ตำบลกุดขาคีม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
Tha Amphawan Temple (Ban Dong Pui) Kut Kha Khem Subdistrict, Rattanaburi District Surin Province
ความเป็นมา
วัดท่าอัมพวัน (บ้านดงเปือย) ตั้งอยู่ในบ้านเลขที่ใหม่ปัจจุบันเลขที่ ๑๒๘ หมู่ที่๓ ตำบลกุดขาคีม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๓๐
วัดท่าอัมพวัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ในนามตั้งวัดหมู่บ้านดงเปือย มีต้นมะม่วงป่า ต้นมะม่วงบ้านจำนวนมากทั้งในวัดทั้งในหมู่บ้าน จึงมีนามว่า อัมพวัน และอยู่ติดกับแม่น้ำมูล มีคนบอกว่ามีท่าเรือหลวงขึ้นจึงมีนามว่า วัดท่าอัมพวัน ส่วนหมู่บ้านดงเปือย ได้ชื่อนี้เหตุเพราะมีไม้ดงเปือยจำนวนมากในที่ตั้งหมู่บ้าน เริ่มปี ๒๔๖๓ ถึง๒๕๖๑ เวลาผ่านมาได้ ๙๘ ปี อีก ๒ ปี จะครบ ๑๐๐ ปีแล้ว วัดได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๖๓ มีวัดมีอายุครบ ๑๐๐ ปีแล้ว
เสนาสนะประกอบด้วย
- อุโบสถ ๒ หลัง อุโบสถหลังที่ ๑ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๖ อุโบสถหลังที่ ๒ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๓
- ศาลาการเปรียญไม้ ๑ หลัง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
- ศาลาอเนกประสงค์อยู่๒หลัง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
- กุฏิสงฆ์อยู่ ญ๕ หลัง
ปูชนียวัตถุ มีจำนวนมากทั้งเทวรูป และมีพระประธานสมัยสุโขทัยปางสมาธิ และมีสิ่งก่อสร้างขึ้นใหม่จำนวนมาก
วัดท่าอัมพวันมีผู้บริหารปกครองสงฆ์ผ่านมาจำนวนมากที่บันทึกไว้ดังนี้
๑. พระไชย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๔๖๘
๒. พระพรหม สีหะนาม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๐
๓. พระน้อย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๑
๔. พระสุวรรณ สุวณฺโณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๗๔
๕. พระทา ครุฑสุวรรณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๔๗๕
๖. พระธรรมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๗๖
๗. พระผงราชบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๗๗
๘. พระสอน สารหอม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๘๑
๙. พระครูปัญญาโชติคุณ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๕๓๘
๑๐. พระอธิการสุเทพ สุชาโต หรือ พระครูวรดิษถ์ รัตนธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๕๓
๑๑. พระอธิการมงคล ปภากโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน