

วัดสำราญ
วัดสำราญ ตั้งอยู่ที่ 23 หมู่ 3 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
อาณาเขต
ทิศเหนือ อยู่ติดกับบ้านทุ่งใหญ่ ต.ขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และบ้านนาดี ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล
ทิศใต้ อยู่ติดกับบ้านหัวเรือหมู่ที่ ๑๑ และบ้านหัวเรือทอง หมู่ที่ ๑๖
ทิศตะวันออก อยู่ติด อ่างเก็บน้ำชลประทานหนองช้างใหญ่ ต่อเขตบ้านนาดี ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ
ทิศตะวันตก อยู่ติดกับบ้านนาไหทอง ต.ขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติวัด (โดยสังเขป)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ นายบัว ภิญโญ ผู้ใหญ่บ้านสำราญ คนที่ ๕ ได้นำพาญาติโยมชาวบ้านสำราญ ที่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาประชุม โดยปรารภว่าวัดหัวเรืออยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านสำราญ ยากลำบากในการเดินทางบำเพ็ญบุญกศล จึงได้ดำริประสงค์จะสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้านสำราญ
โดยเริ่มแรกได้มีผู้ประสงค์จะบริจาคที่ดินใช้สำหรับสร้างวัด ดังนี้
๑. แม่ใหญ่หนู – พ่อใหญ่มา สายแวว ได้บริจาคที่ดินบริเวณโนนไทย แต่ชาวบ้านเห็นว่าอยู่ด้านข้างหมู่บ้าน และใกล้เขตบ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะกลิ่นอาหารหรือกลิ่นต่าง ๆ อาจลอยลมไปเป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญเพียรของพระภิกษุสงฆ์จึงยังไม่สร้างวัดในที่นั่น
๒. พ่อใหญ่ลี – แม่ใหญ่ป้อง ชูหา ได้บริจาคที่ดินบริเวณทางทิศใต้ของหมู่บ้าน แต่ในที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นว่ายังไม่เหมาะสมอีกเช่นกันจึงยังไม่สร้างวัดในที่นั้น
๓. พ่อใหญ่หนู – แม่ใหญ่มา อยู่สุข ได้บริจาคที่ดินบริเวณทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน และชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นว่าสมควร และเหมาะสมที่สุดแล้ว จึงมีความเห็นตรงกันสร้างวัดขึ้นในที่นั้น และเป็นที่ตั้งวัดบ้านสำราญมาจนปัจจุบันนี้
หลังจากที่เริ่มสร้างวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ นายคำใบ สายแวว ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านสำราญ ก็ได้รับใบประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา โดยได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดสำราญ
ในการก่อสร้างวัดในเบื้องต้นนั้นโดยนับ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้มี หลวงพ่อพระครูศาสนกิจจาทร (พ่อท่านทอง) เจ้าอาวาสวัดหัวเรือ ได้นำพาญาติโยมชาวบ้านสร้างถาวรวัตถุและให้คำปรึกษาต่าง ๆ และได้เมตตาส่งพระภิกษุในวัดหัวเรือมาอยู่ดูแลเสนาสนะและเจริญศรัทธาและปกครองคณะสงฆ์วัดบ้านสำราญพอทราบนามดังนี้
๑. ญาครูเหล็ก
๒. พ่อครูสี ฐานวโร
อาคารเสนาสนะ
อุโบสถ
ศาลาการเปรียญ
หอระฆัง
กุฏิสงฆ์
ซุ้มประตูโขง
ประวัติหมู่บ้านสำราญ
ประวัติหมู่บ้านสำราญ หมู่ที่ 7 ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บ้านสำราญ ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2441 ก่อตั้งในวันอาทิตย์ที่ 15 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2441 ตรงกับวัน ข้างแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. 1260 , ค.ศ. 1898 , ม.ศ. 1820 , ร.ศ. 117 บ้านสำราญตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตำบลหัวเรือ
แต่ก่อนมีชื่อว่าบ้าน ดอนบักเง็ก ตามประวัติที่เล่าขานสืบต่อกันมามีช้างพลายตัวใหญ่เดินพลัดหลงมานอนตายอยู่ที่หนองน้ำ ประกอบกับสภาพบ้านมีดอนจำนวนมาก บางคนจึงเรียกบ้านดอน ต่อมาประมาณปี 2500 มีปลัดชื่อว่า ชู เข้ามาพัฒนาหมู่บ้าน จึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านว่า บ้านสำราญ เพราะเห็นว่าประชาชนในหมู่บ้านมีความสุขสำราญ มีหนองน้ำที่อุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตร ปี 2530 ทางการเห็นว่าหนองน้ำนี้สามารถทำเป็นชลประทานสำหรับจ่ายน้ำให้กับหมู่บ้านอื่นใช้ด้วย จึงทำอ่างเก็บน้ำชลประทานหนองช้างใหญ่ขึ้นมาอย่างเป็นรูปแบบ มีคลองจัดส่งน้ำ ต่อมาโครงการพัฒนาต่าง ๆ เริ่มเข้ามา ปี 2535 มีโครงการทำถนนลาดยางเข้ามาในหมู่บ้านเป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร ทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น ในการเข้าออก รวมทั้งเส้นทางนี้ใช้ให้หมู่บ้านอื่นสัญจรเป็นทางผ่านเข้าสู่เมือง
ผู้คนในหมู่บ้านมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ส่วนอาชีพรองทำสวนพริก ปลูกผัก รับจ้างทั่วไป
สถานที่ตั้ง ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานีไปทางทิศเหนือประมาณ 17 กม. การเดินทางเข้าหมู่บ้านใช้
ทางหลวงหมายเลข 121 (ชยางกูล) เลี้ยวเข้าทางทิศตะวันออก
ทิศเหนือ อยู่ติดกับบ้านทุ่งใหญ่ ต.ขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุบลฯ และบ้านนาดี ต.ยางสักฯ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบล
ทิศใต้ อยู่ติดกับบ้านหัวเรือหมู่ที่ 11 และบ้านหัวเรือทอง หมู่ที่ 16
ทิศตะวันออก อยู่ติด อ่างเก็บน้ำชลประทานหนองช้างใหญ่ ต่อเขตบ้านนาดี ต.ยางสัก อ.ม่วงสามสิบ
ทิศตะวันตก อยู่ติดกับบ้านนาไหทอง ต.ขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุบลฯ
ความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้านเป็นแบบพี่น้อง ส่วนใหญ่เกือบ 100 % นับถือศาสนาพุทธ ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพเป็นที่ราบ เนื้อดินมี 3 ลักษณะ คือ ดินทรายปนดินร่วน หรือดินทราย ดินเหนียวดินร่วมปนทราย
ระบบการใช้น้ำในหมู่บ้านแต่ก่อน ระบบในชุมชนจะเป็นระบบบ่อสร้างและน้ำบาดาล ใช้น้ำดื่มจากการรองน้ำฝน เก็บไว้ในโอ่งเก็บไว้กินตลอดปี จนมา พ.ศ. 2545 มีระบบประปาหมู่บ้านเข้ามา โดยใช้น้ำจากหนองช้างใหญ่เป็นหลัก ชาวบ้านจึงหันมาใช้ระบบส่งน้ำแบบประปา ปัจจุบันส่งกระจายเกือบทั่วหมู่บ้าน แต่น้ำในการทำการเกษตรยังใช้น้ำจากบ่อสร้างและน้ำบาดาลอยู่
ระบบสุขภาพของชุมชนสมัยก่อนถ้าไม่เป็นอะไรที่ร้ายแรง ก็พึ่งหมอเป่าในการรักษาไม่ว่าจะเจ็บป่วยอะไรที่ไม่รู้สาเหตุก็จะไปหาหมอเป่า ซึ่งมีอยู่ประจำหมู่บ้าน หรือต่างหมู่บ้านก็มีเพียงค่าคาย เมื่อหายจากการเจ็บป่วยแล้ว เมื่อมีโครงการพัฒนาเข้ามามาก มีระบบคลินิกเข้ามาในหมู่บ้านการรักษาจึงหันมาใช้แผนปัจจุบันมากขึ้น จนปัจจุบัน การรักษาแบบเป่าจะไม่มีเลย กลับกลายเป็นว่าจะไปรักษาแพทย์แผนปัจจุบันก่อน ถ้าไม่หายไม่ทราบสาเหตุจริง ๆ ถึงจะหาหมอเป่า หมอยาพื้นบ้านแพทย์ทางเลือก
ระบบการปกครองผู้นำ รายชื่อผู้ใหญ่บ้าน ตามลำดับดังนี้
๑.ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายทอก ภิญโญ
