ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

Wat Prasat Mechai Kra Team Subdistrict, Sangkha District, Surin Province

ความเป็นมา

จากการบันทึกและคำบอกเล่าของคนแก่และชาวบ้านจากความเป็นมาเท่าทีจำได้ มีดังนี้  ตรงที่พักสงฆ์วัดปราสาทมีชัยมีแหล่งวัตถุโบราณต่างๆ เช่นมีพระพุทธรูปเก่าแก่จำนาวมาก และมีไหต่างๆนาๆชนิดจำนวนมาก  คงจะมีความเป็นในสมัยปราสาทขอมก็ว่าได้  และปราสาทศิลาแลงหรือนักวิชาการโบราณคดีเรียกว่า ปราสาทโครา เป็นที่บำบัดรักษาโรคต่างๆในสมัยนั้น ต่อมาจากการบอกเล่าจากคนเฒ่าสมัยนั้นว่า มีพระรูปหนึ่งได้เข้ามาพำนัก ชื่อว่าพระเถระสาน ไม่ทราบฉายา ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๒ มีชาวบ้านสร้างบ้านเรือนอาศัย ๒ – ๓  ครอบครัว เท่าที่จำได้มีชาวบ้านชื่อว่า นายสมบูรณ์ ชุนกล้า

ต่อมาเกิดความอดยากลำบากทำมาหาเลี้ยงชีพไม่ได้จึงย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่ยังมีพระประจำอยู่ที่ปราสาทโคราแห่งนี้ ต่อมาปี ๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ ก็มีชาวบ้านย้ายเข้ามาพร้อมกับมีพระอยู่เช่นเคยเพียงไม่กี่ครอบครัว  และสมัยนั้นเองได้เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรงทำให้ชาวบ้านล้มป่วยเจ็บตาย ( อันสืบเนื่องมาจากเจ้าที่แรง )ชาวบ้านจึงย้ายออกจากที่ตรงบริเวณวัดแต่ก็อยู่ไม่ไกลจากบริเวณวัด(อาจเป็นบ้านหมื่นชัยในปัจจุบัน) การดำรงชีพก็ไม่ราบรื่นโจรผู้ร้ายชุกชุมสร้างความลำบากแก่ผู้ข้าอยู่อาศัย และอยู่ไม่ได้ก็กลายเป็นป่าร้าง ต่อมาปี  พ.ศ.๒๔๘๙ ก็มีชาวบ้านเข้ามาอยู่อีก ครั้งนี้อยู่ได้นานมีพระมาอยู่เหมือนเดิมแต่ไม่ทราบนาม ชาวบ้านที่เข้าไปอยู่ชื่อนาย บุญ หรือนายสมบูรณ์ ชุนกล้า

และครอบครัวเพื่อนบ้าน ต่อมาการก่อตั้งวัดก็เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓  สมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่าปราสาทมีบ้านหมื่นชัย – บ้านถนน ร่วมกันสร้างมาโดยตลอด  และมีพระจวบได้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสเป็นเจ้าคณะตำบลกระเทียม ได้สร้างศาลา กุฏี  เพื่อสำหรับปฏิบัติธรรม และท่านพยายามเดินเรื่องตั้งวัดให้ถูกต้องตามกฎหมายเถระสมาคมฯและภายหลังท่านมรณภาพเอกสารเหล่านั้นได้หายไป แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกว่าวัดปราสาทมีชัย (ปรากฏมีปราสาทเก่าแก่มากมายปรากฏอยู่และมีหมู่บ้านหมื่นชัยอยู่บริเวรใกล้ๆวัดประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร)และขณะนี้ทางวัดกำลังเดินเรื่องที่ดินของวัดเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อ

รายนามท่านเจ้าอาวาสนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

  1. พระสาร (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ.๒๔๘๓
  2. พระหมื่นวัย (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ.๒๔๘๔                                                                                        
  3. พระมีชัย  (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ.๒๔๙๙

ต่อมาชาวบ้านกับพระเกิดมีภัยธรรมชาติ คุกคามอดอยากจึงย้ายออกไปตั้งบ้านเรือนใหม่ในปัจจุบัน คือบ้านหมื่นชัย บ้านถนนในปัจจุบันนี้ จึงกลายเป็นวัดร้างในระยะหนึ่ง

๔. พระมวน (ไม่ทราบฉายา) ได้เข้ามาบูรณะสร้างกุฎิพร้อมชาวบ้านให้ความร่วมมือในการสร้าง

๕. พระครูประจวบ (พระครูกัลญาธรรมกิตติ์) ได้เข้ามาอยู่เป็นทางการและได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ จัดปริวาสปฎิบัติธรรม โครงการภาคฤดูร้อนนานประมาณ ๑๐ พรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขา กิจกรรมต่างๆก็หายไป

๖. พระดัน เข้ามาอยู่ระยะหนึ่ง ท่านก็มรณภาพ

๗. พระมวด ปญฺญาวชิโร พ.ศ. ๒๕๔๓ รักษาการเจ้าอาวาส แต่ไม่นานก็ลาสิกขาและพระวัน  พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็ย้ายสังกัดวัด

๘. หลวงตาริน คำสังเจ้าคณะตำบลให้มารักษาการแทนเจ้าอาวาสแต่ด้วยความชราท่านก็ไม่สามารถที่จะไม่ ไปใหนต่อใหนได้

๙. พระพอย อนุตตฺโร พ.ศ. ๒๕๕๒ เข้ามาบูรณะและรักษาการดูแล วัดปราสาทมีชัย และกำเดินเรื่อง

๑๐. พระบุญเสร็จ จนฺทสาโร พ.ศ. ๒๕๕๙ เข้ามารักษาการเจ้าอาวาสแทน พระพอย อนุตฺตโร             (ลาสิกขา) เกี่ยวกับวัดและอื่น ๆ อีกหลายด้านในปัจจุบัน