เรื่องราวสำคัญและการท่องเที่ยวสำคัญ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ประวัติอำเภอเวียงสา
ตำนานเวียงป้อ : ตำนานอำเภอเวียงสา ประตูหน้าด่านของจังหวัดน่าน
เวียงป้อ (อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน) ตามตำนานที่ไม่มีประวัติที่ทางราชการจัดทำขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีคนรุ่นเก่าและอดีตข้าราชการรุ่นเก่าๆ เ่ล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานสำคัญทางโบราณวัตถุและปูชนียวัตถุ ซึ่งพอจะเป็นที่ยืนยันและเชื่อถือได้ กล่าวว่า อำเภอเวียงสา เดิมชื่อ “เวียงป้อ-เวียงพ้อ” คำว่า เวียงพ้อ หรือ “เวียงป้อ” นั้น คำว่า “เวียง” หมายถึง เมือง ส่วนคำว่า พ้อ หรือ “ป้อ” นั้น ความหมายทางภาษาเหนือ หมายถึง การรวมกันเข้าเป็นกลุ่มเพื่อเตรียมการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(การออกเสียงตัว พ ของทางภาคเหนือมักจะออกเสียงเป็นตัว ป)
วัดบุญยืน(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม)
เป็นวัดเก่าแก่ประจำอำเภอเวียงสาจังหวัดน่าน มีความเป็นมายาวนานที่ชาวเวียงสาศรัทธานับถือมาก ในวัดมีโบสถ์หลังใหญ่ข้างในมีพระประธานที่ไม่เหมือนที่อื่น คือเป็นพระยืนปางเปิดโลก แทนที่จะเป็นพระนั่งเหมือนที่วัดทั่วไปที่เราเคยเห็น
พระธาตุเขาน้อย(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม)
องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ 2ร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง
ลองขึ้นมาชมวิวเมืองน่านสักครั้งจากยอดดอยเขาน้อยในวันที่สายหมอกขาวลอยอ้อยอิ่งเหนือเมือง คุณจะพบกับความงามของดินแดนที่สวยราวภาพวาดจนยากจะถอนสายตาจากนั้นเดินไปสักการะ “พระพุทธรูปมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน” พระพุทธรูปปางประทานพรบนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร ที่ยืนอย่างสง่างาม โดยบนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 สำหรับตัวพระธาตุนั้นมีความเก่าแก่ยิ่งนักซึ่งสร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 2030 โดยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่าพร้อมกับบูรณะวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันด้วย
พระธาตุแดนทอง
พระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม)
(คำเมือง: ) วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต
ศาลเจ้าพ่อช้างงาแดง (คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม)
ศาลเจ้าพ่อช้างงาแดง บ้านน้ำมวบ หมู่ 1 ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประวัติความเป็นมา เจ้าพ่อช้างงาแดง เป็นบุตรของเจ้าพญาขอมหลวง ปกครองอยู่ที่ดอยปูล้น (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน) พอเติบโตขึ้นมา เจ้าพ่อช้างงาแดงได้แต่งงานกับนางขัวเขียว (อยู่ขุนน้ำมวบ) บ้านน้ำมวบเหนือ มีบุตร ๑คน ชื่อเจ้าคำแดง เจ้าพญาขอมหลวง เห็นว่าเจ้าพ่อช้างงาแดงสามารถปกครองลูกค้าและบริวารได้เป็นอย่างดี จึงได้ยกทรัพย์สมบัติพร้อมเขตปกครองและบริวารทั้งหมดให้เจ้าพ่อช้างงาแดงปกครองต่อไป
พระธาตุแดนทอง (คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม)
พระธาตุแดนทอง ตำบลน้ำมวบ จากน่าน-เวียงสา 25 กม.ใช้เส้นทางเวียงสา-นาน้อย 1026 ประมาณ 2 กม.เลี้ยวซ้ายมือไปตำบลขึ่ง เส้นทาง 1162 ไปน้ำมวบ 27 กม. ก่อนถึงตำบลน้ำมวบ เลี้ยวซ้ายมือใช้ทางหลวงชนบท 1243 ไป 100 เมตร ทางขึ้นพระธาตุอยู่ซ้ายมือ ผ่าน กศน. และ รพ.สต.น้ำมวบ