๒.ผู้ใหญ่บ้านสิงห์ทอง สุบุญ
๓.ผู้ใหญ่บ้านหนู อยู่สุข
๔.ผู้ใหญ่บ้านกุ สุหงษา
๕.ผู้ใหญ่บ้านบัว ภิญโญ
๖.ผู้ใหญ่บ้านวันทอง สายแวว
๗.ผู้ใหญ่บ้านคำใบ สายแวว
๘.ผู้ใหญ่บ้านไพรศิริ จิตรสิงห์
๙.ผู้ใหญ่บ้านมีชัย สายแวว
๑๐.ผู้ใหญ่บ้านบุญมา อยู่สุข (คนปัจจุบัน)
ข้อมูลปี 2555 บ้านสำราญมีจำนวนครัวเรือน 186 ครัวเรือน มีจำนวนประชากร 816 คน เป็นชาย 418 คน เป็นหญิง 398 คน
ระบบการผลิตแต่ก่อนผลิตเพื่อยังชีพ ทั้งทำนาและเพราะปลูก มาประมาณปี 2540 การปลูกพริกหัวเรือได้กระจายไปทั่วตำบล รวมทั้งชาวบ้านสำราญ ถือว่าเป็นหมู่บ้านแรกหันมาปลูกพริกเพื่อส่งออกจนช่วงนั้นเป็นยุคที่เฟื่องฟูของพริกหัวเรือได้กระจายไปทั่วตำบล รวมทั้งบ้านสำราญถือว่าเป็นหมู่บ้านแรกๆ หันมาปลูกพริกเพื่อส่งออก จนช่วงนั้นเป็นยุคที่เฟื่องฟูของพริกหัวเรือ จนมาได้ประมาณ 6-7 ปี ก็ซาลงเพราะราคาตกต่ำ จนพืชผักสวนครัวเข้ามามีบทบาทสำคัญในประมาณปี 2548 ชาวบ้านหันมาปลูกผักมากันมาก มีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามารับซื้อ นำไปขายในตลาด อ.เมือง , อ.วารินฯ และอำเภออื่นใกล้เคียง มักปลูกพืชได้แก่ ผักกาด ผักกะหล่ำ หัวหอม ผักบุ้ง ผักคะน้า เป็นส่วนใหญ่
*** เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่นำถือ ศาสนาพุทธ วัดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ เมื่อประมาณปี 2536 วัดเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน เพราะทางการได้มีโครงการสร้างตึกโรงเรียนใหม่จึงต้องใช้วัดเป็นโรงเรียนเกือบ 2 ปี โรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2538 จึงย้ายนักเรียนกลับเข้ามาเรียนตามปกติ วัดจึงเป็นสถานที่รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านเป็นที่สังเคราะห์จิตใจของคนและพระสงฆ์ เป็นสถานที่จัดกิจกรรม เช่น การเลือกตั้ง และบุญประเพณีต่าง ๆ ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลาวัดขึ้นใหม่ เมื่อปี 2547 ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จจึงต้องอาศัยเงินจากผู้ที่มีจิตศรัทธาในการทำบุญ ทั้งผ้าป่า บุญกฐิน หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ ก็จะมีบริจาคทานเพื่อสร้างศาลาวัด สังคมกับหมู่บ้านปัจจุบันจึงเป็นการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อให้เป็นสังคมเมืองมากขึ้นผู้คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เริ่มจะอาศัยเป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น คือ เริ่มอยู่ตัวใครตัวมันมากขึ้นไม่ข้องเกี่ยวกันมาก ส่วนคนรุ่นอายุ 30 ปี ขึ้นไปยังคงรักษาความสัมพันธ์แบบพึ่งพากันเหมือนสมัยก่อนเหมือนในยุคปัจจุบันตามยุคโลกาภิวัตน์ ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด การสื่อสารเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาจำนวนมากตรงตามการพัฒนาที่ทำให้ชนบทกลายเป็นเมืองอย่างเห็นได้ชัดในหมู่บ้านสำราญ
คำขวัญบ้านสำราญ
บ้านสำราญ มีหนองช้างใหญ่
โนนไทแหล่งอารยธรรม เกษตรกรรมนำชุมชน
ผู้คนไฝ่ธรรมะ มีพระนักพัฒนา
นำพาบวรประสาน สืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรม
พระประธานในอุโบสถ นาม
พระพุทธสัมฤทธิ์เทพประสิทธิ (หลวงพ่อสำริดเทพประสิทธิ)
เททองหล่อเนื้อสำริด หน้าตัก ๕๙ นิ้ว ศิลปะล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิคู่หมู่บ้านสำราญ
วัดสำราญ


