วัดกุดตากล้า

               รหัสวัด ๐๔๓๕๐๔๐๓๐๐๒   ตั้งอยู่ที่เลขที่  ๑๔๐  หมู่ที่  ๒   บ้านกุดตากล้า  ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย   

ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๙ ไร่  ๓ งาน  ๑๒ เศษ ๙ ส่วน ๑๐ ตารางวา

อาณาเขต   

ทิศเหนือ                       จดทางสาธารณะประโยชน์

ทิศใต้                           จดที่ส่วนบุคคล

ทิศตะวันออก                  จดที่ส่วนบุคคล

ทิศตะวันตก                    จดทางสาธารณะประโยชน์

ประวัติวัด (โดยสังเขป)

               วัดกุดตากล้า  ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ เดิมชื่อวัดหนองตากล้า ก่อนหน้านั้นหมู่บ้านอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ณ ปัจจุบัน เนื่องจากเกิดไฟไหม้หมู่บ้านหลายครั้ง จึงได้ขยับย้ายขึ้นมาจากทางทิศใต้ มาตั้ง ณ ที่อยู่ปัจจุบันนี้ ต่อมาเจ้าอาวาสบางรูปท่านเห็นว่าชื่อวัดไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อว่า วัดเกษมราษฎร์บำรุง จนถึง พ.ศ. 2506-2515 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็นชื่อวัดกุดตากล้าจากนั้นเป็นต้นมา ผู้นำพาชาวบ้านสร้างวัดคือ นายฉังคะฮาด ได้มีภิกษุธรรม เป็นสมภาร

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

  • อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด ๗ x ๑๒  เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒
  • ศาลาการเปรียญเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้กว้าง ๑๗ x ๒๖ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕
  • หอสวดมนต์เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๘ x ๑๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๑ หลัง   อาคารไม้ จำนวน  ๓ หลัง
  • วิหารอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๔.๒๕ x ๔.๒๕ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗
  • ศาลาอเนกประสงค์เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๑๐ x ๑๒ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗
  • ศาลาบำเพ็ญกุศลเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๑๕ x ๒๐ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕

นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้

  • ฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง
  • หอระฆัง       จำนวน ๑ หลัง     
  • โรงครัวจำนวน ๑ หลัง
  • เรือนเก็บพัสดุ จำนวน ๑ หลัง 
  • ห้องน้ำ ๔  หลัง

ปูชนียวัตถุอื่นๆ มีดังนี้

– พระประธานประจำอุโบสถพระพุทธมิ่งมงคลปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๘ นิ้ว สูง ๕๗ นิ้ว  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔

– พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว สูง ๑ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒

-พระพุทธรูปปางมารวิชัยในศาลาการเปรียญ(๑) ขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๙๐ เมตร สูง ๑.๖๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑

-พระพุทธชินราชในศาลาการเปรียญ ขนาดหน้าตักกว้าง  ๑  เมตร  สูง  ๒.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗

-พระพุทธรูปปางประทานพร ในหอสวดมนต์ ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒๘  นิ้ว สูง  ๕๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗

-พระพุทธโสธรในวิหาร ขนาดหน้าตักกว้าง   ๑.๕๐  เมตร   สูง   ๒.๘๐  เมตร สร้างเมื่อ      พ.ศ. ๒๕๕๖

-พระพุทธรูปปางประทานพร ณ ลานธรรม ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๒.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙

-พระสิวลี ๒ องค์ ในศาลาการเปรียญ ขนาดฐานกว้าง  ๒๐  นิ้ว  สูง ๑.๙๐  เมตร สร้างเมื่อ    พ.ศ. ๒๕๖๓

-พระแก้วมรกตในศาลาการเปรียญ (๑) ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒๘  นิ้ว  สูง ๑.๘๐  เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘

-พระแก้วมรกตในศาลาการเปรียญ (๒) ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒๗  นิ้ว  สูง ๑.๖๐  เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔

-พระพุทธรูปปางมารวิชัย ในอุโบสถ  ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒๕  นิ้ว สูง  ๔๕  นิ้ว สร้างเมื่อ     พ.ศ. ๒๕๕๖

-พระพุทธรูปปางประทานพร ในอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒๕  นิ้ว สูง  ๔๕  นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖

-พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร ในอุโบสถ ขนาดฐานกว้าง  ๑๔  นิ้ว  สูง  ๔๑  นิ้ว สร้างเมื่อ    พ.ศ. ๒๕๕๖

-พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร ในศาลาการเปรียญ(คู่ที่ ๑) ขนาดฐานกว้าง  ๑๔  นิ้ว  สูง  ๓๘  นิ้ว สร้างเมื่อ    พ.ศ. ๒๕๓๑

-พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร ในศาลาการเปรียญ(คู่ที่ ๒) ขนาดฐานกว้าง  ๑๔  นิ้ว  สูง  ๔๐  นิ้ว สร้างเมื่อ    พ.ศ. ๒๕๔๗

การบริหารและการปกครอง

  • ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

ตามหลักฐานข้อมูลที่ปรากฏตั้งแต่เริ่มสร้างวัดมา ไม่ปรากฏว่ามีรูปใดเป็นเจ้าอาวาสที่ชัดเจน เพราะพระสงฆ์ในยุคนั้นท่านมาอยู่ไม่นานแล้วก็จากไป มีเพียงแต่รายนามพระสงฆ์ที่อยู่ดูแลวัดในช่วงเวลานั้นๆแต่จะมีปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนในยุคหลัง ๆ

  • ยาครูธรรม  ธมฺมจาโร  ช่วงปี  ๒๔๑๓ –๒๔๒๑

ช่วงระหว่างนี้เกิดไฟไหม้หมู่บ้าน-และวัด จึงย้ายหมู่บ้านจากที่เดิมมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้

  • ท่านยาครูดี ช่วงปี  ๒๔๒๕ –๒๕๓๔             
  • พระหมี ช่วงปี  ๒๔๓๔ –๒๔๕๕
  • พระเสียง  รากทอง ช่วงปี  ๒๔๕๕ –๒๔๕๗             
  • พระบุญ พรมศรี ช่วงปี  ๒๔๕๙ – ๒๔๖๗
  • พระที  พลใส ช่วงปี  ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘             
  • พระอินทร์  จำเดิมสุข ช่วงปี  ๒๔๖๙ – ๒๔๗๔              
  • พระขันธุ์  ใจสะอาด ช่วงปี  ๒๔๗๔ – ๒๔๗๖             
  • พระปลัดสัง  ธมฺมจาโร ช่วงปี  ๒๔๗๖ – ๒๔๗๘              
  • พระพันธ์  ดำงาม ช่วงปี  ๒๔๗๙ – ๒๔๘๒                   
  • พระสุดใจ เสาร์ทอง ช่วงปี  ๒๔๘๓ – ๒๔๘๕             
  • พระคต  หาญชนะ ช่วงปี  ๒๔๘๕                               
  • พระบุญ  ทรงกฏ ช่วงปี  ๒๔๘๕           

ข้อมูลช่วงนี้ขาดหายไป

  • พระสิงห์ ช่วงปี  ๒๕๐๐ – ๒๕๒๕  ระหว่างนี้มีพระปุ้ย  อริโย และพระหลายรูปสับเปลี่ยนกันดูแลวัดแทน       
  • พระอธิการชู  สจฺจวโร ช่วงปี ๒๕๓๐ – ๒๕๔๕   
  • พระโส  อมโร รักษาการเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ – ๒๕๕๖
  • พระอธิการสมพงษ์ ปญฺญาวชิโร   เป็นเจ้าอาวาส ช่วงปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๕
  • พระมหาสุพรรณ์  วิสารโท  ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสงเปือยด้วย

ประวัติพระมหาสุพรรณ์  วิสารโท

ชื่อพระมหาสุพรรณ์    ฉายา  วิสารโท   นามสกุล  อินทมาส   อายุ  ๔๖  พรรษา  ๒๒

วิทยฐานะ  ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, ศน.บ., ศษ.ม.

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสงเปือย, เจ้าอาวาสวัดกุดตากล้า  ตำบลสงเปือย   อำเภอคำเขื่อนแก้ว   จังหวัดยโสธร ๓๕๑๑๐

อุปสมบท

เมื่อวันที่  ๑๐  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๔๖  ณ พัทธสีมาวัดกุดตากล้า  ตำบลสงเปือย  อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

  • พระอุปัชฌาย์   พระครูรัตนาภิมุข วัดโนนม่วง  ตำบลกุดกุง  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร
  • พระกรรมวาจาจารย์  พระครูโสภิตชาครธรรม  วัดทรายงาม ตำบลกุดกุง  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร
  • พระอนุสาวนาจารย์ พระอธิการเรียบ  กตทีโป  วัดศิริราษฎร์พัฒนา ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร