กลับไปหน้าหลัก

ร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะบนหลังช้าง ณ วัดป่าพลาญเพชร

วัดศรัทธาธาวารี

ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์

Wat Sattha Thawari

Phrai Khla Subdistrict, Chumphon Buri District, Surin Province

วัดศรัทธาวารี มีพื้นที่ ๖ ไร่ ๑๖ ตารางวา ได้รับการรับรองตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ แต่มีประวัติที่เล่าสืบกันมาว่า ครูบาวงศา ซึ่งเป็นญาติผู้พี่ของพระศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรี ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองรัตนบุรี มาตั้งบ้านและบ้านไพรขลา ใน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๐๖ – ๒๓๓๙ ต่อมาพระศรีนครเตาท้าวเธอได้เปิดสาสน์ของเมืองพิมายที่ส่งไปยังเมืองอุบลฯ ด้วยเกรงความผิดอาญาแผ่นดินจึงได้หนีมาบวชที่วัดบ้านไพรขลานี้ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมือย” บวชจนได้เป็นพระอุปัชฌาย์ และมรณภาพที่วัดนั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๙ บริเวณที่เป็นโบสถ์เดิม คือ บริเวณ “สิมมา” ในปัจจุบัน ส่วนครูบาวงศาได้นำผู้คนส่วนหนึ่งอพยพไปสร้างวัดใหม่ที่บ้านดู่นาหนองไผ่ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดมามีเจ้าอาวาสเท่าที่รวบรวมได้ ดังนี้

  • ครูบาวงศา
  • พระอุปัชฌาย์เมือย (พระศรีนครเตาท้าวเธอ) กุฏิ วิหาร ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา
  • หลวงพ่อลี
  • หลวงพ่อที่
  • หลวงพ่อจารย์ด่วย
  • หลวงพ่อจารย์เพ็ง
  • หลวงพ่อจารย์คำ
  • หลวงพ่อจารย์ช่วย
  • หลวงพ่อจารย์สี
  • หลวงพ่อจารย์จันทร์ กฏิไม้ ๑ หลัง ทรุมโทรมรื้อถอนหมด อุโบสถเก่า ๑ หลัง บูรณะไว้เป็นอนุสรณ์
  • หลวงพ่อปราโมช สร้างกุฏิไม้ ๑ หลัง ทรุมโทรมรื้อถอนหมด
  • พระอาจารย์เภา ธมฺมโชโต
  • หลวงพ่อเรือง ปภากโร
  • พระครูกิตติวรรโณภาส (สุภาพ กิตฺติวณฺโณ) ปัจจุบัน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้ริเริ่มการพัฒนาศาสนวัตถุ อุโบสถ ๑ หลัง เทคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงกระเบื้อง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ทำการสมโภชเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ สิ้นค่าก่อสร้าง ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาท)

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ดำเนินการสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง ลักษณะเทคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย

ประยุกต์ กว้าง ๒๒.๕๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาท) สมโภชปี พ.ศ. ๒๕๔๖

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐, ๒๕๔๑ ดำเนินการสร้างเมรุ (เมรุเผาศพ) ๑ หลัง กว้าง ๔.๕๐ เมตร

ยาว ๙.๕๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท) ปีพ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้าประชาชน อุบาสก อุบาสิกา ในเขตบริการของวัดและเจ้าอาวาสปัจจุบันได้ร่วมด้วยช่วยกันซื้อที่ดินขยายวัด เพื่อทำศาสนพักญาติ

