วัดกะพุ่มรัตน์

Wat Kaphumrat

Takuk Subdistrict, Khwao Sinarin District Surin Province

DCIM\100MEDIA\DJI_0337.JPG

วัดกะพุ่มรัตน์ เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดตากูก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด ๘ ไร่ ๒ งาน ๘๗ ตารางวา ณ บ้านตากูก ตำบลตากูก อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

พระธาตุตะเจี๊ยะตจุม

พระธาตุตะเจี๊ยะตจุมที่ได้สร้างขึ้นที่วัดกะพุ่มรัตน์ บ้านตากูก ได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 และได้บรรจุพระธาตุเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2551 เป็นแบบพระธาตุเจดีย์ และบริโภคเจดีย์ ส่วนพระธาตุที่บรรจุ ได้รับอัญเชิญรับมาจากพระธรรมโพธิวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธคยาประเทศอินเดีย และพระครูสุนทร(พระอาจารย์สมพงษ์) ท่านได้ไปอธิษฐานจิตรวบรวมมวลสารจากสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข่องกับพุทธประวัติ อีกมากมาย และยังได้รับมอบมวลสารสำคัญจากพระเถระที่อยู่ประจำวัดตามสถานที่ สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน ในประเทศอินเดีย) ซึ่งได้รวบรวมอัญเชิญมาบรรจุในพระธาตุตะเจี๊ยะตจุม ณ วัดกระพุ่มรัตน์

    ในส่วนพระประธานที่ประจำประดิษฐาน มี 4 องค์

องค์ที่ 1 ทิศตะวันออก จำลองแบบมาจากพุทธมณฑล มีพระพุทธรูปปางลีลา เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ

องค์ที่ 2 ทิศใต้ เป็นพระปางห้ามญาติจำลองแบบจากพระพุทธรูปสมัยคุปตะ เป็นยุคที่ ๓ ของการทำพระพุทธรูปต่อจากสมัยคันนาระ และสมัยมะถุรา อันเป็นยุคศิลปะอินเดียแท้ ยุคนี้เรียกว่า “พุทธศิลป์สมัยคุปตะ” การสร้างพุทธศิลป์สมัยคุปตะนี้เริ่มต้นที่ พ.ศ.๘๐๐ หรือพุทธศตวรรษที่ ๘ จนถึง พ.ศ. ๑๒” ยุคนี้เป็นศิลปะฝีมือของอินเดียโดยแท้

องค์ที่ 3 ทิศตะวันตก องค์ที่ 4 ทิศตะวันออก   2 องค์นี้จำลองมาจากประเทศกำพูชา เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกัน มีประวัติศาสตร์โดยย่อ เล่ากันมาว่า องค์เจ๊กเป็นพี่ องค์จอมเป็นน้อง ทั้งคู่เป็นสุภาพสตรี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งหลังจากไปทำบุญ พอกลับมาทั้งคู่นอนหลับไปเฉยๆ ไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลยจนเสียชีวิต บิดามารดาเสียใจมากและอาลัยอาวรณ์ลูกสาวทั้งสองที่จากไปโดยมิได้สั่งเสีย ทั้งบิดามารดาจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์ตามชื่อลูกสาว และได้ตั้งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองประจำเมืองเสียมเรียบ

องค์ที่ 5 เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ทรงเครื่องกษัตริย์ มีชื่อเรียกว่า หลวงพ่อศิลา และได้ให้สักการะบูชาปิดทองในวันสมโภชน์ที่ผ่านมาและเปิดให้ปิดทองตลอดไป

ในส่วนเรื่องการก่อสร้างตัวเจดีย์นั้น ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปีกว่า  จึงได้จัดงานสมโภชยกยอดฉัตรขึ้นในวันที่ 30  และยกยอดฉัตรในวันที่ 31 ธันวาคม 2562

ดังนั้นศิลปะรูปแบบของพระธาตุเจดีย์ จะเป็นแบบผสมทางด้านล้านนา และอีสานใต้ที่มีรูปแบบของ ขอม ผสมอยู่ด้วย