พระประธานภายในศาลาการเปรียญ
วัดสำราญ

พระปลัดอภิเชษฐ์ โกสโล
เจ้าอาวาสวัดสำราญ


อุโบสถ
วัดสำราญ


ศาลาการเปรียญ
วัดสำราญ

หอระฆัง
วัดสำราญ

กุฏิสงฆ์
วัดสำราญ

อาคารเสนาสนะ
วัดสำราญ

ศาลาเอนกประสงค์

กุฏิรับรอง

กุฏิชีวาอภิบาล

บริเวณลานธรรม
หอพระธรรม ก้าวโกฦ
วัดสำราญ

กุฏิเจ้าอาวาส
วัดสำราญ

ซุ้มประตูโขง
วัดสำราญ

งานบุญประจำปี
วัดสำราญ


บุญคุณลาน บายศรีสู่ขวัญกุ้มข้าวใหญ่ จัดงานบุญ ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี


บุญข้าวจี่ จัดงานบุญในวันมาฆบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี


งานบุญตรุษสงกรานต์ ทำบุญบังสุกุลรวมญาติ, ทำบุญก่อเจดีย์ทราย,ตักบาตรถนนสายวัฒนธรรม,สรงน้ำพระและรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ในชุมชนคุณธรรมบ้านสำราญ ในวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี


งานบุญเดือน ๔ กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ แห่กัณฑ์หลอนฟ้อนม่วนๆ จัดงานวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ ของเดือนมีนาคม ของทุกปี



บุญเดือน๖ ประเพณีบุญบั้งไฟสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมและทำบุญตักบาตรทำวัตรเวียนเทียน วันวิสาขบูชา ขึ้น๑๕ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี

บุญเดือน๗ บุญซำฮะเบิกบ้าน คนในชุมชนบ้านสำราญร่วมใจกันประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์หลักบือบ้านกลางหมู่สำราญทำบุญตักบาตรส่งทงหน้าวัวที่โนนไท จัดงานบุญช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนของทุกปี

บุญเดือน๘ บุญเข้าพรรษา
พิธีแห่เทียนพรรษา ทำบุญตักบาตรถวายไทยธรรมเครื่องจำนำแด่พรรษาพระภิกษุสงฆ์


บุญเดือน๙ บุญข้าวประดับดิน
ส่งห่อข้าวน้อยในบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไป ในช่วงเวลา ตี ๑ในวันแรม ๑๔ เดือน ๙ ของทุกปี

บุญเดือน๑๑ บุญออกพรรษา กิจกรรมจุดประธูปประทีปบูชา ,จับฉลากการกุศล ฟังเทศน์เทศกาลวันออกพรรษา และ ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ของทุกปี