
วัดโพธิ์ตาก
ดโพธิ์ตาก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๘ หมู่บ้านโพธิ์ตาก ถนนวิพากษ์ ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี (อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร) สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๕๓ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๕๐๓๓๕ เล่มที่ ๕๐๔ หน้า ๓๕ ได้รับเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดแม่น้ำมูล ความยาวประมาณ ๑๘๐ เมตร
ทิศใต้ จดถนนวิพากษ์ ความยาวประมาณ ๑๘๐ เมตร
ทิศตะวันออก จดลำห้วยพอก ความยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร
ทิศตะวันตก จดถนนราชมนตรี ความยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร
อาคารเสนาสนะ
๑. อุโบสถ ความกว้างขนาด ๗ เมตร ยาว ๑๗ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทยประดับลวดลายไทย สร้างขึ้นใหม่ใน พ.ศ.๒๕๒๑ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๒๔แทนอุโบสถหลังเก่าซึ่งรื้อถอนไปแล้ว
๒. ศาลาการเปรียญ ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ลักษณะทรงไทย สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง เสาล่างปูน – บนเป็นไม้เนื้อแข็ง สร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๕๐๐ ต่อมาในปี๒๕๔๓ ได้ทำการบูรณะต่อเติมยกให้พื้นสูงใช้งานได้ 2 ชั้น ต่อเติมให้กว้างขวาง ขนาดความกว้าง ๒๑ เมตร ยาว ๓๘ เมตร
๓. วิหารประจำวัดหนึ่งหลัง ขนาดความกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ลักษณะทรงไทยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคามุงกระเบื้องซีแพ็คก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายไทย สร้าง พ.ศ.๒๕๔๘
๔. ศาลาบำเพ็ญกุศล (ศาลาคู่เมรุ) ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๔๕ เมตร ลักษณะทรงมนิลาชั้นเดียว โครงหลังคาเหล็ก มุงกระเบื้องลอนคู่ สร้าง พ.ศ.๒๕๒๘
๕. โรงเรียนพระปริยัติธรรม ขนาดความกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ลักษณะทรงปั้นหยา มีมุขซ้ายขวา 2 ชั้น ข้างบนมีประตูหน้าต่างฝาไม้เนื้อแข็ง ด้านล่างก่ออิฐถือปูน ต่อมาได้บูรณะซ่อมแซมยกพื้นให้สูงต่อเติมให้เป็นโครงสร้างคอนกรีตก่ออิฐถือปูน มุงหลังคากระเบื้องซีแพ็ค ต่อกันสาดด้านล่าง มีประตูด้านหน้าเข้า – ออก
๖. ศาลาอเนกประสงค์ ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ทรงมะนิลาชั้นเดียว โครงหลังคาเหล็กมุงสังกะสี ใช้เป็นสถานที่เก็บเรือยาวประเพณี ตกแต่งซ่อมแซมเรือยาว
๗. ศาลาอเนกประสงค์หลังที่ ๒ ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ปัจจุบันเป็นห้องพักครูและห้องคอมพิวเตอร์
๘.ศาลาอเนกประสงค์หลังที่ ๓ ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุงสังกะสีสันไท สร้าง พ.ศ.๒๕๕๓
๙. เมรุเผาศพ ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐถือปูนลักษณะทรงไทย มีหลังคา ๒ ชั้นและมณฑป
๑๐.ศาลาคู่เมรุหลังที่ ๒ ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ทรงมะลิดา มุงหลังคาสังกะสีสันไท สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๖
๑๑.หอระฆัง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร โครงสร้างไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง มุงหลังคากระเบื้อง ต่อมาได้บูรณะมุงกระเบื้องลอนคู่ และปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้บูรณะซ่อมแซมใหม่อีกโดยมุงสังกะสีสันไท บูรณะส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม ยกพื้นให้สูงขึ้นอีก ปรับปรุงให้สวยงาม
๑๒.กุฎิเจ้าอาวาส ขาดความกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ลักษณะทรงไทยโครงสร้างคอนกรีตเสริมปูนก่ออิฐถือปูน ติดประตูหน้าต่าง สร้าง พ.ศ.๒๕๒๖
๑๓.กุฎิอดีตเจ้าอาวาส ขนาดความกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ลักษณะทรงไทยครึ่งไม้ครึ่งปูน มุงหลังคาสังกะสีสันไท
๑๔.กุฏิสงฆ์อีก ๔ หลัง สำหรับพระสงฆ์อยู่จำพรรษา
๑๕.ศาลาท่าน้ำ สำหรับใช้เป็นสถานที่พิธีเปิด – ปิด ประเพณีแข่งเรือยาว จุดตัดสินการแข่งขันเรือยาวประจำปีอีก ๒ หลัง
๑๖. มีห้องน้ำห้องส้วมจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน
พระประธานภายในอุโบสถ
วัดโพธิ์ตาก


พระประธานภายในศาลาการเปรียญ
วัดโพธิ์ตาก


ปูชนียวัตถุภายในวัด
วัดโพธิ์ตาก



อุโบสถ
วัดโพธิ์ตาก


ประวัติวัด
ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้เขียนได้มีโอกาสสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่อายุมากที่สุดในหมู่บ้านโพธิ์ตากคือพ่อใหญ่บัวสี พรรณนาภพ แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า พ่อใหญ่สีกร เพราะภรรยาของท่านชื่อ “กร” จึงเรียกรวมกันว่า “สีกร” ตอนนั้นอายุของท่านได้ ๑๐๔ ปี ท่านคงเกิดในปี พ.ศ.๒๔๒๐ ตอนนั้นท่านยังมีสติสัมปชัญญะดี ท่านเล่าให้ฟังว่าตระกูลพ่อแม่พี่น้องของท่าน ได้อพยพมาจากบ้านขี้เหล็กหัวเรือ ที่ตั้งอยู่ทิศเหนือของเมืองอุบลในปัจจุบัน บรรพบุรุษของท่านคือนายสิง (ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล) หรือคุณพ่อหลาบคำ พรรณนาภพ ในเวลาต่อมาเป็นหัวหน้า ได้พาญาติพี่น้องอพยพมาจากภูมิลำเนาดังกล่าว มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำมาหากินอยู่บริเวณโนนโพ ซึ่งห่างจากแม่น้ำมูลประมาณ ๕๐๐ เมตร ไปมาหาสู่แม่น้ำสะดวก และต่อมาได้ตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อว่า “บ้านโพธิ์ตาก” ถือเอานิมิตที่มีต้นโพในบริเวณตั้งหมู่บ้าน ต่อมาได้
พร้อมกันจับจองที่ดินบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านติดกับแม่น้ำมูลและลำห้วยพอก ตั้ง เป็น วัด ชื่อ ว่า ” วัด โพธิ์ ตาก ” เพราะ บริเวณ ตั้ง วัด ก็ มี ต้น โพธิ์ เช่น เดียวข้าพเจ้าฟังเช่นนั้น จึงเรียก บ้านโพธิ์ตากและวัดโพธิ์ตาก ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันวัดโพธิ์ตากจะตั้งขึ้นใน พ.ศ.เท่าไร ผู้เขียนไม่ขอยืนยัน แต่ดูจากหนังสือพิบูลมังสาหาร
๑๓๙ ปี เนื่องในงานฉลองอนุสาวรีย์พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) ว่าวัดโพธิ์ตาก สร้างในปี พ.ศ.๒๔๑๐ สอดคล้องกับประวัติที่เล่ามาทุกประการ แต่ประวัติวัดโพธิ์ตาก มีเอกสารหลักฐานที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือกรมการศาสนาเดิม ได้สำรวจหลักฐานของวัดต่างๆให้แน่นอนว่าตั้งขึ้นใน พ.ศ.ใด ได้รับวิสุงคามสีมาปีใด เป็นพัทธสีมาปีใด โดยให้เจ้าอาวาส – เจ้าคณะผู้ปกครองยืนยันประวัติวัดไปยังกรมการศาสนาเพื่อพิมพ์เป็นประวัติทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง เป็น
เหตุให้เจ้าอาวาสในสมัยนั้นไม่สอบถามความเป็นจริงประวัติวัดของตนที่ตนเป็นเจ้าอาวาสอยู่จึงเขียนประวัติวัดโดยคำนวณเอาส่งไปยังกรมการศาสนา กรมการศาสนาได้ลงทะเบียนบัญชีเอาไว้ตามนั้น จึงเป็นเหตุให้วัดมีประวัติไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่นวัดโพธิ์ตาก เป็นต้น มีการลงทะเบียนตั้งวัดในกรมการศาสนาในสมัยนั้นใช้จนถึงปัจจุบัน คือตั้งวัดในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๘๐ เมตร ยาว ๑๒๐ เมตร และได้ผูกเป็นพัทธสีมาใน พ.ศ.๒๔๗๕ (เอกสารพระราชทานวิสุงคามสีมาดังกล่าวได้ใช้ประกอบในการผูกพัทธสีมา ปีพ.ศ.๒๕๒๔(อุโบสถหลังใหม่) แต่ปัจจุบันชำรุดเสียหายไปแล้ว
ศาลาการเปรียญ
วัดโพธิ์ตาก



