ตำบลบ้านจารย์  อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

Wat Prasat Ban Chan Ban Chan Subdistrict, Sangkha District, Surin Province

ความเป็นมา

            มูลเหตุแห่งที่มาของชื่อ  คือ อาณาเขตของวัด ทางทิศเหนือของวัด  มีปราสาทโบราณ ชื่อว่า ปราสาทสังข์สิญชัย  เป็นที่มาของวัดปราสาทบ้านจารย์  เพราะอยู่ติดกับวัดและอยู่ใกล้บ้านจารย์  หมู่ที่ ๑  ตำบลบ้านจารย์ อ.สังขะ จังหวัดสุรินทร์ 

            วัดปราสาทบ้านจารย์  อยู่ในสภาพฐานะคงทนแข็งแรง และที่ของวัดอยู่ในทำเลที่เหมาะสม คือ ไม่ไกล และไม่ใกล้จากหมู่บ้านนัก  ชุมชนไปมาสะดวก  ที่วัดตั้งของวัดปราสาทบ้านจารย์ เลขที่ ๕๔ หมู่ที่ ๑  ตำบลบ้านจารย์ อ.สังขะ จังหวัดสุรินทร์  สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๙ และได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕

           ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งวัด โดยเป็นข้อมูลที่ได้มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่เล่าลือต่อกันมาจากความทรงจำวัดปราสาทบ้านจารย์  เลขที่ ๕๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านจารย์ อ.สังขะ จังหวัดสุรินทร์  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๓๗ ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๔๔ ไร่ (แปลง ๔๔ไร่ เป็นสาธารณะประโยชน์แล้ว ) อาคารเสนาสนะประกอบด้วย มีโบสถ์หลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๙ แต่ปัจจุบันนี้ได้ พุพังแล้วสร้างอุโบสถ์หลังใหม่ทับหลังเก่า 

พระครูสังฆพงษ์พิสุทธิ์ เป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะอำเภอ องค์แรกของอำเภอสังขะ เจ้าอาวาสถัดมาไม่มีใครทราบ  ทางทิศเหนือของวัดมีปูชนียวัตถุปราสาทโบราณเก่าแก่สร้างเมื่อสมัยขอมเรืองอำนาจ มีชื่อว่าปราสาทสังข์สินชัย  เป็นที่กราบไหว้ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

การบริหารการปกครองของวัดปราสาทบ้านจารย์ มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

รูปที่ ๑ พระครูสังฆพงษ์พิสุทธิ์

รูปที่ ๒ พระอธิการเปรม  อาภาภิรฺโต

รูปที่ ๓ พระครูปัญญาวิทิต  เจ้าคณะตำบลบ้านจารย์

รูปที่ ๔ พระครูพิศาลสุวรรณคุณ เจ้าอาวาสปัจจุบัน

ในวันที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ทางวัดปราสาทบ้านจารย์ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ก่อสร้างครอบ อุโบสถ์หลังเก่าที่ชำรุด โดยอาศัยพลังสามัคคีของชาวบ้านและคณะกรรมการวัดพร้อมภิกษุสามเณร ในวัดปราสาทบ้านจารย์ และผู้มีจิตศรัทธา ในตำบลบ้านจารย์ และตำบลใกล้ไกล ชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จัดผ้าป่าสามัคคีมาสร้างจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖  ด้วยแรงศรัทธาจากคณะสงฆ์ คณะกรรมการวัด คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะผ้าป่าทุกสายทุกจังหวัด และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมแรงร่วมใจดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์  จึงได้มีการจัดฉลอง

กำหนดจัดงานยกช่อฟ้าวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึง วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓  

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย (ปราสาทบ้านจารย์)

