ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

Wat Saeng Sa-wang Rat Bamrung Buachet Subdistrict Buachet District Surin Province

ความเป็นมา

ได้ฟังจากบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย และพ่อแม่ เล่าต่อๆกันมาว่า มีชาติพันธุ์ หลายเผ่าพันธุ์หลายภาษาได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากหลายที่ ซึ่งในขณะนั้น ภูมิศาสตร์ยังเป็นป่าดงดิบ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่าและต้นไม้นานาพันธุ์ ลักษณะพื้นดินในสมัยนั้น เป็นที่ดอนมีหนอง คลอง บึง โดยรอบ และในตอนนั้น ได้มีต้นโพธิ์ต้นหนึ่งซึ่งมีกิ่งก้านสาขาแตกใบ เป็นร่มเงามีผลบางฤดู ทำให้มีสัตว์นานาชนิด มากินและอาศัย และในสมัยโบราณได้มีหนองน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่บรรดาสัตว์ป่าได้มาอาศัยดื่มกิน หนองน้ำแหล่งนี้ โดยเฉพาะแรด ที่มีชุกชุมบริเวณป่ารอบหนองน้ำแห่งนี้ (หนองระมาดค้อทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า “ระมาดค้อ”  เป็นภาษาท้องถิ่นเขมร มาจากคำว่า 

ระเมี๊ยะ หรือ ระมาด หมายถึง แรด,  กัว หรือ ค้อ หมายถึง การอยู่รวมกันเป็นฝูงหรือกอง

วัดแสงสว่างราษฎร์บำรุง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ชาวบ้านเรียกว่า “วัดระมาดค้อ”  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๓  เมตร ยาว ๑๖ เมตร

สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  

ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๑๑ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา

อาณาเขต

ทิศเหนือ จรดที่นา นายแมน อินทจักร

ทิศใต้ จรดทางสาธารณะ

ทิศตะวันออก จรดที่นา นายมี วันมงคล

ทิศตะวันตก  จรดทางสาธารณะ (ทางหลวง)

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

๑. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ 

๒. ศาลาการเปรียญ

๓. กุฏิสงฆ์ ๒หลัง

๔. อาคารศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ๒ หลัง

๕. สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ว.พ.ช.) คลื่น FM ๑๐๔.๒๕ MHz

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามดังนี้

รูปที่ ๑  พระแก้ว พ.ศ .๒๔๘๕ – ๒๔๙๙

รูปที่ ๒  พระเส็ง พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๑

รูปที่ ๓   พระคำ ธมฺมโชโต พ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๐๓

รูปที่ ๔   พระล้อม      พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๕

รูปที่ ๕   พระกลัน พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๐๖

รูปที่ ๖   พระเปล มหาวีโร  พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๐

รูปที่ ๗  พระลาม  พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔

รูปที่ ๘   พระโพน พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๘

รูปที่ ๙   พระกลอน พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๐

รูปที่ ๑๐ พระคืน พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๔

รูปที่ ๑๑ พระแวง สิกฺขาสโภ พ.ศ .๒๕๒๔- ๒๕๓๐

รูปที่ ๑๒พระครูโอภาสธรรมพิทักษ์,ดร. พ.ศ.๒๕๓๐ – ถึงปัจจุบัน