หอระฆัง หอกลอง
วัดโพธิ์ตาก


***
เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตาก

การปกครอง
โดยมีเจ้าอาวาสผู้ดูแลวัดดังนี้
รูปที่ ๑ พระอินทร์ อินทสาโร ได้ติดตามญาติโยมจากบ้านขี้เหล็กหัวเรือมาตั้งวัดโพธิ์ตาก ตามประวัติที่ได้กล่าวมาแล้ว
รูปที่ ๒ พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง อุตฺตโม) ชาติภูมิเกิดที่บ้านสว่าง ตำบลสำโรง ในสมัยนั้น อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ๒๔๐ และเป็นเจ้าคณะแขวงพิบูลมังสาหาร ปัจจุบันเทียบเท่าเจ้าคณะอำเภอ
รูปที่ ๓ พระครูพิศาลโพธิวัฒน์ (คำ สุวโจ) ชาติภูมิเกิดที่บ้านหนองเป็ด ตำบลจิกเทิง อำเภอพิบูลมังสาหาร (ในสมัยนั้น) ปัจจุบัน อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเจ้าอาวาส ในปีพ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๕๑๓ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลโพธิ์ศรีในปี พ.ศ.๒๔๙๗-๒๕๑๓
รูปที่ ๔ พระครูญาณวิสุทธิคุณ (ทอง กิตฺติวณฺโณ) ชาติภูมิเกิดที่บ้านนาคาย ตำบลจิกเทิง อำเภอพิบูลมังสาหาร (ในสมัยนั้น) ปัจจุบัน อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๑๔ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร จนมรณภาพ
รูปที่ ๕ พระมหาถวิล สุทฺธิโก ปธ.๕,นธ.เอก ชาติภูมิเกิดที่บ้านม่วงแมด อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นเจ้าอาวาส ๙ ปี และรองเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร ลาสิกขาปี ๒๕๒๔
รูปที่ ๖ พระครูพิศาลโพธานุวัตร (ทัน ปคุโณ) ชาติภูมิเกิดที่บ้านขามป้อม ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.๒๕๒๕-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร ปี ๒๕๔๒ – ปัจจุบัน
รูปที่ ๗ พระครูพิบูล โพธิกิจ (หลวงพ่อทวี โกวิโก) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๖๗ – ปัจจุบัน
ปี ๒๕๕๖ มีพระภิกษุจำพรรษาทั้งหมด ๑๒ รูป สามเณร ๑๕ รูป
ปี พ.ศ.2557 มีพระภิกษุจำพรรษาทั้งหมด ๑๓ รูป สามเณร ๒๑ รูป
โรงเรียนพระปริยัตธรรม
วัดโพธิ์ตาก

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร
วัดโพธิ์ตาก

อาคารเสนาสนะ
วัดโพธิ์ตาก






กุฏิสงฆ์
วัดโพธิ์ตาก


พระประธานภายในอุโบสถ
วัดโพธิ์ตาก
