วัดสว่าง ตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

Wat Sawang Yang Sawang Subdistrict, Rattanaburi District, Surin Province

ความเป็นมา

วัดสว่าง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๘๑ หมู่ที่ ๑ บ้านยาง ตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัดมหานิกาย อยู่ในความปกครองดูแลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๓๖ ตารางวา

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ได้มีราษฎรจากบ้านสวนฝ้าย ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย ได้เดินทางมาหาพื้นที่เพื่อทำนา ทำไร่ เนื่องจากที่เดิมเกิดความแห้งแล้งทำนาไม่ได้ผล จึงเดินทางมาพบพื้นที่บ้านยาง ซึ่งเป็นป่าอุมดมสมบูรณ์ สัตว์ป่ามากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ และมีหนองน้ำมากมาย อาหารปลาชุกชุม จึงได้ตั้งหลักปักฐาน และทำนาได้ผลดี หลังจากเสร็จสิ้นฤดูทำนาแล้ว จึงได้เดินทางกลับไปบ้านเดิมและไปชักชวนญาติพี่น้องครอบครัวอพยพมาอยู่บริเวณแห่งนี้ และปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ชาวบ้านได้นิมนต์พระอาจารย์จันทร์ จันฺโชโต  พร้อมพระภิกษุและสามเณร ๕ รูป เดินทางมาด้วยและได้เลือกพื้นที่ที่จะสร้างวัด โดยเลือกเอาทางทิศตะวันออกหมู่บ้าน เมื่อได้พื้นที่เรียบร้อยแล้วก็ถางป่าสร้างศาลาชั่วคราวขึ้นก่อน

ต่อมาปีพ.ศ. ๒๔๓๙ ได้สร้างกุฏิสงฆ์ เป็นหลังคาทรงไทย ๔ หลัง (ปัจจุบันรื้อแล้ว) ศาลาการเปรียญ ทรงไทย และขออนุญาตตั้งวัดได้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้วสร้างอุโบสถและได้รับพระราชททานวิสุงคามสีมา จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ อุโบสถเป็นทรงโบราณซึ่งได้บูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง มีความกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร จนกระทั่งปีพ.ศ. ๒๔๙๐ พระครูจันทร์ จันฺโชโต ท่านก็มรณภาพ พระครูบุรีรัตนาจารย์ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ ท่าน

ได้บูรณะปรับปรุงวัดสว่างบ้านยางมากมายหลายอย่างเช่น สร้างกำแพงวัด เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างศาลาการเปรียญคอนกรีตเหล็ก เพื่อใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม สร้างฌาปนสถาน และเปิดศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดสว่าง ซื้อที่ดินขยายวัดออกไปทางด้านทิศตะวันออก ๖ ไร่ นอกจากนั้นท่านยังได้เปิดเป็นที่ฝึกอบรมปฏิบัติธรรมกัมฐานแก่พระภิกษุและประชาชนทั่วไป และได้สร้างสำนักป่าศรมธรรมบาลกล้วยเป็นที่อบรมกรรมฐาน จนกระทั่งปีพ.ศ. ๒๕๓๘ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ

รายนามการบริหารปกครองวัด

  1. พระครูจันทร์ จันฺโชโต พ.ศ. ๒๔๔๓ – พ.ศ. ๒๔๙๕
  2. พระครูบุรีรัตนาจารย์ พ.ศ. ๒๔๙๕ – พ.ศ. ๒๕๓๘
  3. พระอธิการคำพันธ์ อธิปญโญ พ.ศ. ๒๕๓๘ – พ.ศ. ๒๕๔๓
  4. พระอธิการบุญเยี่ยม ปญฺญาวุโธ พ.ศ. ๒๕๔๓ – พ.ศ. ๒๕๕๕
  5. พระอธิการบุดดี คุตฺตจิตโต รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๕๕ – พ.ศ. ๒๕๕๗
  6. พระอธิการบุดดี คุตฺตจิตโต พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึงปัจจุบัน

เสนาสนะที่สำคัญ

  1. อุโบสถสถาปัตยกรรมไทยโบราณ
  2. ศาลาการเปรียญไม้ ทรงไทย ๑ หลัง
  3. ศาลาการเปรียญไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง
  4. กุฏิไม้ ๓ หลัง 
  5. กุฏิคอนกรีต ๑ หลัง 
  6. กุฏิกรรมฐาน ๔ หลัง
  7. เจดีย์บูรพาจารย์
  8. หอระฆัง ๒ หอ
  9. ฌาปนสถาน พร้อมศาลา ๑ หลัง 
  10. ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์
  11. เสาร์หงส์

ประวัติพระอธิการบุดดี คุตฺตจิตโต

พระอธิการบุดดี คุตฺตจิตโต (สิทธิ) อายุ ๗๐ ปี พรรษา ๑๙ นักธรรมชั้นเอก สำนักวัดสว่าง

อุปสมบท เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔

พระอุปัชฌาย์ พระครูรัตนธรรมนิเทศ

พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเลียง จนฺทโชโต

พระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เจริญ ยโสธโร

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง

  1. เจ้าอาวาสวัดสว่าง
  2. รักษาการเจ้าอาวาสวัดสว่างบ้านกล้วย ต.ยางสว่าง