ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ

1.วิสัยทัศน์ (Vsion)

ห้วยข้าวก่ำเมืองแห่งความน่าอยู่  บนวิถีความพอเพียง

2.จุดเด่น

ที่ตั้งของเทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ  เป็นศูนย์กลางเชื่อมไปไปยังอำเภอ  จังหวัดข้างเคียง อาทิจังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่   เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวดำ (ข้าวก่ำ/ข้าวเหนียวลืมผัว)  มากที่สุด 
เป็นบริเวณทุ่งลอซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวมีคุณภาพดี  มีพระธาตุ 3 องค์ ได้แก่ พระธาตุกู่ผางลาง  พระธาตุกู่ผาแดง  และพระธาตุกู่ไก่แก้ว  ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพี่น้องประชาชนในพื้นที่  เป็นพื้นที่อาศัยของ “นกยูงไทย”หรือนกยูงเขียว (green peafowl) ซึ่งพื้นที่ผืนป่าเหล่านี้ถือเป็น The Last Stronghold of Green Peafowl in The World หรือ ฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงสีเขียวในโลกที่มีอาณาเขตติดต่อกันเป็นดินแดนกว้างใหญ่  ดังคำขวัญตำบลห้วยข้าวก่ำที่ว่า “ดินแดนข้าวก่ำงาม  ลือนามพระธาตุสามกู่  ไหว้สาเจ้าปู่ฮักคำเขียว ยึดเหนี่ยวเศรษฐกิจพอเพียง  งานลือเลื่องนกยูงไทย”

3.อัตลักษณ์ของตำบลห้วยข้าวก่ำ

เทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ เป็นเทศบาลที่ตั้งอยู่ในอำเภอจุน  จังหวัดพะเยา เป็นเขตเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดของอำเภอจุน เป็นศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ และการบริหารงานราชการภายในอำเภอ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอจุน  เป็นที่ตั้งของวัดห้วยข้าวก่ำ   และโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่  คือวัดและโรงเรียนจุนวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอำเภอ  และเป็นตำบลที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  มีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน  จัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น  ให้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน มีความสะดวกในการสัญจร  รวมถึงประชาชนมีน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ  รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและยั่งยืน

ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ   มีการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ของเทศบาลห้วยข้าวก่ำ  ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดพะเยา ในด้านสร้างคุณค่า  พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  การพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศ ที่ถูกทําลาย ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และปลูกจิตสานึกให้ประชาชนรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้  และหนึ่งในทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพนั้นคือ “นกยูงไทย”หรือนกยูงเขียว (green peafowl) ซึ่งพื้นที่ผืนป่าเหล่านี้ถือเป็น The Last Stronghold of Green Peafowl in The World หรือ ฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงสีเขียวในโลกที่มีอาณาเขตติดต่อกันเป็นดินแดนกว้างใหญ่  อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับชุมชนทั้งด้านบวกและลบ ด้านบวกเกิดความอุดมสมบูรณ์ของป่าและแหล่งน้ำ   เกิดแหล่งท่องเที่ยว  เกิดการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่    ด้านลบก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า  ดังนั้นเทศบาลในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนจึงได้สร้างเครือข่ายในการร่วมแก้ไขปัญหา”  โดย “เปลี่ยนผู้ทำลายผลผลิต…   ให้เป็นผู้สร้างรายได้ให้กับชุมชน…” 

4.นโยบายของตำบลห้วยข้าวก่ำ

4.1 ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

4.2 มีโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน มีความสะดวกในการสัญจร

4.3 ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภคอย่างพอเพียง

4.4 ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

4.5 การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง

5. กิจกรรมการขับเคลื่อนตำบล

สภาพปัญหา

การขยายพื้นที่ทำกินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น  เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลายเป็นเหตุให้แหล่งน้ำแห้งขอด  แห่งอาหาร  แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูทำลายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง“นกยูงไทย”หรือนกยูงเขียว (green peafowl)  การเผาป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร  ทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ขาดรายได้

5.1 การแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ

การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

– การสร้างเครือข่ายชุมชนรักษ์นกยูงไทยตำบลห้วยข้าวก่ำ 

– การน้อมนำหลักของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ คือการปลูกป่า 3 อย่าง
ให้ประโยชน์ 4 อย่าง 

– การสร้างฝายชะลอน้ำ

5.2 การแก้ปัญหาที่กลางน้ำ

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและนกยูง

– การสร้างกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน

– การจัดตั้งธนาคารอาหารนกยูง

– น้อมนำหลักของรัชกาลที่ 5 คือ “การยอมเสียพื้นที่ส่วนน้อยเพื่อรักษา พื้นที่ส่วนใหญ่เอาไว้”  เป็นการสร้างพื้นที่กันชน  ทำแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้ สมบูรณ์จะทำให้นกยูงไม่ลงไปกัดกินพืชผลทางการเกษตรอื่นเป็นบริเวณกว้าง 
และมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติสำหรับผู้ที่เสียสละพื้นที่ทำกินเพื่อสร้างเป็น
แนวกันชน

-อบรมพัฒนาอาชีพให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนกยูง (เปลี่ยนจากผู้ทำลายผลผลิต…เป็นผู้สร้างรายได้ให้กับชุมชน)

– การจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกเรื่องการอนุรักษ์นกยูงไทยให้กับ โรงเรียนในพื้นที่เทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ

– การถ่ายทอดตำนานความเชื่อนกยูงทองกับพระพุทธศาสนา

5.3  การแก้ไขปัญหาปลายน้ำ

การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ

– การอบรมสร้างอาชีพสร้างแบรนด์/ผลิตภัณฑ์

– การทำจุด Check-in /Landmanrk

– การฝึกอบรมมัคคุเทศก์จิตอาสา (มัคคุเทศก์น้อย/มัคคุเทศก์เหลือน้อย)

– จัดตั้งตลาด (กาดก้อมกองเตียว) เพื่อเป็นการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์

– จัดเทศกาลนับนกยูงไทยแห่งป่าเวียงลอ ให้เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง  เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว

– รวมกลุ่มทำโฮมสเตย์ในพื้นที่