ความเป็นมา

          ในราวปีพุทธศักราช ๒๒๖๐ มีคนพวกหนึ่งซึ่งคนพวกนี่ อยู่ในเมืองอัตตะปือแสนแปในฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงประเทศลาว อยู่ทิศตะวันออกเมืองจำปาสักได้อพยพ จากถิ่นเดิม ข้ามแม่น้ำโขงทางฝั่งทางขวาเข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ ยังมีคน วกนี้ จำนวนมากที่หัวหน้าคุมมา ๖ คน ดังนี้พวกที่ ๑ มีหัวหน้า ชื่อ เซียงปุม ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองทีเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน พวกที่ ๒ มีหัวหน้าชื่อ เซียงสี ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองเตาเขตอำเภอพยัคฆะภูมิพิสัยจังหวัดมหาสารคามปัจจุบัน พวกที่ ๓ มีหัวหน้าชื่อ เซียงฆะ ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านอัจจะปะนึงอำเภอสังฆะจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน พวกที่ ๔ มีหัวหน้าชื่อ เซียงขันธ์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคกลำดวนอำเภอขุขันธุ์จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน พวกที่ ๕ มีหัวหน้าชื่อ เซียงพัน ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองลิงเขตอำเภอจอมพระจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน พวกที่ ๖ มีหัวหน้าชื่อ เซียงชัย ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านจารพัดเขตอำเภอศรีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันพวกส่วยทั้งหก มีอาชีพทำไร่ทำนาและ ล่าสัตว์ แต่เซียงสีดูจะมีวิชาทำมาหากินพิเศากว่าเพื่อนคือมีวิชาอาคมในการจับสัตว์ด้วยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๐๓ ในสมัยของสมเด็กพระเจ้าอยู่หัวสุรินามรินทร์(พระเอกทัศ) รางการที่ ๓๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือก ๒ เชือกก็ได้หนีออกจากพระโรงหนีหายมาทางอิสานผ่านมาทางเมืองพิมายสมัยนั้นเมือง นครราชสีมายังไม่มี สมเด็กพระเจ้าเอกทัศจึงโปรดเกล้าให้พระเจ้า ๒ พี่น้อง พระยาจักกรีและพระยาสุรสี นำทหารจำนวน ๓๐ คน ออกติดตามขบวนติดตามช้างเผือกผ่านมาทางเมืองพิมาย และมาถึงเมืองเตา ได้พบเซียงสี กับลูกชายชื่อ เซียงลี ที่ไร่ข้าวไม่ไกลบ้านนัก ใอสอบถามเซียงสี ก็ได้ให้ข้อความว่า เมื่อวานมีช้างเผือก ๒ เชือกมากินข้าวที่ไร่จึงขับไล่หนีไปทางตะวันออก ช้างตัวนี้ มีสีขาวๆ มีเครื่องประดับที่เท้า และงาสวยงามมาก เมื่อพระเจ้าพี่น้องได้ฟังก็ทราบว่าช้างนั้น เป็นช้างเผือกแน่นอนจึงชักชวน ให้เซียงสีช่วยนำทางในการติดตามช้างด้วย เพราะคงรู้จักพื้นที่ดีและบอกว่าถ้าช่วยตาม เอาช้างเผือกได้จะทูลขอรางวัลพระเจ้าอยู่หัวให้อย่างจุใจทีเดียว เซียงสีทูลว่า ตนมีวิชาอาคมดี เป็นวิชาจับสัตว์ต่างๆให้ได้โดยง่าย คิดว่าคงจะตามเอาช้างได้โดยไม่ยากนัก เมื่อเซียงสี รับอาสาจะนำพระเจ้าสองพี่น้องติดตามจับช้างเผือกแล้วท่านก็ส่งคนไปบอกพักพวกทั้ง ๕ คือ เซียงปุมที่บ้านเมืองที เซียงฆะที่บ้านอัจจะปานึง เซียงขันที่บ้านโคกลำดวน เซียงพันที่บ้านเมืองลิง และเซียงชัยที่บ้านจารพัดให้ช่วยสกัดหาช้างเผือกด้วยในที่สุดคณะติดตามช้างเผือกก็มา บรรจบพบกันโดยบังเอิญอย่างหน้ามหัสอัศจรรย์โดยมิได้นัดหมายกันเลย ณ หนองน้ำแห่งหนึ่ง อยู่กลางป่าใหญ่ มีชื่อว่า หนองบัวเป็น เวลาประมาณ บ่าย ๓ โมง อยู่ในเขต อำเภอศีขรภูมิ ขณะช้างเผือกกำลังลงเล่นน้ำเพลิดเพลินมีช้างป่าเป็นบริวาร เล่นน้ำอยู่ด้วยมากมายหลายสิบเชือก พระเจ้าสองพี่น้องสังเกตเห็นช้างสองเชือกที่อยู่ตรงกลางบริวารทั้งหลายมีเครื่องประดับที่งาทั้งสองข้างและสีกายก็เป็นค้อนข้างขวาก็ทราบว่าเป็นช้างเผือกน่นอนจึงรับสั่งให้เซียงสี ประกอบพิธีจับช้างตามตำราจับช้างของเซียงสี ทันที โดยตั้งเครื่องยกครูบูชาเทวดาเจ้า ทางเจ้าที่ บอกกล่าวให้ท่านผู้มีเดชานุภาพ ได้ช่วยเหลือนำช้างเผือกกลับคืนไปถวายพระเจ้าอยู่หัวให้จงได้เมื่อบอกกล่าวเทวดาจบท่านก็เอาก้อนหินที่ปลุกเสกด้วยคาถาอาคมจำนวนแปดก้อนขว้างไปในทิศทั้งแปด ก่อนขว้างก้อนหินไป เซียงสีได้เอื้อนเอ่ยเผยวาจาว่า ข้าแต่ พระยาช้างเผือกผู้เป็นคู่บุญ บารมีของพระเจ้าอยู่หัวที่ท่านจะทิ้งหนี มาจากพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้พระเจ้าสองพี่น้องมาเชิญท่านกลับคืนพระนครเพื่เป็นมิ่งขวัญและเพิ่มเติมบารมี ของพระเจ้าอยู่หัวตามเดิมและปวงข้าขอเชิญท่านกลับคืนพระนครในกาลบัดเดี๋ยวนี้เกิดหน้าอัศจรรย์เหลือ ที่จะคิดเหลือที่จะกล่าว คือพอท่านกล่าวจบแล้ว ขว้างหินแปดก้อนไปทางแปดทิศแล้วตบมือขึ้นมาสามครั้ง พร้อมส่งเสียงร้องแฮ้ๆดังๆ พร้อมกันเหมือนรู้ภาษาคน พญาช้างเผือกทั้งสองได้ชูงวงขึ้น เหนือหัวแล้วเปล่งเสียงร้อง แปร๋นๆ สามครั้งเท่านั้นและบรรดาช้างป่าบริวาร ก็ตกฮือขึ้นมาจากน้ำหายเข้าไปในป่าจนหมดสิ้นพญาช้างเผือกทั้งสองเดินขึ้นจากน้ำช้าๆมาตรงหน้า พระเจ้าสองพี่น้อง แล้วค่อยๆคุกเข่าหมอบลงผงกกเหนือหัวสามครั้งประหนึ่งว่าถวายความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว น้ำตาพญาช้างเผือกไหลนรินทั้งสองข้างเหมือนหนึ่งว่ายอมสารภาพผิดที่ได้หหนีจากพระเจ้าอยู่หัวและดีใจที่ได้กลับเข้าสู่พระนครศรีอีก ต่อจากนั้นขบวนติดตามช้างเผือกก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ก่อนกลับพระเจ้าสองพี่น้องได้บอกกับเซียงสี และเพื่อนๆทั้ง ห้าคน ขอเป็นสหายกันตลอดไปและกำชับว่าในเดือนห้า ขอให้สหายทั้งหกลงไปเยี่ยมกรุงศรีด้วยจะได้นำเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ทรงกราบ มาถึงเดือนห้า เซียงสี ก็พากันไปเยี่ยมพระเจ้าสองพี่น้อง ที่งกรุงศรีอยุธยาตามที่รับปากไว้ เซียงสีกับพวกทั้งห้าได้จัดหาของเอามาต้อนรับพระสหายดังนี้ ๑.เซียงปุม บ้านเมืองทีได้โค้งสามหวาย(หวายสามมัด) ๒. เซียงขันธุ์ บ้านโคกลำดวนได้ลืมสามตะบอง(กะบองคือใต้ได้สิบเล่ม เรียกว่าหนึ่งลืมได้ สามสามเล่มเรียกว่า สามลืม) ๓. เซียงสี บ้านเมืองเตาได้กุบ ตะกับสอง(เต่าใหญ่สองตัว) ๔. เซียงพันธุ์ บ้านเมืองลิงได้ละอองละแอง สี่ (คือกวดหรือแลน สี่ตัว) ๕. เซียงฆะ บ้านอัจจะปะนึงได้ละวี่ละวอน บั้งห้า(คือน้ำผึ้งห้ากระบอกไม้ไผ่) ๖. เซียงชัย ได้ตรวยฟ้า สอง (ไก่ฟ้าสองตัว) พระเจ้าสองพี่น้อง นำเซียงสี กับพวกห้าคนเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์เพื่อทราบถวายรายงานให้ทรงทรายรายละเอียดเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก จึงพระราชทานรางวัลให้ เซียงสี กับพวกทั้งห้าได้เป็นเจ้าเมืองทุกคน สำหรับเซียงสี นั้นได้รับพระราชทานนามเป็นหลวงศรีพระนครเตาเท้าเธอตำแหน่งเจ้าเมืองเตาอำเภอพยัคฆภูมิวิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบันนี้เอง ดังนั้นพ่อศรีนครเตาท้าวเธอซึ่งเป็นชอบท่องเที่ยวสันจรไปหามาสู่กับเพื่อนฝูงจนได้พบ ลำห้วยแก้ว ปัจจุบันบ้านกุดหวาย ก็คือบริเวณวัดเหนือโดยรอบนั่นเอง พ่อศรีนครเตาเท้าเธอได้รายงานขอพระราชทาน ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๓ ขอยกฐานะบ้านกุดหวายขึ้นเป็นเมืองและขอพระราชทานเมืองใหม่ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ สาม ทรงพิจารณานกุดหวายตั้งอยู่ใกล้ห้วยแก้วจึงพระราชทานนามเมืองว่าเมืองรัตนบุรี มาจนบัดนี้ ล่วงมาจนถึงบั้นปลายแห่งชีวิตของพระศรีนครเตาท้าวเธอ ท่านต้องพระอาญาหลวง เปิดพระราชสาสน์ลับที่ส่งมาจากเมือง กรุงศรีอยุธยา ไปเมือง จังหวัดอุบลราชธานียอมรับพระราชสาสน์เพราะเห็นว่ามีคนเปิดอ่านก่อนจึงส่งหนังสือนั้นคืนกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาสอบสวนสืบสวนแล้วปรากฏว่าราชสาสน์ถูกเปิดที่เมืองรัตนบุรี จึงเป็นความผิดของพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ จะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต เพราะล่วงเกินพระราชอำนาจของพระเจ้าอยู่หัวตามกฎหมายสมัยนั้น เมื่อพ่อศรีนครเตาท้าวเธอเห็นภัยจะมาถึงตัวจึงหนีไปบวชที่ วัดศรัทธาวารี ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

          ในปัจจุบันท่านเปลี่ยนชื่อว่า เท้าฌาย์เมย เพิ่อมิให้คนรู้จัก อยู่ที่วัดบ้านไพรขลา จนได้เป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ ๒ ของวัดบ้านไพรขลา ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกว่า เท้าฌาย์เมย ตลอดมา ท่านมรณภาพที่วัดบ้านไพรขลา ประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๘ สิริอายุ ๘๖ ปี ที่วัดบ้านไพรขลา สำหรับต้นโพธิ์มีหลายต้น แต่ไม่เหมือนต้นโพธิ์ต้นนี้ คือเมื่อคนเจ็บไข้ได้ป่วย ชอบ กิ่งก้าน หัก เหี่ยว คงจะเป็นที่เผาศพ พระศรีนครเตาเท้าฌาย์เมย อดีตเจ้าอาวาสวัดศรัทธาวารี ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์