔๖
  9. อธิการหวน ปิยสีโล พ.ศ. ๒๕๔๖ – ๒๕๕๔
  10. พระครูประสุตธรรมธาดา พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๕๖ (รักษาการ)

๑๑.พระปลัดชีวิน สุขกาโม พ.ศ. ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน