ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี




ประวัติวัดบ้านกลาง
วัดบ้านกลางได้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๓ มีคุณปู่เป็นผู้มาตั้ง คุณปู่นี้มีชื่อว่าอะไรไม่ทราบแน่ แต่ชาวบ้านเรียกว่า “หัวปู่” วัดบ้านกลางนี้เดิมชื่อว่าวัดโพธิ์ตาก ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดบ้านกลางในปัจจุบัน หัวปู่นี้ท่านเป็นผู้รักษาวัดวาอารามเรื่อยมา จนสิ้นอายุสังชาร ตรงกับพุทธศักราชใดไม่ทราบแน่ชัด หลังจากท่านได้สิ้นไปนำสรีระท่านไปเผาที่ริมน้ำห้วยคำ ตะวันออกของวัด ร่องน้ำนี้จึงปรากฎ คำหัวปู่อยู่เท่าทุกวันนี้ ห้วยหัวปูนี้เป็นร่องน้ำผ่านตรงกลางดอนเจ้าปู่ (ดอนปู่ตา) ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงงานเทศกาลประเพณี ชาวบ้านได้ไปเลี้ยง อีกทั้งยังจัดพิธีบวงสรวง เช่นไหว้ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ใครจะมากล้ำกราย ตัดต้นไม้ไม่ได้ จะต้องแต่งกีบหมาก พันพู ให้พ่อใหญ่จ้ำ ไปบอกกล่าว จึงจะสามารถทำได้ หากฝ่าฝืนจะศูนย์ ออกปาก จะอาฆาต

ชาวบ้านจึงได้เคารพนับถือมาตราบเท่าทุกวันนี้ เมื่อเจ้าปู่มรณภาพแล้วมีพระมาเป็นเจ้าอาวาส สมภารอยู่ชั่วคราว ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๖๐ มียาคูบังมาอยู่จำพรรษาได้สร้างพัทธสีมาขึ้น ๑ หลัง พร้อมกับพัทธสีมา (วัดปัจฉิมมาราม) วัดบ้านตบหู ซึ่งได้ตั้งขึ้นก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ มีพระภิกษุ สงฆ์-สามเณร มาจำพรรษาเรื่อยมาเป็นลำดับ ต่อมามีพระอาจารย์สำเร็จ สีดา มาเป็นเจ้าอาวาส จำพรรษาได้ ๖-๗ ปี ได้ลาสิกขาออกไป ต่อมามีพระภิกษุโสม หรือ พ่อใหญ่โสม ภักดีล้น มาเป็นสมภารจำพรรษา ท่านได้ชักชวนชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญหลังก่อนที่รื้อไปแล้ว เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านก็ลาสิกชาออกไป ต่อมามีพระอาจารย์จันทร์ ปันลา พื้นเพเป็นลูกหลานชาวบ้านกลาง ได้ดูแลวัดวาอารามมาเรื่อยๆ จนได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รูปแรก ของตำบลกลาง และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครู ในราชทินนามว่า พระครูอุดมสังฆกิจ (จันทร์ กิสสฺโร) ท่านเป็นพระนักพัฒนา สร้างวัดวาอาราม บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรื่องตามกาลเวลา และได้ตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม มีศิษยานุศิษย์จำนวนมาก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่านได้อาพาธด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน และได้มรณภาพลงอย่างสงบ ศิษยานุศิษย์ร่วมอาลัยจำนวนมาก ต่อมามีครูบาอาจารย์ลูกพระลูกเณรศิษยานุศิษย์ได้ดูแลวัดวาอารามต่อมา มีพระภิกษุ (คำภา หรือพระอาจารย์คำภา นามจำปา) ลูกหลานชาวบ้านโนนสุขสันต์ ดูแลวัดมาได้ระยะหนึ่ง ท่านก็ได้ลาสิกขาไป มีครูบาอาจารย์ดูแลวัดมาเรื่อยๆ ทางคณะสงฆ์อำเภอเดชอุดม จึงได้ส่ง อาจารย์เคนวรปญฺโญ มาจากอำเภอตระการพืชผล มาเป็นเจ้าอาวาส ในปีพ.ศ. ๒๔๙๙ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ไปตามกาลเวลาแล้วเสร็จ ปีพ.ศ.๒๕๐๗ พร้อมได้ฉลองอุโบสถปีพ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านก็ได้ลาสิกขาออกไป


ปีพ.ศ. ๒๕๑๐ พระอาจารย์มหาแสง มาจากจังหวัดศรีษะเกษ ได้มาจำพรรษาอยู่ ๒ ปี ท่านก็กลับไปบ้านเดิม มีลูกพระดูแลวัดวาอารามตลอดมาจนถึงปีพ.ศ. ๒๕๑๖ มีพระอาจารย์สมพร มาจากบ้านกวางดีด มาจำพรรษาถึงปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ท่านได้กลับบ้านเดิม ปีพ.ศ. ๒๕๑๙ พระอารย์ไพบูลย์หรือ (พ่อจารย์ไพบูลย์ ภักดีล้น) ท่านได้กลับจากเรียนหนังสือ อำเภอหัวตะพานชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาที่วัดบ้านกลาง ท่านได้รับนิมนต์บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมาตลอด ต่อมาท่านได้ประชุมชักชวนชาวบ้านญาติโยมสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ทดแทนเป็นศาลาไม้หลังปัจจุบัน ทดแทนหลังเก่า ที่หลวงปู่โสม ภักดีล้น สร้างเอาไว้ พอสร้างศาลาเสร็จอาจารย์ไพบูลย์ ภักดีล้น ท่านได้ลาสิกขา ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๒๒ พระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ท่านเป็นคนพื้นเพบ้านหนองสนม ได้กลับจากเรียนหนังสือ จากจังหวัดมหาสารคาม จบนักธรรมเอกจบเปรียญธรรม ๔ ประโยค (ป.ธ.๔) ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านจำพรรษาที่วัดบ้านกลางท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ พัฒนาวัดวาอารามมาโดยตลอด ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลกลางเขต ๑ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ท่านรับตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์ ดูแลการบรรพชาอุปสมบทของกุลบุตรชาวตำบลกลาง วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ และได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นตรี โท เอก ตามลำดับ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ท่านก็อาพาธและมรณภาพลง ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ว่างลงชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระครูสมุห์เหลื่อม อนุตฺตโร มาเป็นสมภาร วัดบ้านกลางแทนท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลกลาง เขต ๑ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูในราชทินนามว่าพระครูอุดมมัชฌิมนิคม วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบ้านกลาง วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าหมากมาย ต่อมาได้แต่งตั้งพระอาจารย์บัวกัน สุมงุคโล เป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านกลาง เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ พระอาจารย์บัวกัน (เดิมเป็นพระอุปัฐถากของพระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์)


ต่อมาท่านได้เป็นเลขานุการเจ้าคณะตำบล กลาง เขต ๑ พระอาจารย์บัวกัน สุมงคโล ท่านเป็นพระนักพัฒนา ได้บูรณปฏิสังชรณ์ พัฒนาวัดวาอารามที่พระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์ สร้างไว้ยังไม่เสร็จ ท่านได้สร้างพระเจดีย์ (ธาตุ) บรรจุอัฐิของพระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์ จนเสร็จเรียบร้อย ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๕๗ ท่านมีแนวความคิดจะพัฒนาวัดวาอารามต่อไป ได้ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน สร้างอุโบสถหลังใหม่เพื่อทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา คณะกรรมการหมู่บ้าน ญาติโยมเห็นพร้อมกันจึงได้เริ่มก่อสร้าง วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ดำเนินการก่อสร้างมาเรื่อยๆ และพัฒนาก่อสร้างศาสนสถานอย่างอื่นควบคู่กันไปหลายอย่างอาทิเช่นกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก ศาลาพักญาติหน้าเมรุ ต่อเติมโรงครัว ห้องเก็บพัสดุห้องน้ำ กุฏิรับรองสงฆ์ จนแล้วเสร็จ พร้อมทำควบคู่กับการสร้างอุโบสถหลังใหม่จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๖๑ เสร็จสิ้นเรียบร้อยเป็นอย่างมากวิจิตรงดงามจนเป็นที่กล่าวถึง และมีการจัดเฉลิมฉลองพระอุโบสถหลังใหม่ ในวันที่ ๑๑๐-๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๗,๗๘๑,๙๗๖.๐๐ บาท (เจ็ดล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยเจ็ดสิบหกบาทถ้วน)


พระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์(สมบูรณ์ เตชฺปญโญ) อดีตเจ้าอาวาส
พระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์ นามเดิม สมบูรณ์ นามสกุล บัวใหญ่ ฉายาเตชฺปญฺโญ ชาตะ (เกิด) เมื่อวันที่ ๖ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ที่บ้าน หนองบัวฮีใหญ่ ตำบลหนองบัวฮีใหญ่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัอุบลราชธานีบิดาชื่อ นายหมา มารดาชื่อ นางหนอก บัวใหญ่ ประกอบอาชีพทำนามีญาติพี่น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๙ คน คือ
๑. นางหมูน บัวใหญ่ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๒. พระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์ (สมบูรณ์ บัวใหญ่ ผู้มรณภาพ)
๓. นางสุ่น บัวใหญ่ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. นายฮู่ บัวใหญ่
๕. นายขาง บัวใหญ่
๖. นายสาง บัวใหญ่
๗. นางบุญศรี บัวใหญ่
๘. นายทองศรี บัวใหญ่
๙. นายคำดี บัวใหญ่
เมื่ออายุได้ ๘ ขวบ บิดา มารดา ได้พาย้ายจากบ้านหนองบัวฮีใหญ่มาอยู่บ้านหนองสนม หมู่ ๒ ตำบกลาง (ปัจจุบันขึ้นตำบลบัวงาม) อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษาทางโลก
พ.ศ. ๒๕๐๒ สอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงรียนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบสราชธานี
พ.ศ. ๒๕๕๐ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) ที่โรงเรียนปริยัติธรรม สายสามัญวัดสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
การศึกษาทางธรรม
- พ.ศ. ๒๕๑๘ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรีที่สำนักศึกษาวัดบ้านน้ำขุ่น อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. ๒๕๒๐ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโทที่สำนักศึกษาวัดลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. ๒๕๒๒ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกที่สำนักศึกษาวัดสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- พ.ศ. ๒๕๒๔ สอบไล่ได้มาลี ป.ธ. ๒ ที่สำนักศึกษาวัดสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- พ.ศ. ๒๕๓๔ สอบไล่ได้มหาเปรียญประโยค ๓ (ป.ธ. ๓)
ที่สำนักศึกษาวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ พ.ศ. ๒๕๔๐ สอบไล่ได้มหาเปรียญประโยค ๔ (ปธ. ๔) ที่สำนักศึกษาวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
การศึกษาพิเศษ
เรียนอ่านเขียนอักษรธรรมได้ เขียน (จาร) ตัวธรรมใบลานได้มีความรู้ความชำนาญในวิชาคอมพิวเตอร์สามารถสอนศิษยานุศิษย์ได้เป็นอย่างดี
- พศ.๒๕๒๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสบ้านกลาง ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตราตั้งเลขที่ ๓๒/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๒๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลกลาง อำเภาเดชอดม จังหวัดอุบลราชธานี ตราตั้งเลชที่ ๒๐ / ๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
- พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตราตั้งเลขที่ ๒๓ / ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๒
งานการศึกษา
- พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมสำนักศึกษา วัดบ้านกลาง ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนแม่กองธรรมสนามหลวง ประจำสำนักสอบ วัดจันทร์ทุมมาวาส ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
งานการศึกษาสงเคราะห์
พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๕๐ จัดตั้งมูลนิธิการศึกษาอุดมปัญญาวัฒน์การศึกษาสงเคราะห์ เป็นจำนวนเงิน ๒๔๖,๐๐๐ บาท และเป็นประธาน มอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรตลอดทั้งเด็กนักเรีอน โรงรียนกลาง ที่เรียนดี มีมารยาทดี เป็นประจำทุกปี
งานเผยแผ่
พ.ศ.๒๕๔๔ ได้ผ่านอบรมเป็นพระนักเทศน์พระธรรมทูติที่วัดมหาวนาราม อำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และเป็นพระธรรมทูตอบรมประชาชนประจำ อุบาสก อุบาสิกา ทุกวันธรรมสวนะและมีการจัดการจัดตั้งศูนย์อบรม อำเภอเดชอุดมมีการอบรมศีลธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ประชาชนประจำตำบล (อปต)
งานสาธารณูปการ งานก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดบ้านกลางดังรายการต่อไปนี้
พ.ศ. ๒๕๒๒ ดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๒๓ ดำเนินการก่อสร้างห้อง สุขา ๑ หลัง ๔ ที่
พ.ศ. ๒๕๒๗ ดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๒๘ ดำเนินการก่อสร้างซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๓๗ ดำเนินการก่อสร้างเมรุวัดบ้านกลาง
พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างห้องสุขา ด้านทิศใต้ ๑ หลัง ๔ ที่
พ.ศ. ๒๕๔๑ ดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๔๒ ดำเนินการก่อสร้างศาลากาญจนาภิเษก ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๔๔ ดำเนินการก่อสร้างกำแพงล้อมรอบวัดบ้านกลาง
พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำเนินการก่อสร้างศาลา หอฉัน ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๔๖ ดำเนินการก่อสร้างศาลาพักญาติ ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการซ่อมแซมศาลาการเปรียญหลังเก่าที่ชำรุด
พ.ศ. ๒๕๕๕๐ – ๒๕๕๑ ดำเนินการก่อสร้างศาลา ๘๐ พรรษามหามงคล
ปลายทางแห่งชีวิต
หลวงพ่อพระครูอุดมปีญาภิวัฒน์ เริ่มอาพาธเป็นไข้หวัดใหญ่ เมื่อวันที่ ๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๕๕๑ ที่กุฏิวัดบ้านกลางตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีศิษยานุศิษย์และญาติโยมได้นำหลวงพ่อไปรักษาพยาบาลตามสถานที่รักษาพยาบาลหลายแห่งเริ่มต้นจากคลินิกคุณหมอทวีทัศน์เดชอุดม โรงพยาบาลอุบลรัก-ธนบุรี โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิ์ประสงค์อำเภอวารินฯ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ประจำจังหวัดอุบลราชธานี คุณหมอ ได้ทำการรักษาพยาพยาบาลจนสุคความสามารถ ไม่มีทางที่จะรักษาพยาบาลได้ เพราะหลวงพ่อเป็นโรคติดเชื้อในกระเลือดรุนแรงและเป็นโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรง คุณหมอได้แนะนำให้รับหลวงพ่อ กลับไปที่วัดคณะศิษยานุศิษย์ และญาติโยมได้นำหลวงพ่อกลับถึงวัดบ้านกลาง ในคืนวันที่ ๑๒ เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ ๒๕๕๘ โดยให้หลวงพ่อพักอยู่ที่ ศาลาการเปรียญ พอถึงเวลา ๒๐.๔๖ น. หลวงพ่อพระครูอุดมปัญญาภิวัฒน์ ได้มรณะภาพด้วยสมปรานสงบนิ่งที่ศาลาการเปรียญวัดบ้านกลาง หมู่ที่ ๕ ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างท่ามกลางศิษยานุศิษย์ และญาติโยม สิริอายุรวมได้ ๖๐ ปี ๑๐ เดือน ๖ วัน นำความโศกเศร้าเสียใจ มายังศิษยานุศิษย์ และญาติโยมเป็นอย่างยิ่งหาสิงอื่นใดจะมาทดแทนมิได้


กุฏิสงฆ์ กองอำนวยการ โรงครัว