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัยหรือประสาทบ้านจารย์ ปราสาทสังข์ศิลป์ชัยตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านจารย์ อำภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์  อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ทำการ อบต.บ้านจารย์ เป็นศิลปะแบบขอม มีทับหลังรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่สวยงาม ตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ มีทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย หรือปราสาทบ้านจารย์ มีลักษณะเป็นปราสาทองค์เดียวหลังค่อนข้างใหญ่ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมสิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูง ปัจจุบันหักพัง หลังคาทลายลงมาเหลือผนังบางส่วนและกรอบประตูด้านทิศตะวันออก สิ่งสำคัญของปราสาทหลังนี้คือ ทับหลังที่พบบริเวณด้านหน้า มีขนาดใหญ่กว่าที่พบทั่วไป คือ ขนาดยาว 2.70 เมตร สูง 1.10 เมตร และหนา 0.85 เมตร ตรงกลางสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่าร่ายรำ พนมมือประกอบ แนวทับหลังตอนบนเป็นภาพเทพพนมในซุ้มเรือนแก้ว 10 ซุ้ม เรียงกัน นอกจากนี้ ยังพบเสาประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยม จำหลักรูปฤษีนั่งอยู่ภายในซุ้มบริเวณโคนเสาด้วย[1]

ปูชนียสถานที่สำคัญวัดปราสาทบ้านจารย์

รูปเหมือนหลวงปู่อ๊อม (พระครูสังฆพงษ์พิสุทธิ์) ท่านเป็นพระที่ทรงด้วยศีลเคร่งในหลักปฎิบัติทางพระพุทธศาสนา ได้เล่ากันว่า ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปราสาทบ้านจารย์ เป็นที่เกรงกลัว  เกรงขามของชุมชน และท่านเป็นที่เคารพศรัทธามาก ท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอสังขะองค์แรก ท่านปกครองดูแลวัด ๒ วัดด้วยกัน คือ ๑. วัดปราสาทบ้านจารย์  ๒. วัดโพธาราม อำเภอสังขะ 

อุโบสถวัดปราสาทบ้านจารย์ สร้าง พ.ศ. ไม่มีใครทราบ เพราะสอบถามผู้สูงอายุแล้วสภาพของอุโบสถหลังเก่า เท่าที่จำได้ยกพื้นสูงขึ้น  เสาไม้รอบข้างก่อด้วยอิฐ  ฐานกลางเป็นสถูปเจดีย์ โครงสร้างมุงด้วยหญ้าคา  ต่อมาอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมตามอายุการใช้งาน ได้ซ่อมแซมอุโบสถใหม่ด้วยการก่อบล็อกฉาบปูน เทพื้น สร้างฐานพระประทานใหม่แทนสถูปจดีย์เก่า เนื่องจากปลวกขึ้นมาก  โครงสร้างมุงลังคาสังกะสี  ต่อมาวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙  พระอธิการสุวรรณ์  มหาคุโณ ร่วมกับกรรมการวัด  พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ได้พร้อมใจการสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่า โดยสร้างอุโบสถครอบหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม  เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒  จัดงานยกช่อฟ้า และฉลองอุโบสถ ขึ้นในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รวม ๗ วัน ๗ คืน

ศาสนวัตถุ / ความเลื่อมใสศรัทธา และเคารพบูชา

ศาสนวัตถุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ในวัดอันเป็นที่เคารพบูชาและเลื่อมใสศรัทธาของผู้ในชุมชน 

  • ศาลเจ้าปู่เจริ๊ด  เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ในบริเวณวัด ติดกับกำแพงแก้ว ทิศใต้ของ

อุโบสถ ผู้คนในละแวกนั้นนับถือมาก บ่นบานศาลกล่าวไว้  กับศาลเจ้าปู่เจริ๊ด ก็จะอำนวยอวยพรสำเร็จได้ตามเจตนา ในวัดจะจัดกิจกรรมอะไรหรือจะดำเนินการทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งภายในวัดก็จะต้องบอกกล่าวให้ท่านรู้ให้ท่านทราบก่อนมิฉะนั้นแล้ว จะได้รับผลสำเร็จได้ ศักดิ์สิทธิ์มากลักษณะเจ้าปู่เจริ๊ด  เป็นไม้แกะสลักลายไทย ๑ คู่ ทราบว่า เป็นหลักปักไว้ให้รู้ว่าที่ตรงนี้ เป็นที่ฝังอิฐ พระ ๒ รูป รูปที่ ๑ มีชื่อว่า หลวงตาเมาะ  รูปที่ ๒  ชื่อว่า หลวงตาไมย์  ฝังอิฐไว้แล้วเอาไม้ที่แกะสลักไว้ เป็นที่สักการบูชาของคนทั่วไปที่ไปเยี่ยมวัดปราสาทบ้านจารย์